backup og meta

หนองในผู้หญิง สาเหตุ อาการ การรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร · สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/09/2023

    หนองในผู้หญิง สาเหตุ อาการ การรักษา

    หนองในผู้หญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณทวารหนัก อวัยวะเพศ ปากมดลูก และท่อปัสสาวะ ที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น มีหนองไหลจากบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ ปวดท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน ควรรับการตรวจคัดกรองโรคและทำการรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

    หนองในผู้หญิง คืออะไร

    หนองในผู้หญิง คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ แบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) ที่ทำให้เกิดโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) และแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) ที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม (Chlamydia)

    โรคหนองในผู้หญิงพบได้มากในช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 15-24 ปี มักส่งผลกระทบต่อลำคอ อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ปากมดลูก และอาจแพร่กระจายไปยังทารกได้ระหว่างคลอดบุตร ทารกที่ติดเชื้อหนองในอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น มีแผลบนหนังศีรษะ ตาบอด

    ปัจจัยเสี่ยงของหนองในผู้หญิง

    ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดหนองในผู้หญิง มีดังนี้

    อาการหนองในผู้หญิง

    อาการหนองในผู้หญิง อาจสังเกตได้ดังนี้

    • มีหนองไหลออกจากอวัยวะเพศหรือทวารหนัก
    • ตกขาวผิดปกติและมีปริมาณมาก
    • เจ็บปวดหรือแสบอวัยวะเพศเมื่อปัสสาวะ
    • เลือดออกทางช่องคลอด
    • อาการคันบริเวณทวารหนักหรืออวัยวะเพศ
    • ปวดท้องหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน

    บางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ปวดตา ตาไวต่อแสง เจ็บคอ ปวดข้อต่อ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากสังเกตว่ามีอาการเจ็บแสบช่องคลอด ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น มีเมือกไหลออกทางช่องคลอดหรือทวารหนัก ควรเข้าพบคุณหมอทันที

    ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นหนองในผู้หญิง

    หนองในอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

    • การติดเชื้อเอชไอวี โรคหนองในอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ที่นำไปสู่โรคเอดส์ได้ หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย
    • ไขข้ออักเสบ แบคทีเรียอาจแพร่กระจายทางกระแสเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อต่อเกิดการติดเชื้อ และนำไปสู่ภาวะข้ออักเสบ ข้อบวม ปวดข้อ
    • ปัญหาการตั้งครรภ์ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในอาจแพร่กระจายเข้าสู่มดลูกและท่อนำไข่ ทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ  และอาจส่งผลให้เกิดแผลที่ท่อนำไข่ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ เชื้อหนองในยังอาจแพร่กระจายไปสู่ทารกขณะคลอดได้อีกด้วย

    วิธีรักษาหนองในผู้หญิง

    วิธีรักษาหนองในผู้หญิง มีดังต่อไปนี้

    • ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin)เป็นยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทาน ใช้เพื่อช่วยหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหนองในแท้และหนองในเทียม โดยคุณหมออาจให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร วันละ 1 ครั้ง ยาอะซิโธรมัยซินอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง แต่หากสังเกตว่ามีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ตาพร่ามัว มีปัญหาการได้ยิน ปัสสาวะสีเข้ม ปวดท้องอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ เป็นลม เลือดไหลออกทางช่องคลอด อุจจาระเป็นเลือด ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที
    • เซฟิซีม (Cefixime) เป็นยากลุ่มเซฟาโลสปอริน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทานใช้เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคหนองในแท้ โดยปริมาณการรับประทานอาจเป็นไปตามดุลพินิจของคุณหมอ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) อาจมีอาการแพ้ยาชนิดนี้ร่วมด้วยเช่นกัน
    • เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) คือยาปฏิชีวนะในรูปแบบฉีด ใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคหนองในแท้ แนะนำให้ใช้ยาเซฟไตรอะโซน 500 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อคร้ังเดียว ร่วมกับให้การรักษาโรคหนองในเทียมร่วมด้วย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวบวมแดงในบริเวณที่ฉีดยา หายใจลำบาก ใบหน้าบวม ลิ้นบวม นอกจากนี้ ยานี้ยังไม่เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia) และทารกที่คลอดก่อนกำหนด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง
    • เจนต้าไมซิน (Gentamicin) ขนาด 160 – 240 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำครั้งเดียว ร่วมกับให้การรักษาหนองในเทียมร่วมด้วย เป็นยาทางเลือกกรณีแพ้ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

    สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา