คำจำกัดความ
ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คืออะไร
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver หรือ nonalcoholic steatohepatitis) เป็นคำเรียกชื่อโรคสำหรับผู้ได้รับผลจากภาวะผิดปกติของตับ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย หรือไม่ได้ดื่มเลย ลักษณะเฉพาะของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คือ มีไขมันสะสมที่เซลล์ตับมากเกินไป
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ขั้นรุนแรง สังเกตได้จากอาการตับอักเสบขั้นรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลเป็น และสร้างความเสียหายแก่ตับที่ไม่สามารถรักษาได้ ความเสียหายดังกล่าวคล้ายคลึงกับความเสียหายที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
ความรุนแรงสูงขั้นสูงสุดของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คือ โรคตับแข็ง และภาวะตับวาย หากไม่ได้รับการรักษา โรคตับแข็งสามารถก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
อาการของโรคตับแข็ง
- มีน้ำในช่องท้อง
- อาการบวมที่หลอดเลือดในหลอดอาหาร ซึ่งอาจแตกและมีเลือดออกได้
- มึนงง ง่วงซึม และพูดไม่ชัด
- มะเร็งตับ
- ตับวายระยะสุดท้าย ซึ่งหมายความว่า ตับหยุดทำงาน
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ พบได้บ่อยแค่ไหน
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์พบได้บ่อยมาก และสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 40 และ 50 ปี ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจเนื่องจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2
อย่างไรก็ดี ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้แก่
- ตับโต
- อ่อนเพลีย
- ปวดท้องด้านขวาบน
สัญญาณบ่งชี้และอาการที่เป็นไปได้ของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็งที่เกิดจากแผลเป็นขั้นรุนแรง ได้แก่
- ท้องบวม (มีน้ำในท้อง)
- หลอดเลือดโต ใต้ผิวหนัง
- หน้าอกโตในผู้ชาย
- ม้ามโต
- ฝ่ามือแดง
- ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน)
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระดับไขมันสูงในตับ เบาหวานหรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) ภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง (เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง) ความดันโลหิตสูง
นักวิจัยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลายประการที่อาจสัมพันธ์กับการลุกลามของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้แก่
- ภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ ความไม่สมดุลระหว่างสารที่ส่งเสริมการเกิดออกซิเดชันและสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เซลล์ตับเสียหาย
- การสร้างและการปลดปล่อยโปรตีนที่เป็นพิษ (cytokines) จากเซลล์ที่เกิดการอักเสบ เซลล์ตับ หรือเซลล์ไขมันของผู้ป่วยเอง
- เซลล์ตับตายหรือเซลล์ตาย
- การอักเสบของเนื้อเยื่อไขมัน และเกิดการแทรกซึมของเซลล์เม็ดเลือดขาว
- จุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut microbiota) ซึ่งจัดว่าเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น
- ระดับคอเลสเตอรอลสูง
- ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร
- โรคอ้วน โดยเฉพาะเมื่อมีไขมันสะสมปริมาณมากในช่องท้อง
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- โรคหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
- ภาวะฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองน้อยกว่าปกติ
- เป็นผู้สูงอายุ
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ไม่มีการทดสอบใดที่สามารถวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้ แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในเบื้องต้น ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การตรวจเลือด
- การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์
- การทดสอบเอนไซม์ในตับและการทำงานของตับ
- การทดสอบหาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส (ตับอักเสบเอ ตับอักเสบซี และอื่นๆ)
- การตรวจคัดกรองโรคแพ้กลูเตน
- การเจาะหาน้ำตาลหลังอดอาหาร
- การตรวจหาฮีโมโกลบิน A1C ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคงที่ของน้ำตาลในเลือด
- การตรวจระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
การตรวจโดยใช้ภาพถ่าย
- การอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นการตรวจในระยะแรกเมื่อสงสัยว่าเป็นโรคตับ
- การตรวจด้วยซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอบริเวณช่องท้อง แต่เทคนิคดังกล่าวไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างโรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากแอลกออฮอล์และภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้
- การตรวจแบบ Transient elastography ซึ่งเป็นการตรวจประเมินพังผืดตับ ด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อวัดความแข็งของตับ โดยความแข็งของตับบ่งชี้ถึงระดับพังผืด (fibrosis) และแผลเป็น (scarring)
- การตรวจแบบ Magnetic resonance elastography เป็นการตรวจประเมินพังผืดตับ ด้วยการรวมการถ่ายภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก กับภาพที่เกิดจากคลื่นเสียงที่กระทบออกจากตับ เพื่อสร้างภาพถ่ายที่แสดงความแข็งของตับซึ่งแสดงให้เห็นถึงพังผืดได้
การทดสอบเนื้อเยื่อตับ
หากการทดสอบอื่นไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อาจแนะนำให้มีการทดสอบเนื้อเยื่อตับ ในการทดสอบนี้ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากตับ โดยใช้เข็มสอดเข้าไปในตับผ่านทางผนังช่องท้อง
ตัวอย่างเนื้อเยื่อจะได้รับการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ของการติดเชื้อและพังผืด การตรวจเนื้อเยื่อตับอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ในผู้ป่วยบางราย และอาจมีความเสี่ยงเล็กน้อย โดยแพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดของตรวจ
การรักษาไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
การรักษาภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้แก่ การจัดการปัจจัยเสี่ยงและการควบคุมอาการ โดยสามารถปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม
- รักษาระดับน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสม โดยควรลดน้ำหนักร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนักร่างกายโดยรวม
- ควบคุมโรคเบาหวาน
- หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้
- ควบคุมน้ำหนัก
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยาเท่าที่จำเป็น และปฏิบัติตามข้อแนะนำเกี่ยวกับขนาดยาอย่างเคร่งครัด
หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]