อาการเหงื่อออกเยอะแบบไม่ทราบสาเหตุ
- มักเกิดขึ้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือไม่กี่ส่วนของร่างกาย เช่น รักแร้ ศีรษะ ฝ่ามือ เท้า
- เหงื่อออกทั้ง 2 ฝั่งของร่างกาย เช่น มือ 2 ข้าง
- เหงื่อออกหลังจากตื่นนอน และทำให้ผ้าปูที่นอนเปียกหรือชื้น
- เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรืออาจบ่อยกว่านั้น
- มีอาการครั้งแรกในช่วงวัยเด็กหรือช่วงวัยรุ่น
อาการเหงื่อออกเยอะจากภาวะความผิดปกติของร่างกาย
เหงื่อออกเยอะ แก้ยังไง
โดยส่วนใหญ่แล้วหากเหงื่อออกเยอะ ไม่จำเป็นต้องรักษา หากไปหาคุณหมอ อาจได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเหงื่อ เช่น อาบน้ำให้บ่อยขึ้น สวมเสื้อที่ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศร้อนจัด แต่หากอาการรุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน อาจได้รับการรักษาทางการแพทย์ด้วยวิธีต่อไปนี้
- การใช้ยา เช่น ผลิตภัณฑ์ยาระงับเหงื่อที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียม ยาบล็อกเส้นประสาท ยากล่อมประสาท โบท็อก (ใช้ฉีดบริเวณที่มีต่อมเหงื่อ) การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว แต่อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน และอาจมีผลข้างเคียง เช่น ยาทาภายนอกอาจทำให้ระคายเคืองต่อผิว ยารับประทานอาจทำให้ปากแห้งหรือมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ โบท็อกอาจทำให้เส้นประสาทอ่อนแรง
- การบำบัด เช่น การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) การทำพฤติกรรมบำบัด (Behaviour therapy) การทำตามเทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxation technique) อาจช่วยลดความวิตกกังวล ลดอาการเหงื่อออกเมื่อตื่นเต้น และช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ตามลำดับ
- ไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis) เป็นการรักษาด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าส่งผ่านน้ำเข้าไปในผิวหนัง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ซึ่งอาจช่วยปิดกั้นการทำงานของต่อมเหงื่อและช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง
- การรักษาด้วยคลื่นความถี่ไมโครเวฟ (Microwave therapy) คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือที่ปล่อยพลังงานความร้อนเข้าไปทำลายต่อมเหงื่ออย่างถาวรหรือตัดเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของอาการเหงื่อออกผิดปกติ ทั้งนี้ อาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น อวัยวะใกล้เคียงเสียหาย เหงื่อออกเยอะที่บริเวณอื่นแทน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย