โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า
[embed-health-tool-heart-rate]
คำจำกัดความ
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) คืออะไร
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า
- หากได้รับการวินิฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันปัญหาการมองเห็นของเด็กได้ในระยะยาว สายตาขี้เกียจนั้นไม่ใช่อาการรุนแรงและสามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ หรือผ้าปิดตา แต่ในบางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัด
- หากไม่ได้รับการรักษาอาการที่เหมาะสมทันท่วงที สมองของเด็กอาจจะไม่ยอมรับรู้ภาพเห็นจากดวงตาข้างที่มีปัญหา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการมองเห็นของดวงตาข้างนั้นได้อย่างถาวร
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) พบได้บ่อยเพียงใด
โรคตาขี้เกียจ พบได้บ่อยมาก ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งราวอายุ 8 ขวบ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลในการรักษาเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia)
โดยทั่วอาการของ โรคตาขี้เกียจ ได้แก่
- ตาข้างหนึ่งมักหลบใน หรือเหล่ออกด้านนอก
- ดวงตาทั้งสองข้างทำงานไม่สอดประสานกัน
- การรับรู้ความลึกแย่หรือบกพร่อง
- ตาเหล่ หรือตาปิดไปข้างหนึ่ง
- คอเอียงด้านใดด้านหนึ่ง
- ผลการตรวจตาผิดปกติ
- ซุ่มซ่ามเดินชนสิ่งของ
- มองเห็นภาพซ้อน
นอกจากนี้ หากมีอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป
เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ
- ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าบุตรหลานมีอาการตาเหล่ทันทีหลังจากที่พบเห็นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
- ควรรีบพาไปตรวจสายตาทันทีในกรณีที่ครอบครัวมีประวัติปัญหาด้านสายตา ตาเหล่ อาการต้อกระจกในเด็ก หรือมีปัญหาอื่นๆ ด้านสายตา สำหรับเด็ก ควรรีบตรวจรักษาตั้งแต่ในช่วงอายุ 3-5 ปี
สาเหตุ
สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ
อะไรก็ตามที่ทำให้เด็กมองเห็นไม่ชัดหรือเป็นสาเหตุให้เด็กต้องหรี่ตาหรือปิดตา อาจส่งผลให้เกิด โรคตาขี้เกียจ ได้
โดยสาเหตุทั่วไปของโรคตาขี้เกียจ ได้แก่
- กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่สมดุล (strabismus) โดยส่วนใหญ่สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตาขี้เกียจนั้นมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อตานั้นทำงานไม่สมดุลกัน
- ดวงตาทั้งสองข้างมองเห็นภาพคมชัดไม่เท่ากัน (refractive anisometropia) ความแตกต่างระหว่างการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้างนั้นบ่อยครั้งเกิดจากอาการสายตายาว หรือ สายตาสั้น หรือ พื้นผิวของดวงตาไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า สายตาเอียง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการตาขี้เกียจได้
- ดวงตาสูญเสียการมองเห็น คืออีกหนึ่งของปัญหาดวงตาข้างหนึ่งทำงานไม่สมดุล ซึ่งเพราะอาจเกิดฝ้าขุ่นขาวในเลนส์ตาหรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ต้อกระจก นั่นเอง ทำให้สูญเสียการมองเห็นของตาข้างนั้นไป
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดตาขี้เกียจ
มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคตาขี้เกียจ ได้แก่
- ตาเข
- กรรมพันธุ์ สมาชิกในครอบครัวมีอาการของ โรคตาขี้เกียจ
- ความแตกต่างของระดับการมองเห็นของดวงตาแต่ละข้าง
- ดวงตาข้างหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
- เปลือกตาข้างหนึ่งบวม
- ได้รับวิตามิน A ไม่เพียงพอ
- เป็นแผลที่กระจกตา
- การผ่าตัดตา
- มีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง
- ต้อหิน มีแรงดันในลูกตาสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาและอาการตาบอดตามมา
- ความบกพร่องทางสมอง
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคสายตาขี้เกียจ
วิธีที่ใช้ในการทดสอบสายตาขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็กและขั้นตอนของพัฒนาการ
- เด็กวัยก่อนพูด อุปกรณ์แว่นขยายแสง (lighted magnifying device) สามารถใช้เพื่อตรวจอาการต้อกระจกในเด็กได้ นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการทดสอบอื่นๆ ในเด็กแบเบาะหรือวัยเตาะแตะเพื่อดูความสามารถในการมองเห็นของเด็กและการมองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหว
- เด็กตั้งแต่วัย 3 ขวบหรือมากกว่า สามารถทำการทดสอบได้ด้วยภาพหรือตัวอักษรเพื่อตรวจประเมินการมองเห็นของเด็ก ด้วยการปิดตาทีละข้างและทำการทดสอบ
การรักษาโรคตาขี้เกียจ
มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเริ่มทำการรักษาเด็กที่มีอาการตาขี้เกียจอย่างเร่งด่วนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก ควรเริ่มทำการรักษาตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ขวบ จะได้ผลดีที่สุด และกว่าครึ่งของเด็กที่อายุระหว่าง 7 ขวบ ถึง 17 ปี นั้นก็ตอบสนองการรักษาด้วยเช่นกัน
การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการของ โรคตาขี้เกียจ และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของเด็ก
- ใช้แว่นตาที่เหมาะสม
- ปิดตา เพื่อกระตุ้นการมองเห็นในดวงตาที่มีปัญหา เด็กอาจสวมใส่ผ้าปิดตาด้านที่มองเห็นได้ดี
- ติดแผ่นกรองแสง (Bangerter filter) ในขั้นตอนนี้ จะใช้แผ่นกรองแสงชนิดพิเศษวางลงบนเลนส์แว่นตาข้างที่มองเห็นได้ดี แผ่นกรองแสงจะทำหน้าที่บดบังสายตาด้านที่แข็งแรง ทำงานคล้ายกับ ที่ปิดตา เพื่อกระตุ้นดวงตาด้านที่มีปัญหา
- ยาหยอดตา เด็กอาจได้รับยาหยอดตาที่เรียกว่า อะโทรพีน (Isopto Atropine) หยอดในดวงตาด้านที่แข็งแรงกว่าเพื่อทำให้ดวงตาด้านที่แข็งแรงพร่ามัว เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้สายตาด้านที่อ่อนแอกว่า และเสนอทางเลือกอื่นเช่นการสวมที่ปิดตา
- หากมีอาการตาเข ตาเหล่ อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดกล้ามเนื้อดวงตา
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาเตัวเองเพื่อรับมือกับโรคตาขี้เกียจ
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเองเบื้องต้นอาจช่วยคุณรับมือกับ โรคตาขี้เกียจ ได้แก่
- อาการตาขี้เกียจสามารถป้องกันได้หากพบเห็นตั้งแต่ระยะแรกและทำการรักษาอาการตาเหล่ สายตาเอียง ต้อกระจก และปัญหาทางการมองเห็นอื่นๆ
- มีวิธีการมากมายที่ใช้ตรวจอาการตาขี้เกียจ ด้วยเทคนิคเฉพาะทางที่มีความละเอียด ซับซ้อนและมีราคาที่แตกต่างกันไป รวมถึงการตรวจสุขภาพดวงตาโดยจักษุแพทย์ ตรวจด้วยแสง ตรวจคลื่นไฟฟ้าเส้นประสาทตา การวัดระดับการมองเห็น ตรวจการมองเห็นสามมิติ
- เด็กที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการตาขี้เกียจควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อพบเห็นสัญญาณเตือนของอาการ
- โดยทั่วไป ยิ่งได้รับการตรวจพบอาการตาขี้เกียจและได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ ย่อมจะส่งผลเสียน้อยต่อระบบการมองเห็น
- การตรวจการมองเห็นนั้นมักได้รับการสนับสนุนในระดับจังหวัด เพื่อทำการตรวจคัดกรองเด็กที่อาจมีอาการตาขี้เกียจในวัยอนุบาล ซึ่งได้การตรวจคัดกรองนี้ส่งผลดีต่อการมองเห็นของเด็กในระยะยาว
หากมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ