ตับแข็ง (Cirrhosis)
ตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นภาวะที่ตับได้รับความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อการอักเสบทำให้เนื้อเยื่อตับเป็นพังผืด ซึ่งขัดขวางกระแสเลือดภายในตับได้เป็นบางส่วน คำจำกัดความตับแข็ง คืออะไร โรคตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นภาวะที่ตับได้รับความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อการอักเสบทำให้เนื้อเยื่อตับเป็นพังผืด ซึ่งขัดขวางกระแสเลือดภายในตับได้เป็นบางส่วน ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ โดยหน้าที่หลักของตับ ได้แก่ ดูดซึมและสะสมสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารในระหว่างการย่อยอาหารแล้วลำเลียงสารอาหารเหล่านี้ไปยังส่วนที่้หลือของร่างกาย สารอาหารเหล่านี้ ได้แก่ โปรตีน น้ำตาล และไขมัน สังเคราะห์โปรตีนขึ้นใหม่เพื่อสร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และสารทางภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย สังเคราะห์น้ำดีเพื่อสลายไขมันในอาหารในระหว่างย่อยอาหารเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอล และวิตามินที่ละลายในไขมัน กรองเลือดเพื่อกำจัดของเสีย เช่น สารพิษต่างๆ ไขมันส่วนเกิน และคอเลสเตอรอล ของเสียดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นอุจจาระแล้วปลดปล่อยออกจากร่างกายในระหว่างการขับถ่าย โดยปกติแล้ว ตับสามารถฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย เมื่อความเสียหายรุนแรงเกินไปเป็นเวลานาน เนื้อเยื่อตับกลายเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพังผืด (fibrosis) การเกิดพังผืดของตับเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งทำให้เกิดตับแข็ง ในระหว่างการเกิดตับแข็งในระยะเริ่มแรก ตับยังคงทำงานและเมื่อไปสู่ระยะต่อไปตับอาจล้มเหลวได้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ารับการตรวจทันทีเพื่อป้องกันตับล้มเหลว (liver failure) โรคตับแข็ง พบได้บ่อยเพียงใด ตับแข็งเป็นภาวะหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ซึ่งมักเป็นระยะสุดท้ายของโรคตับเรื้อรัง (chronic liver disease) โดยประมาณการกันว่าคนจำนวน 50 ล้านคนในโลกได้รับผลกระทบจากโรคตับเรื้อรัง และโรคตับแข็ง สามารถส่งผลได้ต่อทั้งผู้ชาย และผู้หญิง อย่างไรก็ดี การศึกษาในเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นถึงการเสียชีวิตที่มากขึ้นที่เกิดจากโรคตับแข็งในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาการอาการของโรค ตับแข็ง สัญญาณเตือนและอาการของตับแข็งขึ้นอยู่กับระยะของโรค คนจำนวนมากที่เป็นตับแข็งในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการ หากมีอาการเกิดขึ้น […]