การรักษาแผลริมอ่อนทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลริมอ่อน ช่วยให้แผลที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหายไวขึ้น และอาจช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยใช้ยาดังต่อไปนี้
- ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ขนาด 1 กรัม ควรรับประทาน 1 ครั้ง หรือตามดุลพินิจของคุณหมอ
- ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ขนาด 500 มิลลิกรัม ควรรับประทาน 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน ติดต่อกัน
- ยาซิโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ขนาด 500 มิลลิกรัม ควรรับประทาน 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 3 วัน และไม่แนะนำให้ใช้กับสตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงระหว่างให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์
- ยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ขนาด 250 มิลลิกรัม เป็นยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง
นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม คุณหมออาจเจาะหรือกรีดต่อมน้ำเหลือง เพื่อระบายของเหลวออก ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดบวมได้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการรักษาแผลริมอ่อน ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอภายใน 3-7 วัน หรือตามนัดหมาย เพื่อตรวจอาการและการตอบสนองของยาว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอที่ช่วยรักษาแผลริมอ่อนหรือไม่
วิธีป้องกัน Chancroid
การป้องกันแผลริมอ่อนอาจทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือมีคู่นอนหลายคน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดแผลริมอ่อนหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เซ็กส์ทอย ผ้าขนหนู ช้อนส้อม แก้วน้ำ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลเปิดบนผิวหนังและในช่องปาก
- งดการมีเพศสัมพันธ์หากมีแผลบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศ ควรรอจนกว่าแผลจะหายสนิท เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- สอบถามประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของคู่นอน
- สำหรับผู้ที่เป็นแผลริมอ่อน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด รับประทานยาให้ครบกำหนดจนกว่าจะหาย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และลดโอกาสการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น
- เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย