backup og meta

ร้อนวูบวาบ ในหญิงวัยทอง พร้อมอาการ สาเหตุ และวิธีรับมือ

ร้อนวูบวาบ ในหญิงวัยทอง พร้อมอาการ สาเหตุ และวิธีรับมือ

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยทอง โดยเฉพาะช่วงระหว่างและหลังจากหมดประจำเดือน อาจเกิดอาการ ร้อนวูบวาบ ขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาการร้อนวูบวาบที่ว่านี้ แม้จะไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ และการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนบำบัด อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้หญิงวัยทองใช้ชีวิตได้สะดวกยิ่งขึ้น

[embed-health-tool-ovulation]

ร้อนวูบวาบ คืออะไร

อาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) คืออาการที่ร่างกายรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนเฉียบพลัน ทั้งใบหน้า ลำคอ และหน้าอก ผิวจะมีรอยแดงขึ้นคล้ายกับมีอาการหน้าแดง อาการร้อนวูบวาบยังมีผลให้ร่างกายมีเหงื่อออกมากขึ้น และเมื่อร่างกายสูญเสียความร้อนไปมากแล้ว ก็จะเริ่มรู้สึกได้ว่าเนื้อตัวเริ่มเย็น โดยทั่วไปอาการนี้มักพบในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง ระหว่างหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือน

สาเหตุของอาการร้อนวูบวาบ

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า อาการร้อนวูบวาบ เกิดขึ้นจากอะไร แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • ปัญหาสุขภาพหรือสภาวะของโรคที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ
  • การเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือด ได้แก่ การขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน เพราะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของกระบวนการไหลเวียนเลือด
  • อาหารรสเผ็ด
  • คาเฟอีน
  • ควันบุหรี่
  • อากาศร้อน

อาการร้อนวูบวาบ เป็นอย่างไร

อาการร้อนวูบวาบ อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกร่างกายอุ่นหรือร้อนแบบเฉียบพลันตั้งแต่ใบหน้า ลำคอ ไปจนถึงหน้าอก
  • ผิวมีสีแดงเป็นด่าง ๆ 
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เหงื่อออกมาก
  • รู้สึกเย็นขึ้นหลังจากที่ร่างกายเกิดอาการร้อนวูบวาบไปแล้ว

อาการร้อนวูบวาบ จะเกิดขึ้นราว 2-4 นาที โดยอาจเกิดขึ้นตอนใดก็ได้ และอาการอาจแย่ลงหากเป็นช่วงอากาศร้อน มีความเครียด หรือวิตกกังวล อาการนี้อาจทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน และอาจรบกวนการนอนหลับได้หากเกิดขึ้นในตอนกลางคืน

วิธีบรรเทาและป้องกันอาการร้อนวูบวาบ

โดยทั่วไปอาการร้อนวูบวาบจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีแล้วหายไปเอง และไม่มีแนวทางการรักษาใดที่สามารถการันตีว่าจะหายขาดจากอาการดังกล่าวได้ แต่ถ้าหากรู้ว่า อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุใด ก็จะช่วยให้คุณจัดการกับต้นตอที่เป็นสาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ โดยวิธีรับมืออาการร้อนวูบวาบที่เรานำมาฝาก มีดังต่อไปนี้

  • ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ 

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตบางประการ ให้รู้สึกสะดวกสบายขึ้น และไม่ทำให้อาการแย่ลงหากเกิดอาการร้อนวูบวาบ 

  • ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะช่วยให้ร่างกายเย็นขึ้นหากเกิด อาการร้อนวูบวาบ พยายามดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้เย็นอยู่เสมอ

  • รักษาอุณหภูมิในห้อง

สถานที่อยู่อาศัย ควรมีการดูแลเรื่องของอุณหภูมิให้เย็นกำลังดี หากเกิด อาการร้อนวูบวาบ ขึ้น อาการก็จะไม่แย่ลงมากเพราะไม่ได้อยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน

  • อยู่ในที่อากาศถ่ายเท

อากาศร้อนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ ทั้งยังทำให้อาการร้อนวูบวาบแย่ลงได้อย่างรวดเร็งด้วย หากทำได้ ควรพยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท เย็นสบายแทนจะดีกว่า

  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดร้อน

ยิ่งเป็นวัยทองก็ยิ่งต้องใส่ใจกับอาหารการกินเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารเผ็ด เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกเผ็ดร้อน มีอาการหน้าแดง ผิวแดงได้ง่าย

ฮอร์โมนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของ อาการร้อนวูบวาบ การดูแลและรักษาระดับของฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ จะช่วยลดโอกาสที่จะมีอาการร้อนวูบวาบได้

  • รักษาตามอาการ

อาการร้อนวูบวาบ ที่เป็นอยู่อาจมีสาเหตุมาจากอาการทางสุขภาพในปัจจุบันของแต่ละบุคคล ควรมีการรักษาสภาวะของโรคที่เป็นอยู่ให้หายดีก่อน ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะลดความเสี่ยงของอาการร้อนวูบวาบได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hot flashes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hot-flashes/symptoms-causes/syc-20352790. Accessed on March 19, 2020.

Treating Hot Flashes. http://www.menopause.org/docs/default-source/for-women/mnflashes.pdf?sfvrsn=8.pdf. Accessed on March 19, 2020.

Hot Flashes. http://www.menopause.org/for-women/sexual-health-menopause-online/causes-of-sexual-problems/hot-flashes. Accessed on March 19, 2020.

Hot Flashes. https://patient.info/doctor/hot-flushes. Accessed on March 19, 2020.

Hot Flashes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539827/. Accessed on March 19, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2023

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความบกพร่องทางเพศของผู้ชาย กับปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

วิธีแก้เผ็ด ลดอาการแสบร้อน ง่ายๆ แบบ ได้ผลชะงัก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 28/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา