วิธีรักษา หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก พยายามซับเหงื่อให้ผิวหน้าแห้งสะอาดอยู่เสมอ และรีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีที่สะดวก
โรคผื่นแดด (Sun rash)
เป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงยูวี (Ultraviolet light) เกิดขึ้นกับผู้ที่ผิวไวต่อแสงแดดอย่างผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด ผู้ที่สัมผัสกับสารเคมี น้ำหอม สีย้อม หรือสารฆ่าเชื้อบางชนิด ซึ่งส่งผลให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย ทำให้เกิดผื่นแดงหรือชมพู คัน ระคายเคืองที่ใบหน้ารวมถึงผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยทั่วไปผื่นแดดมักจะหายเองได้ภายใน 2-3 วันโดยไม่ต้องรักษา แต่ก็อาจเป็นซ้ำได้อีก นอกจากนี้ แสงแดดยังอาจกระตุ้นให้เกิดอาการลูปัสที่ผิวหนัง (Cutaneous lupus) ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ด้วย
วิธีรักษา สวมเสื้อผ้าแขนขายาวและสวมหมวกบังแดดเมื่อต้องออกไปข้างนอก เพื่อไม่ให้ผิวหนังโดนแสงแดดโดยตรง และควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไปและมีค่า PA เพื่อป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี โดยควรทาครีมกันแดดทิ้งไว้ 15-30 นาทีก่อนออกแดด เพื่อให้เนื้อครีมซึมซับเข้าสู่ผิวอย่างเต็มที่ และอาจใช้ยาแก้คัน เช่น ไฮโดรคอร์ติโซนชนิดทาผิวหนัง (Topical Hydrocortisone) เพื่อลดอาการคันและระคายเคืองผิว นอกจากนี้ การประคบเย็นหรือการอาบน้ำเย็นก็อาจช่วยบรรเทาอาการผื่นขึ้นหน้า คัน ระคายเคือง ของโรคผื่นแดดได้เช่นกัน
เป็นอาการผื่นนูนแดง บวม อาจขึ้นเป็นปื้นและกระจายไปตามผิวหนัง มีขนาดไม่แน่นอน อาจเกิดจากความร้อนหรือเหงื่อ การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล ช็อกโกแลต การใช้ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาลดความดันโลหิต โดยทั่วไปลมพิษอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่กรณีที่อาการแพ้รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีอาการหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หน้าบวม ปากบวม ตาบวม ควรรีบไปพบคุณหมอทันที
วิธีรักษา หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดผื่น และใช้ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) ตามที่คุณหมอสั่ง
เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจากร่างกายผลิตเซลล์ผิวหนังมากปกติ มักพบบริเวณหนังศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า หลังส่วนล่าง อวัยวะเพศ รวมไปถึงบริเวณใบหน้า ทำให้เกิดผื่นแดงนูนหนา ผิวมีสะเก็ดหรือลอกเป็นขุยสีขาว และอาจทำให้รู้สึกคันหรือเจ็บ เมื่อหายแล้วก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้เรื่อย ๆ
วิธีรักษา ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดเฉพาะที่ (Topical corticosteroids) อาจช่วยลดการอักเสบของผิวหนังได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย