ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C) คือการที่ตับโดยไวรัสตับอักเสบ ซี สามารถนำไปสู่การอักเสบในตับ เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบที่พบได้ทั่วไป และถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุด
คำจำกัดความ
ไวรัสตับอักเสบ ซี คืออะไร
ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C) หมายถึง สภาวะของการที่ตับถูกทำลายโดยไวรัสตับอักเสบ ซี (hepatitis C virus) ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบในตับ และทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทั้งนี้ ไวรัสตับอักเสบซีเป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบที่พบได้ทั่วไป และจัดว่าเป็นหนึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุด โดยปกติ ไวรัสตับอักเสบซีนั้นไม่แสดงอาการ คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อนี้จนกระทั่งมีสัญญาณของตับเสียหายในหลายสิบปีต่อมา และจะทราบว่าตัวเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อตรวจร่างกาย ดังนั้น จึงควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี
ไวรัสตับอักเสบซีพบได้บ่อยได้แค่ไหน
โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย โรคนี้เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดจากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO)
อาการ
อาการของไวรัสตับอักเสบซีเป็นอย่างไร
หากเป็นไวรัสตับอักเสบซีในระดับเบา ร่างกายจะไม่แสดงอาการอะไรจนกระทั่งมันเปลี่ยนไปเป็นการติดเชื้อที่ร้ายแรงมากขึ้น สัญญาณและอาการของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่พบได้ในช่วงแรกคือ
- เหนื่อยล้า
- คลื่นไส้ หรือไม่อยากอาหาร
- ปวดท้อง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- ดวงตาและผิวหนังเป็นสีเหลือง หรือดีซ่าน
- มีไข้
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
หลังจากที่การติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น สัญญาณและอาการอาจจะมี
- เลือดออกและมีรอยช้ำได้ง่าย
- คันที่ผิวหนัง
- มีของเหลวสะสมในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascitis)
- ขาบวม
- น้ำหนักลด
- สับสน ง่วงซึม และพูดไม่ชัด
- มีรอยเส้นเลือดเหมือนแมงมุมบนผิวหนัง
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ
ควรไปพบหมอเมื่อไร
เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน หากมีสัญญาณปัญหาสุขภาพของภาวะไวรัสตับอักเสบซี ควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุด
สาเหตุ
สาเหตุของไวรัสตับอักเสบซี
สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี คือไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus) ซึ่งแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสกับเลือดที่ปนเปื้อนไวรัสจากผู้ที่ติดเชื้อ หรือหากสัมผัสบริเวณพื้นผิวที่มีเลือดแห้งเป็นเวลาหลายสัปดาห์
วิธีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบอื่นคือ การใช้ยาและเข็มร่วมกัน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน โดยเฉพาะหากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน อาจจะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากใช้เข็มร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือหากมีเชื้อเอชไอวี (human immunodeficiency virus) ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ ผู้หญิงที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถส่งต่อเชื้อไปยังบุตรได้ โรคไวรัสตับอักเสบซีไม่แพร่กระจายทางอาหาร น้ำ หรือการสัมผัสโดยทั่วไป
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไวรัสตับอักเสบซี
ปัจจัยเสี่ยงมีหลายประการ อย่างเช่น
- หากสัมผัสกับผู้ติดเชื้อบ่อยครั้ง เช่น เป็นผู้ดูแลสุขภาพ หรือผู้ดูแลผู้ป่วยหลัก
- หากกำลังใช้ยเสพติด หรือมีเชื้อเอชไอวี
- หากใช้เข็มสักร่วมกับผู้อื่น หรือสักในห้องที่ไม่สะอาด
- หากกำลังทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นเวลานาน
- บางคนอาจจะเป็นไวรัสตับอักเสบซี เนื่องจากเคยผ่านการรักษาโรคหรือภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น การถ่ายเลือด ปลูกถ่ายอวัยวะ
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบซี
คุณหมอจะทำการตรวจเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสกับเชื้อไวรัส คุณหมอจะเริ่มรักษาด้วยการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อชะลอการเสียหายของตับ เพราะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักจะสร้างความเสียหายต่อตับเป็นเวลานาน ก่อนที่ร่างกายจะมีสัญญาณหรืออาการ
หากสงสัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี คุณหมอจะให้ตรวจเลือด ทั้งเพื่อวัดปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือด เพื่อช่วยประเมินการสร้างพันธุกรรมของไวรัส เพื่อช่วยใกำหนดตัวเลือกการรักษา
นอกจากนั้น อาจจำเป็นต้องทำการทดสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อของตับเพื่อที่คุณหมอจะได้ทราบระดับความรุนแรงของความเสียหายของตับ จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อของตับชิ้นเล็กๆ เพื่อไปตรวจในห้องแล็บ ขณะที่การตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างของตับไปตรวจ สามารถช่วยบ่งชี้ระดับความรุนแรงของโรค และเป็นแนวทางการตัดสินใจในการรักษาได้
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี
การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในร่างกายสามารถรักษาโรคตับอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะได้ผล ยาหลักสองชนิดคือ เพกิเลเตด อินเตอร์ฟีรอน (pegylated interferon) และไรบาไวริน (ribavirin) รวมทั้งไซมีพรีเวียร์ (simeprevir) โซฟอสบูเวียร์ (sofosbuvir) และดาคลาทาสเวียร์ (daclatasvir)
การปลูกถ่ายตับนั้นเป็นทางเลือกที่จำเป็นในกรณีที่ตับเสียหายอย่างรุนแรง ขณะทำการปลูกถ่ายอวัยวะ ตับที่เสียหายจะถูกนำออกแล้วแทนที่ด้วยตับที่สุขภาพดี อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ารักษาหายแล้ว จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัสเป็นประจำ เพราะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอาจเกิดขึ้นกับตับใหม่นี้ได้
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับโรคตับอักเสบซี
ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยรับมือกับโรคตับอักเสบซีได้
- หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงยาที่อาจทำให้ตับเสียหาย
- อย่าใช้มีดโกนหรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น
หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุด
[embed-health-tool-bmr]