backup og meta

การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีดังใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 08/10/2020

    การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีดังใจ

    การฉีดโบท็อกซ์นั้น นอกจากจะลดริ้วรอยบนใบหน้าได้แล้ว ยังสามารถใช้เพื่อรักษาภาวะทางสุขภาพต่างๆ ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เพื่อทำให้การฉีดโบท็อกซ์เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ จึงเป็นเรื่องที่คุณควรจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีข้อควรระวังต่างๆ อีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    หลังการฉีดโบท็อกซ์ ทำไมจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ

    โบท็อกซ์ หรือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin A ; Botox) ถือเป็นยาในกลุ่มเครื่องสำอางชนิดฉีด ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อของคุณเป็นอัมพาตชั่วคราว การฉีดโบท็อกซ์ถือเป็นเรื่องที่ปลอดภัย เพราะการฉีดจะใช้สารชนิดนี้ในปริมาณที่เจือจาง เพื่อหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้ริ้วรอยอ่อนลงและผ่อนคลาย

    นอกจากคนส่วนใหญ่จะใช้โบท็อกซ์ เพื่อลดริ้วรอยบนใบหน้าแล้ว ยังใช้เพื่อรักษาภาวะทางการแพทย์ต่างๆ เช่น

    • ไมเกรนเรื้อรัง
    • เหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis)
    • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (Overactive Bladder หรือ OAB)
    • ภาวะตาขี้เกียจ (Lazy Eye)
    • คอบิดเกร็ง (Cervical Dystonia) หรือคอกระตุก (Neck Spasms)

    หลังจากเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์ 4 ชั่วโมง คุณควรหลีกเลี่ยงการนอนหงาย หลีกเลี่ยงการนวดหรือใช้ความร้อนในบริเวณที่ฉีดโบท็อกซ์ไป หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดง เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก การดื่มแอลกอฮออล์ และการใช้อ่างน้ำร้อน เหตุผลที่จำเป็นจะต้องดูแลตัวเองหลังการฉีดโบท็อกซ์เป็นพิเศษ ก็เพื่อลดการแพร่กระจายของสารดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้

    วิธี การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์

    เป้าหมายหลักของ การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ ก็คือ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดรอยช้ำและการแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยทั่วไปแล้วในวันที่คุณเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์เรียบร้อยแล้ว คุณควรจะต้องทำตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้

    • บริหารใบหน้าเบาๆ
    • พักผ่อนตลอดทั้งวัน
    • รักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัส ถู หรือกดทับบริเวณที่ได้รับการฉีดโบท็อกซ์มา
    • ปล่อยบริเวณที่ได้รับการฉีดโบท็อกซ์เอาไว้ พยายามอย่าไปยุ่งกับบริเวณที่รับการฉีด

    นอกจากนี้คุณควรจะปฏิบัติตามแนวทางต่างๆ เหล่านี้

    กลับไปทำกิจกรรมตามปกติ

    การฉีดโบท็อกซ์ไม่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนาน ดังนั้น ถ้าคุณไม่สามารถที่จะหยุดงานหรือหยุดเรียนได้ ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะคุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที

    รอให้ครบ 24 ชั่วโมง ค่อยออกกำลังกาย

    หากการออกกำลังกายคือส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของคุณ แนะนำว่าให้คุณรออย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะกลับไปออกกำลังกาย บางครั้งแพทย์ของคุณอาจจะแนะนำให้รอหลายๆ วัน

    การออกกำลังกายเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งส่งนี้อาจจะทำให้โบท็อกซ์ที่เพิ่งฉีดไปแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจ และเป็นการลดประสิทธิภาพในบริเวณที่ฉีดไปด้วย ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดรอยช้ำอีกด้วย

    โดยการออกกำลังกายยังทำให้กล้ามเนื้อของคุณหดตัว ซึ่งอาจเป็นการลดประสิทธิภาพของโบท็อกซ์ได้ อย่างไรก็ตามคุณสามารถออกกำลังกายบริเวณใบหน้าได้ เช่น

    • ทำหน้าบึ้ง
    • ยิ้ม
    • เลิกคิ้ว

    การเคลื่อนไหวเหล่านี้ สามารถช่วยให้ผลของโบท็อกซ์ปรากฏได้เร็วขึ้น

    งดแต่งหน้า 24 ชั่วโมง

    หากคุณได้รับการฉีดโบท็อกซ์ที่ใบหน้า ให้หยุดพักจากการแต่งหน้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจาก การแต่งหน้านั้นจะต้องทำการถูผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้โบท็อกซ์กระจายตัวได้

    ลุกและนั่ง

    ภายใน 4 ชั่วโมงแรกของการฉีดโบท็อกซ์คุณสามารถลุกและนั่งได้ตามปกติ แต่การก้มหรือนอนลง อาจทำให้โบท็อกซ์แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ทั้งยังทำให้เกิดรอยช้ำได้ด้วย

    ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยา

    ยาบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำได้ ดังนั้น หลังจากเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมถามคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยา เมื่อต้องเริ่มใช้ยาอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

    ข้อควรระวังใน การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์

    แน่นอนว่าการดูตัวเองหลังโบท็อกซ์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรระวังบางประการที่คุณควรจะต้องรู้เอาไว้ ในวันที่คุณเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์เรียบร้อยแล้ว คุณควรคำถึงสิ่งต่อไปนี้

    อย่าดื่มแอลกอฮอล์

    แน่นอนว่าก่อนที่คุณจะเข้ารับการฉีกโบท็อกซ์นั้น คุณหมอจะขอให้คุณหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮออล์สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำได้ นอกจากนั้นหลังจากที่ฉีดโบท็อกซ์เรียบร้อยแล้ว คุณควรรออย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะทำการกลับไปดื่มแอลกอฮอล์อีกครั้ง

    อย่าสัมผัสใบหน้าของคุณ

    เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโบท็อกซ์ไปยังส่วนอื่นๆ อย่าสัมผัสใบหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน แต่คุณหมอบางคนอาจจะแนะนำให้รอถึง 3 วัน หากคุณได้รับการฉีดโบท็อกซ์ที่บริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย คุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสในบริเวณนั้นด้วย ซึ่งรวมไปถึงการนวดในบริเวณที่ได้รับการฉีดโบท็อกซ์มา หากคุณต้องการที่จะนวดควรปล่อยให้เวลาผ่านไปหลายๆ วัน ก่อนจะกลับไปนวดอีกครั้ง

    หลีกเลี่ยงการบำรุงผิวต่างๆ

    โบท็อกซ์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการเช้าสู่กล้ามเนื้อ ดังนั้น ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังกจากได้รับการฉีดโบท็อกซ์ ควรหลีกเลี่ยงการบำรุงผิวอื่นๆ เช่น

    การได้รับการรักษาเหล่านี้เร็วเกิดไป อาจลดประสิทธิภาพของโบท็อกซ์ที่คุณเพิ่งไปฉีดมาได้

    อย่านอนทับในบริเวณที่ได้รับการฉีดโบท็อกซ์

    คุณต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่นอนทับในบริเวณที่ได้รับการฉีดโบท็อกซ์มา วิธีนี้จะช่วยลดความกดดันทางกายภาพและปล่อยโบท็อกซ์ให้เข้าสู่กล้ามเนื้อของคุณ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการนอนหลับภายใน 4 ชั่วโมงแรก หลังจากการเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์ด้วย

    หลีกเลี่ยงแสงแดด

    คุณต้องหลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เนื่องจาก ความร้อนสามารถกระตุ้นการชะล้าง และเพิ่มความดันโลหิต ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดรอยช้ำ เพื่อความปลอดภัยเป็นพิเศษจึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงถึง 48 ชั่วโมง นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนในรูปแบบอื่นๆ เช่น

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดโบท็อกซ์

    หลังจากได้รับการฉีดโบท็อกซ์ไปแล้ว มักจะมีรอยแดงและอาการบวมเกิดขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปในเวลา 1 วัน รอยช้ำยังถือเป็นเรื่องปกติ คุณสามารถใช้น้ำแข็ง 1 ก้อนประคบเอาไว้ เพื่อบรรเทาอาการได้ ซึ่งรอยช้ำที่เกิดขึ้นควรหายไปในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่หากคุณสังเกตเห็นผลกระทบอื่นๆ ต่อไปนี้ ขอแนะนำว่าควรรีบไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์

    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • กลืนลำบาก
    • พูดยาก
    • หายใจลำบาก
    • การควบคุมกระเพาะปัสสาวะไม่ดี
    • การเปลี่ยนแปลงของวิสัยทัศน์

    แม้ผลข้างเคียงเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่การไปพบคุณหมอในทันที่ที่เกิดอาการเหล่านี้จะเป็นการดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 08/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา