สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูน (Keloids) มีอะไรบ้าง
การบาดเจ็บของผิวหนังเกือบทุกประเภท สามารถนำไปสู่การเป็นแผลเป็นนูนได้ ซึ้งรวมถึงสาเหตุเหล่านี้
ประมาณ 10% ของผู้ที่มีประสบการณ์เป็นรอยแผลเป็นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง มีแนวโน้มที่จะเป็นรอยแผลเป็นนูน นอกจากนั้นคนที่มีสีผิวคล้ำก็มีแนวโน้มที่จะเป็นแผลเป็นนูนได้เช่นกัน นอกจากการบาดเจ็บของผิวหนังที่จะทำให้เกิดแผลเป็นนูนแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
- เป็นเชื้อสายเอเชีย
- เป็นเชื้อลายละติน
- กำลังตั้งครรภ์
- มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
แนวโน้มทางพันธุกรรมก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการเป็นแผลเป็นนูนได้ นอกจากนั้นจากการศึกษาหนึ่งพบยีนส์ที่มีชื่อว่า เอเอชเอ็มเอเค (AHNAK) ซึ่งอาจจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเกิดของแผลเป็นนูน โดยผู้ที่มียีนส์นี้อยู่ในตัวแผลเป็นอาจมีแนวโน้มพัฒนากลายเป็นแผลเป็นนูนได้มากกว่าผู้ที่ไม่มียีนส์นี้
ดังนั้นหากคุณรู้ว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยที่จะเกิดแผลเป็นนูน ก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการเจาะตามร่างกาย การผ่าตัดที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงรอยสักต่างๆ จะเป็นการดีที่สุด
การรักษาแผลเป็นนูน (Keloids) มีวิธีไหนบ้าง
การรักษาแผลเป็นนูนนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีดังนี้
รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน
การตัดสินใจรักษา คีลอยด์ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะแผลเป็นนูนนั้นมาจากการที่ร่างกายพยายามซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้นหากตัดสินใจที่จะลบรอยแผลเป็นนูนออก ก็อาจจะต้องทำใจว่ามันอาจจะสามารถกลับมาเป็นได้อีก และบางครั้งมันอาจจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
ก่อนที่จะไปพบแพทย์ ลองใช้น้ำมันที่ให้ความชุ่มชื่นซึ่งมีอยู่ทั่วไปมาลองทาที่แผลเป็นนูนดู เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนลง ซึ่งการทำเช่นนี้อาจช่วยให้ขนาดของแผลเป็นลดลง นอกจากนั้นแผลเป็นนูนยังอาจมีแนวโน้มที่จะหดตัวและราบเรียบอยู่ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม
ในขั้นต้นแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด เช่น แผ่นซิลิโคน หรือหากเป็นแผลกดทับก็อาจจะใช้การฉีดโดยเฉพาะ ซึ่งจะเหมาะกับแผลเป็นนูนที่ค่อนข้างใหม่ การรักษาเหล่านี้ต้องทำบ่อยๆ และระมัดระวัง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ จึงใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนในการรักษา รวมถึงการเยียวยาอื่นๆ ที่บ้านหากเป็นแผลเป็นนูนที่เป็นมานานแล้ว
การผ่าตัด
ในกรณีที่แผลเป็นนูนมีขนาดใหญ่มาก หรือเป็น แผลเป็น ที่เป็นมานานแล้ว แนะนำให้ทำการผ่าตัดออก ซึ่งอัตราการหายหลังจากผ่าตัดเอาแผลเป็นนูนออกจะค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามข้อดีของการกำจัดรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ด้วยการผ่าตัดก็ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัดได้
การรักษาด้วยความเย็น อาจเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับแผลเป็นนูน การผ่าตัดแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไครโอเทอราพี (Cryotherapy) ซึ่งกระบวนการทำงานของไครโอเทอราพี คือการแช่แข็ง เพื่อกำจัด คีลอยด์ ด้วยไนโตรเจนเหลว
แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) หลังการผ่าตัด เพื่อลดการอักเสบและลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นแผลเป็นนูน
การรักษาด้วยเลเซอร์
สำหรับ แผลเป็น บางประเภท รวมถึงแผลเป็นนูนบางส่วน แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาวิธีนี้จะช่วยฟื้นฟูผิวตรงที่เป็นแผลเป็นนูน และผิวรอบข้างด้วยลำแสงที่มีความสว่างสูง เพื่อสร้างความเรียบเนียนและกระชับยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยเลเซอร์ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้แผลเป็นนูนแย่ลง โดยทำให้เกิดรอยแผลเป็นและรอยแดงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลข้างเคียงเหล่านี้บางครั้งอาจจะดีกว่า แผลเป็น ดั้งเดิม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย