ซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไตคือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี
[embed-health-tool-bmr]
คำจำกัดความ
ซีสต์ในไต คืออะไร
โรคซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไต คือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี โดยประเภทของซีสต์ในไตที่เรียกว่า ซีสต์ในไตธรรมดา เป็นซีสต์ในไตที่ไม่มีเชื้อมะเร็ง และมักไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
- โรคซีสต์ในไตเป็นโรคที่เกิดขึ้นในไตทั้งสองข้าง และเมื่อเกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นการคาดเดาได้ว่ามาถึงระยะสุดท้ายของโรคไตวายแล้ว
- ในระยะเริ่มแรก จะไม่มีอาการหรือสัญญาณใดที่แสดงว่าเป็นโรคซีสต์ในไต โดยมากจะพบโดยไม่ตั้งใจเมื่อทำการตรวจด้วยการฉายรังสีภายในช่องท้อง
โรคซีสต์ในไตพบได้บ่อยหรือไม่
โรคซีสต์ในไตสามารถพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเป็นเวลานานๆ ประมาณ 7-22% ของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้องรังเป็นโรคซีสต์ในไตก่อนเริ่มการรักษาโดยการฟอกไต เกือบ 60% ของผู้ที่รับการฟอกไตนาน 2-4 ปีมีซีสต์ในไต และประมาณ 90% ของผู้ที่รับการฟอกไตมานาน 8 ปีมีซีสต์ในไต โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของโรคซีสต์ในไตมีอะไรบ้าง
ซีสต์ในไตธรรมดามักไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการใด ๆ แต่ถ้าหากก้อนซีสต์ในไตธรรมดานั้นโตมากพอ อาการที่อาจเกิดขึ้นตามมา มีดังนี้
- อาการปวดตื้อที่หลังหรือสีข้าง
- เป็นไข้
- เจ็บช่องท้องส่วนบน
อาจมีอาการอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ด้านบนนี้ หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากท่านพบสัญญาณหรืออาการใดๆ ที่ระบุไว้ด้านบนนี้ หรือมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีอาการไม่เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดคือควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกของปัญหาสุขภาพของท่าน
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิด ซีสต์ในไต
โรคซีสต์ในไตอาจเป็นผลมาจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จากการศึกษาได้พบว่า แม้ว่าความเกี่ยวข้องระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและโรคซีสต์ในไตนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคซีสต์ในไตได้
จากผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ของเสียที่ไม่สามารถระบุได้ และไม่ได้นำออกจากร่างกาย เป็นตัวทำให้เกิดซีสต์ในไต แต่การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุของซีสต์แต่อย่างใด
ปัจจัยความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดซีสต์ในไต
มีปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดโรคซีสต์ในไตหลายประการ ได้แก่
- เพศชาย (อัตราการเกิดโรคซีสต์ในไตของเพศชายต่อเพศหญิงคือ 7:1)
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นระยะเวลานาน
- คนผิวสี (นิโกร)
- โรคซีสต์ในไตขั้นรุนแรงโดยมีก้อนซึ่งเกิดจากอวัยวะโตในช่องท้องแบบเห็นได้ชัดเจน
- อาการตกเลือดของซีสต์
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับขอมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอ
การวินิจฉัยโรคซีสต์ในไต
การทดสอบและกระบวนการวิเคราะห์โรคซีสต์ในไตธรรมดา ได้แก่
- การฉายรังสี เช่น การตรวจโดยอัลตร้าซาวด์ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), และ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) เป็นวิธีที่ใช้บ่อย ในการตรวจหาโรคซีสต์ในไตธรรมดา การฉายรังสีช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่าก้อนเนื้อที่พบที่ไตเป็นซีสต์หรือเนื้องอก
- การทดสอบการทำงานของไต การตรวจจากตัวอย่างเลือดอาจได้ว่าซีสต์ในไตนั้นทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติหรือไม่
การรักษาโรคซีสต์ในไต
ในกรณีที่อาการของท่านไม่แสดงอาการหรือสัญญาณใดๆ และไม่แทรกแซงการทำงานของระบบไต ท่านอาจไม่ต้องการการรักษา ในบางครั้งโรคซีสต์ในไตธรรมดาอาจหายไปได้เอง
หากโรคซีสต์ในไตธรรมดาเริ่มแสดงอาการหรือสัญญาณใด ๆ แพทย์อาจแนะนำวิธีรักษาหรือทางเลือกอื่น ๆได้แก่
- ผู้ให้บริการด้านสุขภาพอาจรักษาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าแบคทีเรีย)
- การเจาะและระบายซีสต์ แล้วเติมแอลกอฮอล์ลงไป วิธีนี้หาพบได้ยาก การทำให้ซีสต์หดตัวลง แพทย์จะสอดเข็มที่เล็กและยาวเจาะผ่านผิวหนังและผ่านผนังของซีสต์ในไต หลังจากที่ของเหลวในซีสต์นั้นถูกระบายออกมา ซีสต์นั้นจะถูกเติมสารละลายแอลกอฮอล์ลงไปเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นมาใหม่
- การผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ ซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ นั้น อาจต้องการการผ่าตัดเพื่อระบายของเหลวและตัดออก ในการผ่าตัดนั้นผู้ทำการผ่าตัดจะทำการกรีดผิวเป็นรอยเล็ก ๆ หลายรอย และสอดเครื่องมือพิเศษ และกล้องถ่ายวิดีโอขนาดเล็ก เพื่อดูวิดีโอจากหน้าจอภายในห้องผ่าตัด ศัลยแพทย์จะสอดเครื่องมือไปที่ไตและใช้มันเพื่อการระบายของเหลวออกจากก้อนซีสต์ จากนั้นจะตัดผนังก้อนซีสต์หรือทำการจี้ออกไป
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโรคซีสต์ในไต
สำหรับโรคซีสต์ในไตนั้น ไม่มีอาหารหรือการป้องกันใด ๆ ที่สามารถป้องกันหรือชะลอโรคซีสต์ในไตได้โดยเฉพาะ แต่โดยปกติแล้ว อาหารที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่รับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือรับการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้องจะช่วยลดปริมาณของเสียที่สะสมในร่างกายระหว่างกระบวนการฟอกเลือด ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารแบบเดียวกันนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซีสต์ในไต
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ