backup og meta

เซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียด เป็นไปได้จริงหรือ ป้องกันได้หรือไม่

เซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียด เป็นไปได้จริงหรือ ป้องกันได้หรือไม่

เซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียด หมายถึง อาการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ความต้องการทางเพศลดลง ไม่ถึงจุดสุดยอด ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นจากหน้าที่การงาน การเงิน สุขภาพ และทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว อาการเซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียดควรได้รับการแก้ไขเพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจนำไปสู่ปัญหาชีวิตคู่และทำให้ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต 

ช่วงอายุกับอาการเซ็กส์เสื่อม

ช่วงอายุกับพัฒนาการของสมรรถภาพทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ในช่วงที่อายุยังน้อยหรือช่วงวัยรุ่น ระดับสมรรถภาพทางเพศจะถือว่าเป็นช่วงที่มีความสมบูรณ์ แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ความพร้อมและความสมบูรณ์ดังกล่าวก็เริ่มเสื่อม ถดถอยและหย่อนยานลง และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ร่างกายอาจหมดสมรรถภาพทางเพศไปในที่สุด โดยมากแล้ว การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจะเริ่มเมื่อช่วงอายุที่มากกว่า 40 ปี ขึ้นไป ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจำนวนไม่น้อยก็ยังคงมีระดับความสามารถทางเพศอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองอยู่เสมอ เช่น การหมั่นออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจร่างกายเป็นประจำ รวมทั้งรู้จักที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดภาวะเซ็กส์เสื่อม

เซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียดจริงหรือ?

คนอายุต่ำกว่า 40 ปี อาจหมดอารมณ์และเสื่อมมสมรรถภาพทางเพศได้เช่นเดียวกัน อาจมาจากการหักโหมทำงานหนัก หรือปัญหาชีวิตที่รุมเร้า จนก่อให้เกิดความเครียด รู้สึกว่าไร้ทางออก เมื่อเป็นเช่นนั้น มักส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมถึงสุขภาพทางเพศอีกด้วย ทั้งนี้ ปัญหาทางจิตใจ มีส่วนสำคัญต่ออารมณ์และความรู้สึก ก่อให้เกิดความเครียด และภาวะซึมเศร้า รวมถึงมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศด้วย  

ความเครียดส่งผลต่อเซ็กส์อย่างไร

การมีเพศสัมพันธ์ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในวิธีบรรเทาความเครียด เพราะช่วยเพิ่มการหลั่งสารเอนโดรฟินหรือเอนดอร์ฟิน (Endorphine) และฮอร์โมนอื่น ๆ ที่ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และอารมณ์ดีขึ้น ทั้งยังช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย แต่เมื่อใดก็ตามที่ความเครียดเข้ามารุมเร้า ความรู้สึกมักห่อเหี่ยว หมดกำลังใจ ร่วมไปถึงหมดอารมณ์ที่จะมีเซ็กส์ด้วย ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขอาจทำให้ชีวิตรักล้มเหลวได้ 

วิธีจัดการความเครียดทำอย่างไรได้บ้าง

หากมีความเครียดสะสมจนไม่รู้จะหาทางออกให้กับชีวิตอย่างไรดี อาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ เพราะอาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้

  • คาดหวังกับเรื่องต่าง ๆ ให้น้อยลง เป็นความจริงที่ว่า ยิ่งคาดหวังมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเสียใจมากเท่านั้น ดังนั้น แทนการคาดหวัง หรือตั้งความหวังไว้สูง ๆ กับผู้อื่น หรือเรื่องต่าง ๆ อาจจะหันกลับมามองสิ่งที่ตัวเองควบคุมได้ ทำให้ดีที่สุด และยอมรับผลลัพธ์นั้น ๆ ไม่ว่าจะออกมาตามที่หวังหรือผิดหวังก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ถือว่าได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว 
  • ขอคำปรึกษา ทุกครั้งที่มีปัญหาและหาทางออกด้วยตนเองเพียงลำพังไม่ได้ การขอคำปรึกษาจากใครสักคนอาจช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ หรืออย่างน้อย การที่มีคนคอยให้กำลังใจ และพร้อมจะผ่านปัญหาไปด้วยกันก็อาจทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น
  • อยู่แก้ปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหา แม้ปัญหาจะรุมเร้าจนแทบไม่ไหว แต่ควรค่อย ๆ แก้ไปทีละเรื่อง ยังดีกว่าหนีปัญหาแล้วทิ้งให้เป็นเรื่องค้างคา เพราะในที่สุดก็จะหนีไม่พ้นปัญหาอยู่ดี หากยังแก้ไขไม่ได้ในทันที อาจค่อย ๆ หาวิธีรับมือ
  • เอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์แย่ ๆ หากอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้รู้สึกเครียด ควรหลีกเลี่ยง หรือพยายามให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นั้นหรือบุคคลนั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
  • รู้จักผ่อนคลาย หาเวลาไปพักผ่อนตามโอกาสที่จะไปได้ เลือกทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ อนุญาตให้ตัวเองได้ทำในสิ่งที่อยากทำหรือไปในที่ที่อยากไป 
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ทำร้ายตัวเอง ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด การหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้หัวใจสูบฉีด เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้ประเปร่า การที่เหงื่อออกจะทำให้ตัวเบาสบาย และนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย 

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากไม่แน่ใจว่าเซ็กส์เสื่อมเพราะความเครียดหรือไม่ อาจเริ่มต้นจากการไปพบจิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาสภาพจิตใจ เพื่อหาวิธีปรับเปลี่ยนให้มีสภาพร่างกายและสภาวะจิตใจที่ดีขึ้น หรือกลับเป็นปกติ หากหลังการรักษาหรือบำบัดแล้ว สมรรถภาพทางเพศยังไม่ดีขึ้น อาจต้องเข้ารับการตรวจร่างกายโดยคุณหมอเฉพาะทางเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Erectile Dysfunction and Stress Management.

https://www.webmd.com/erectile-dysfunction/guide/ed-stress-management#1. Accessed March 10, 2022.

The Relationship Between Anxiety Disorders and Sexual Dysfunction.

https://www.psychiatrictimes.com/anxiety/relationship-between-anxiety-disorders-and-sexual-dysfunction. Accessed March 10, 2022

Erectile Dysfunction: It’s More Common Than You’d Think. https://www.unitypoint.org/livewell/article.aspx?id=eee06586-c13f-467d-8b28-7caed9c130c4. Accessed March 10, 2022

Erectile dysfunction. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/diagnosis-treatment/drc-20355782. Accessed March 10, 2022

Does Stress Lower Your Sex Drive?. https://www.medicinenet.com/stress_lower_your_sex_drive/ask.htm. Accessed March 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/03/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดการความวิตกกังวล ก่อนจะกลายเป็นความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลอะไรบ้างต่อการมีเซ็กส์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 10/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา