backup og meta

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต ควบคุมความต้องการทางเพศ ควบคุมการทำงานของรังไข่ หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ โดยฮอร์โมนส่วนใหญ่ที่พบได้มากคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosteron)

[embed-health-tool-bmr]

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร

ฮอร์โมนเพศชาย คือ ฮอร์โมนที่สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งผลิตขึ้นในอัณฑะของผู้ชาย รวมถึงรังไข่และต่อมหมวกไตของผู้หญิง มีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างขนทั่วทั้งร่างกาย กระตุ้นให้เกิดแรงขับทางเพศ ผลิตอสุจิ ควบคุมการทำงานของรังไข่ที่ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติ การตั้งครรภ์ โดยร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น

ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญอย่างไร

บทบาทสำคัญของฮอร์โมนเพศชายสำหรับผู้ชาย

  • ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง
  • ปรับโทนเสียง ที่อาจส่งผลให้มีเสียงทุ้มขึ้น
  • เสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง และเสริมสร้างพัฒนาการของอวัยวะเพศชายและอัณฑะ
  • กระตุ้นการสร้างขนทั่วทั้งร่างกาย เช่น ใบหน้า ขนอวัยวะเพศ รักแร้ หน้าอก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
  • เพิ่มความต้องการทางเพศ
  • กระตุ้นการผลิตอสุจิ

บทบาทสำคัญของฮอร์โมนเพศชายสำหรับผู้หญิง มีดังนี้

  • ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง
  • เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • กระตุ้นการสร้างขนบริเวณรักแร้และขนอวัยวะเพศ
  • กระตุ้นความต้องการทางเพศ

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

ปกติแล้วระดับฮอร์โมนเพศชายในผู้ชายตามเกณฑ์ควรอยู่ที่ประมาณ 200-800 นาโนกรัม/เดซิลิตร ส่วนฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 20-80 นาโนกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

ปัญหาที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลในผู้ชาย

  • ผมร่วง
  • อัณฑะ และอวัยวะเพศอ่อนแอ การผลิตอสุจิและอารมณ์ทางเพศลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและมีบุตรยาก
  • ความหนาแน่นของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อลดลง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า
  • ขาดสมาธิ มีปัญหาด้านการจดจ่อและการจดจำ

ปัญหาที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลในผู้หญิง

  • สิวขึ้น
  • ผมร่วง
  • ร่างกายมีขนเยอะผิดปกติ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ และประจำเดือนขาด
  • ขนาดเต้านมลดลง
  • เพิ่มความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome) และมีการเจริญพันธุ์ที่ผิดปกติ นำไปสู่ปัญหาการมีบุตรยาก

ฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลควรทำอย่างไร

วิธีการรักษาปัญหาฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล อาจทำได้ดังนี้

  • สำหรับผู้ที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง อาจทำการรักษาตามสาเหตุและอาการที่เป็น ซึ่งอาจมีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน และการใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen) เพื่อช่วยลดระดับของฮอร์โมนเพศชาย
  • สำหรับผู้ที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำ คุณหมออาจแนะนำให้บำบัดฮอร์โมนเพศชาย โดยอาจฉีดหรือฝังยาฮอร์โมนเพศชายใต้ผิวหนัง รวมถึงแปะแผ่นฮอร์โมนบริเวณกระพุ้งแก้มในข่องปาก และรับประทานยาในรูปแบบเม็ด เพื่อช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย

ข้อควรระวังในการให้ฮอร์โมนเพศชาย

  • การใช้ฮอร์โมนเพศชายในเพศชาย สามารถทำให้อัณฑะหยุดการผลิตอสุจิ ซึ่งทำให้เกิดปัญหามีบุตรยากได้
  • การใช้ฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิง ทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง รวมถึงมะเร็งบางชนิดได้ 

ฉะนั้นการตัดสินใจให้ฮอร์โมนเพศชาย จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Testosterone — What It Does And Doesn’t Do. https://www.health.harvard.edu/medications/testosterone–what-it-does-and-doesnt-do. Accessed May 05, 2022

Understanding How Testosterone Affects Men. https://www.nih.gov/news-events/nih-research-matters/understanding-how-testosterone-affects-men. Accessed May 05, 2022

Testosterone therapy: Potential benefits and risks as you age. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/sexual-health/in-depth/testosterone-therapy/art-20045728. Accessed May 05, 2022

Total Testosterone. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=167&contentid=testosterone_total. Accessed May 05, 2022

What is Low Testosterone?. https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/l/low-testosterone. Accessed May 05, 2022

ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน. https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter4/androgen.htm. Accessed May 05, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าบนเตียง ท่าไหนดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ท่า missionary (มิชชันนารี) คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

สุขภาพทางเพศ · Dionysus Fertility Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 13/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา