backup og meta

โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ สาเหตุ และการบรรเทาอาการ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ สาเหตุ และการบรรเทาอาการ

    โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดหนึ่งที่มีรอยโรคบริเวณซอกพับต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม มีลักษณะเป็น ผื่นแดง อ่อนนุ่ม ดูมันวาว และมักไม่ค่อยมีขุยเหมือนสะเก็ดเงินชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาจมีอาการอักเสบ ระคายเคือง และมีอาการคัน พบได้มากในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง ความเครียด การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการกำเริบของโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้

    โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ เกิดจากอะไร

    สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับก็เหมือนกับโรคสะเก็ดเงินชนิดอื่น ๆ นั่นคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นมาเร็วเกินไป จนเกิดการสะสม แต่ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้เช่นกัน

    • การสูบบุหรี่
    • โรคอ้วน
    • การใช้ยา
    • การติดเชื้อ
    • การบาดเจ็บที่ผิวหนัง
    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • การขาดวิตามินดี
    • ความเครียด
    • การเสียดสี
    • ความชื้น เช่น เหงื่อ
    • ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน หรือเป็นผู้สูงอายุ

    วิธีบรรเทาอาการของ โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ นี้ด้วยตัวเอง

    โรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมและบรรเทาอาการของโรคได้ด้วยวิธีรักษาทางการแพทย์ เช่น การใช้ยาทาเฉพาะที่ การกินยา การใช้แสงบำบัด (Light Therapy) และหากมีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อรา แพทย์ก็จะรักษาอาการแทรกซ้อนดังกล่าวด้วย

    แต่นอกจากวิธีรักษาทางการแพทย์แล้ว วิธีดูแลตัวเองเหล่านี้ ก็ช่วยให้สามารถควบบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น

    1. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

    วิธีรับมือกับ โรคสะเก็ดเงิน บริเวณซอกพับที่ควรทำเป็นอย่างแรกก็คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือชอบกินอาหารที่ทำลายสุขภาพ ก็จะยิ่งทำให้อาการของแย่ลงได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หากมีน้ำหนักเกินก็ควรลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยให้การรักษาโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้ผลดีขึ้นด้วย โดยสามารถควบคุมน้ำหนักและส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้ด้วยวิธีเหล่านี้

    • กินอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เช่น ผัก ผลไม้
    • กินโปรตีนลีน และโปรตีนจากพืชให้มากขึ้น
    • ลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียม เครื่องปรุงรสอื่น ๆ และอาหารแปรรูป
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที

    2. บำบัดด้วยสมุนไพร

    มีหลักฐานที่ชี้ว่า สารสกัดจากว่านหางจระเข้ สะเดา และสวีทเวย์ หรือเวท์หวาน (Sweet Whey) อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำว่า น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล น้ำมันทีทรี (Tea tree oil) ก็สามารถใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับได้ และหากกินขมิ้นชันวันละ 1.5-3 กรัมก็อาจช่วยลดอาการของโรคได้เช่นกัน

    3. ใช้วิธีการบำบัดรักษาแบบใช้กายและใจ

    ความเครียดถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด โรคสะเก็ดเงิน และโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ได้ และวิธีการบำบัดรักษาแบบใช้กายและใจ (Mind-Body Interventions) ก็สามารถช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี โดยวิธีการบำบัดรักษาแบบใช้กายและใจนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ที่สามารถฝึกได้เองในชีวิตประจำวัน เช่น

    • อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือ สุคนธบำบัด ซึ่งหมายถึง ศาสตร์ในการบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยนั่นเอง น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยคลายเครียด เช่น คาโมมายล์ (Chamomile) กุหลาบ ลาเวนเดอร์ โดยอาจแช่น้ำที่หยดน้ำมันหอมระเหย หรือกระจายกลิ่นของน้ำมันด้วยเครื่องกระจายกลิ่น หรือก้านไม้ก็ได้
    • นั่งสมาธิ วันละประมาณ 5 นาที หรือนานกว่านั้น
    • ฝึกเจริญสติ หรือพัฒนาความรู้สึกตัว เพราะวิธีนี้จะช่วยให้สามารถทนต่ออาการเจ็บปวดทั้งทางกายและทางใจทีเกิดจากโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ และโรคสะเก็ดเงินอื่น ๆ ได้

    หากเป็นขั้นนี้ ต้องรีบไปพบคุณหมอ

    หากพบว่าผิวหนังผิดปกติ โดยเฉพาะมีผื่นแดง ลักษณะมันวาว ที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม เป็นต้น ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที คุณหมอจะได้วินิจฉัยอาการ และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด

    สำหรับผู้ที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ หากมียาและคุ้นชินกับวิธีรับมือกับอาการของโรคดีอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอทุกครั้งที่อาการของโรคกำเริบ แต่หากพบสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น เป็นหนอง เป็นแผลพุพอง ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา