backup og meta

โรคสะเก็ดเงินกับการสัก เป็นโรคสะเก็ดเงิน สักได้ไหม

โรคสะเก็ดเงินกับการสัก เป็นโรคสะเก็ดเงิน สักได้ไหม

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผิวหนัง เมื่อเกิดรอยแผลอาจทำให้เกิดรอยปื้นที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงินได้ การสักเป็นการใช้เข็มเพื่อเพ้นท์สีลงบนผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้บางคนที่มีอาการของโรคสะเก็ดเงินรุนแรงเสี่ยงเกิดรอยปื้นได้ง่ายขึ้น โรคสะเก็ดเงินกับการสัก จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินและสนใจในการสักผิวหนังไม่ควรละเลย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหากเข้ารับการสัก

[embed-health-tool-bmr]

โรคสะเก็ดเงินคืออะไร

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ ในบางกรณีอาจมากถึง 10 เท่า ทำให้ผิวหนังอักเสบ ชจนเกิดเป็นปื้นสีแดงขนาดใหญ่ มีเกล็ดสีขาวคลุมด้านบน โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคที่เกิดจากสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียว และไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเกิดจากผลจากพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติหลายชนิดรวมกัน และปัจจัยภายในและภายนอกร่างกายที่ไม่เหมาะสมก็ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้ทุกที่ แต่มักพบที่หนังศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า และหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่แล้ว โรคสะเก็ดเงินมักเกิดกับผู้ใหญ่ตอนต้น สำหรับบางคนอาจเกิดปื้นแดงเล็ก ๆ แต่ในกรณีที่รุนแรงก็อาจเกิดรอยปื้นขนาดใหญ่ โรคสะเก็ดเงินสามารถรักษาให้หายได้แต่ก็สามารถกลับมาเป็นได้ตลอด

โรคสะเก็ดเงินกับการสัก ปลอดภัยไหม

รอยสักเป็นศิลปะชนิดหนึ่งที่เพ้นท์สีลงบนร่างกาย ซึ่งผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน เป็นสภาวะอักเสบที่มีผลต่อผิวหนัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้เซลล์ผิวหนังเติบโตเร็วเกินไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้ อาจสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่ต้องการสัก อันดับแรก เมื่อผิวหนังมีรอยปื้นจากโรคสะเก็ดเงินจะทำให้สักยากขึ้ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินยังมีความเสี่ยงเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง Koebner (Koebner phenomenon) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เมื่อเกิดการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นแผลแมลงกัด ต่อย มีดบาด แผลจากอุบัติเหตุ ก็จะทำให้ง่ายต่อการเกิดปื้นแดง ซึ่งร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีโอกาสเกิดผื่นหลังมีอาการบาดเจ็บ โดยปกติจะเกิดภายใน 10-20 วันหลังบาดเจ็บ แต่ในบางคนอาจเกิดเร็วภายใน 3 วัน การสักรอยอาจทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง จึงอาจทำให้เกิดผื่นสะเก็ดเงินตามบริเวณที่สัก แต่แพทย์ก็ไม่ได้ยืนยันว่าทุกคนที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะเกิดปรากฎการณ์ Koebner แต่เพื่อความปลอดภัย การสักอาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน

เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงินแล้วสัก จะเกิดภาวะเสี่ยงอะไรบ้าง

จริง ๆ แล้วผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน เสี่ยงที่จะเกิดปรากฏการณ์ Koebner เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น แต่ก็มีความเสี่ยงอื่น ๆ ในการสักที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเกิดรอยปื้นแดง เช่น อาการเย็น อากาศแห้ง นอกจากนี้ สีย้อม โดยเฉพาะสีแดงและสีเหลือง ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน หากคิดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีแนวโน้วว่าจะแพ้ให้ทดลองป้ายสีลงที่แขนก่อนสักจริงเพื่อดูปฏิกิริยาของหมึกสักกับผิว หากทิ้งไว้แล้วพบว่ามีรอยแดง รอยไหม้ แสบร้อนที่ผิว ควรรีบเข้ารับการรักษาจากคุณหมอผิวหนัง

การดูแลรอยสักเมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน

เมื่อสักมาแล้ว ประมาณ 2 สัปดาห์แผลที่สักจะเกิดการตกสะเก็ด ในช่วงนี้อาจเกิดอาการคันบริเวณที่สัก แต่ห้ามเกาโดยเด็ดขาด เพราะการเกาจะทำให้แผลยิ่งหายช้าลง วิธีดูแลรอยสักใหม่ในเบื้องต้น อาจมีดังนี้

  • เอาผ้าพันแผลออกหลังจากผ่านไปหลายชั่วโมง
  • ล้างและเช็ดผิวบริเวณที่สักให้แห้งอย่างเบามือและอย่าขัดผิวเด็ดขาด
  • ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่ทางร้านสักให้มา ทาบริเวณที่สัก
  • อย่าให้แผลบริเวณที่สักโดนน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือแช่ในอ่างอาบน้ำ
  • หลังจากหายดีแล้ว ให้ทามอยส์เจอไรเซอร์เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น โดยเลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่อ่อนโยนต่อผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดและการใช้ครีมกันแดดบริเวณรอยสัก

หากดูแลรอยสักของคุณเป็นอย่างดี แต่บริเวณที่สักกลับเกิดรอยไหม้ รอยปื้นแดง ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can You Get a Tattoo If You Have Psoriasis?. https://www.verywellhealth.com/psoriasis-tattoo-4174113. Accessed March 30, 2022

Can I get a tattoo if I have psoriasis?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/317180.php. Accessed March 30, 2022

Are Tattoos Safe for People with Psoriasis?. https://www.healthline.com/health/psoriasis/tattoos#1. Accessed March 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สะเก็ดเงิน กับเคล็ดลับเรื่องบนเตียงที่ควรรู้

โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ และโรคผิวหนัง ต่างกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา