backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

แผลเป็นคีลอยด์ที่หู สิ่งไม่ต้องการที่มาพร้อมกับการเจาะหู

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2020

แผลเป็นคีลอยด์ที่หู สิ่งไม่ต้องการที่มาพร้อมกับการเจาะหู

หลายๆ คนอาจจะรู้จักแผลเป็นคีลอยด์กันมาบ้างแล้ว ว่าคืออะไร แต่หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า แผลเป็นคีลอยด์ที่หู คืออะไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับแผลเป็นคีลอยด์ที่ปูดนูนออกมาจากหูเมื่อมีการเจาะหู ว่าเกิดจากอะไร ทำไมบางคนถึงมีแผลเป็นคีลอยด์นี้

แผลเป็นคีลอยด์คืออะไร

คีลอยด์ เป็นแผลเป็นที่นูนสูงขึ้นมา ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์นั้นจะโต และใหญ่ขึ้นมากกว่าบริเวณที่เกิดแผล แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแผลจะแผลเป็นคีลอยด์ บางครั้งแผลเป็นคีลอยด์อาจเกิดจากแผลที่เกิดจากการโดนบาด แผลไฟไหม้ หรือแม้กระทั่งเกิดจากรอยสิว

สำหรับบางคนคีลอยด์อาจเกิดขึ้นจากการไปเจาะหูหรือการสัก บางครั้งแผลเป็นจากการผ่าตัดก็ทำให้เกิดคีลอยด์ได้ แผลเป็นคีลอยด์เป็นแผลเป็นที่ต้องใช้เวลาในการเกิดขึ้น โดยใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ในการเกิด ซึ่งขนาดและรูปร่างของแผลเป็นคีลอยด์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย

แผลเป็นคีลอยด์ที่หู เกิดได้อย่างไร

แผลเป็นคีลอยด์นั้น อาจเกิดขึ้นได้จากการเจาะหู แผลเป็นคีลอยด์จะมีสีตั้งแต่น้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสีผิวหนังของแต่ละคน การเจาะหูนั้น โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บที่ร้ายแรงอะไร ในช่วงเวลาที่แผลจากการเจาะหูกำลังรักษานั้น ร่างกายอาจสร้างเนื้อเยื่อสำหรับการรักษาแผลมากเกินไปจนแผลเป็นนั้นนูนสูงขึ้น จนเกิดเป็นคีลอยด์ขึ้นมา ซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้จะแผลกระจายไปเกิดกว่าบริเวณที่เป็นแผล จนทำให้แผลเป็นคีลอยด์ ที่มีความใหญ่กว่าแผลเป็นปกติทั่วไป

ซึ่งการเจาะหูก็จะมีแผลแค่บริเวณรูที่เจาะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากเกิดเป็นคีลอยด์ขึ้นมาก็จะทำมีเนื้อนูนออกมาจากรูที่เจาะหู

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์นั้น เกิดได้จากการได้รับการบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น

  • แผลเป็นจากการผ่าตัด
  • สิว
  • แมลงกัด ต่อย
  • การสัก
  • โรคอีสุกอีใส

การป้องกันการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ที่หู

จริงๆ แล้วแผลเป็นคีลอยด์นั้นเป็นสิ่งที่รักษาได้ยาก แต่คุณสามารถป้องกันการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ขึ้นมาใหม่ได้ ดังนี้

  • หากรู้สึกว่าบริเวณที่เจาะหูมานั้น มีความหนาขึ้นจนผิดปกติ ให้ถอดต่างหูออกทันที และเข้าพบคุณหมอเพื่อใส่ต่างหูแรงดัน (pressure earring) ซึ่งเป็นต่างหูที่ใช้ในทางการแพทย์
  • หากคุณเคยเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ที่เกิดจากการเจาะหูมาแล้ว ไม่ควรเจาะหูอีกไม่ว่าจะเป็นบริเวณใดก็ตาม
  • หากมีคนในครอบครัว มีประวัติในการเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ก็อาจทำให้คุณนั้นเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะทำการสัก เจาะหู หรือว่าทำศัลกรรมความงามอื่นๆ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย
  • หากรู้ว่าจะต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่ามีประวัติในการเป็นคีลอยด์ เพื่อที่แพทย์จะได้เตรียมการได้อย่างถูกต้อง
  • หลังจากเจาะหู ควรทำความสะอาดบริเวณแผลเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ พร้อมทั้งใช้เจลประคบแผลที่เจาะใหม่

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา