การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยต้อเนื้อ
การวินิจฉัยต้อเนื้อ อาจทำได้ดังนี้
- สอบถามประวัติสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นต้อเนื้อ
- ทดสอบการมองเห็นด้วยการอ่านตัวอักษร
- วัดความโค้งของกระจกตาว่ามีความเสี่ยงเป็นสายตาเอียงร่วมด้วยหรือไม่
- ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่า Slit Lamp ซึ่งมีแสงไฟที่ส่องเข้าไปในดวงตาเพื่อช่วยตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา
- การถ่ายภาพในดวงตา เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของต้อเนื้อ
การรักษาต้อเนื้อ
การรักษาต้อเนื้อ อาจทำได้ดังนี้
- น้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดการระคายเคืองดวงตาในผู้ที่เป็นต้อเนื้อและมีอาการตาแห้ง คันตา และแสบตา
- ยาหยอดตาสเตียรอยด์ ที่ควรได้รับตามใบสั่งแพทย์ ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการแดง อาการคัน ตาบวม ตาอักเสบที่อาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุตา และอาจนำไปสู่การเกิดต้อเนื้อได้
- การผ่าตัด อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงร่วมด้วย หรือขนาดเยื่อบุตาขยายใหญ่จนลุกลามเข้าสู่ตาดำ โดยคุณหมอจะทำการหยอดยาชาก่อนการผ่าตัด และผ่าตัดนำต้อเนื้อออก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น โดยอาจใช้ระยะเวลา 30-45 นาที
- การปลูกถ่ายเยื่อบุน้ำคร่ำ ซึ่งได้รับมาจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เต็มใจบริจาค มีลักษณะบางใสที่คอยช่วยห่อหุ้มทารกและมักติดออกมาหลังจากคลอดทารก โดยคุณหมอจะทำการตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำเข้าสู่กระบวนการรักษาสภาพของเยื่อบุน้ำคร่ำ เพื่อใช้ในการปลูกถ่ายรักษาต้อเนื้อ โดยจะวางไว้เหนือลูกตาเพื่อช่วยป้องกันการกลับมาเป็นต้อเนื้อซ้ำ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดพังผืด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย