แผลเป็น และวิธีลดรอยแผลเป็น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    แผลเป็น และวิธีลดรอยแผลเป็น

    แผลเป็น คืออาการที่ร่างกายเยียวยาตัวเองหลังเกิดอาการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว แผลเป็นอาจจางลงได้ แต่มักไม่หายสนิท อย่างไรก็ตาม วิธีลดเลือนรอยแผลเป็นที่ถูกต้อง อาจช่วยให้รอยแผลเป็นดูจางลงได้แบบไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    แผลเป็น คืออะไร

    แผลเป็น (Scars) คือ รอยบนผิวหนังที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเยียวยาตัวเองของร่างกาย เวลาที่ผิวหนังบาดเจ็บ ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนออกมามากขึ้น เพื่อช่วยรักษาแผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อเยื่อที่มีการสมานตัวแล้วนี้จะไม่มีส่วนประกอบของผิวตามปกติทั้งหมด รอยแผลเป็นจึงมักดูต่างจากผิวส่วนที่เหลือ

    ลักษณะของแผลเป็นอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งรูปร่าง ขนาด และความลึกของแผล มักเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แผลเป็นมีลักษณะที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ ปริมาณของเลือดที่สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงในบริเวณนั้น สีผิว และความหนาของผิวก็ส่งผลต่อลักษณะของแผลได้เช่นกัน

    แผลเป็นที่พบบ่อย เช่น

    • แผลเป็นแบบปกติ (Normal fine-line scar) มักมีลักษณะบาง เล็ก และแบน ส่วนใหญ่เกิดจากการผ่าตัด บางครั้งอาจมีอาการคันด้วยประมาณ 2-3 เดือน แผลเป็นประเภทนี้อาจดูจางลงและเรียบเสมอผิวปกติได้ภายในเวลา 2 เดือน แต่รอยอาจไม่ได้หายสนิท
    • แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar) แผลเป็นนูนโต อาจมีสีแดง และมีอาการคันร่วมด้วย แต่รอยแผลจะไม่ขยายเกินขอบเขตรอยแผลเดิม แผลเป็นประเภทนี้อาจคงอยู่ประมาณ 6 เดือนก่อนจะค่อย ๆ นิ่มและจางลง
    • แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid scar) แผลเป็นนูนโต อาจมีสีชมพู แดง สีเดียวกับผิว หรือสีเข้มกว่าผิวบริเวณใกล้เคียง รอยแผลมักขยายตัวเกินขอบเขตรอยแผลเดิม และมีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย นอกจากนี้ อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นขยับได้ยากขึ้น แผลเป็นคีลอยด์มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม ฉะนั้น หากเป็นแผล และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลประเภทนี้ อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีรักษาแผลที่เหมาะสมที่สุด
    • แผลเป็นแบบหลุมหรือรอยบุ๋ม (Pitted or sunken scar) มักเกิดจากปัญหาผิว เช่น สิว อีสุกอีใส หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ทำให้สูญเสียชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ส่งผลให้เกิดแผลเป็นที่มีลักษณะเป็นคลื่น เป็นเหลี่ยม กลม หรือรี เป็นต้น

    วิธีลดรอยแผลเป็น

    วิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดรอยแผลเป็น หรือทำให้รอยดูจางลงได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา