คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล คือสารที่มีลักษณะคล้ายไปไขมัน พบได้ภายในเลือด ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอลเพื่อช่วยรักษาเซลล์ให้แข็งแรง แต่หากมีมากเกินไป คอเลสเตอรอลก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

คอเลสเตอรอล

ยาลดไขมันในเลือด และผลข้างเคียง

ยาลดไขมันในเลือด คืออีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดระดับไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด นอกเหนือจากการควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่การใช้ยาลดไขมันในเลือดก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของยาแต่ละชนิดให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ยาลดไขมันในเลือดใช้เพื่ออะไร เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพันธุกรรม ก็อาจทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้อาจเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตับ ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด แล้วอาจทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ได้ยาก นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว การลดระดับไขมันในเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงการใช้ยาลดไขมันในเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดสะสม และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันในเลือดก็มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อหาวิธีลดไขมันในเลือดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน ยาลดไขมันในเลือด ที่แพทย์นิยมเลือกใช้ ยาลดไขมันมีอยู่หลายประเภท ซึ่งอาจมีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มยาสแตติน(Statin) เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด เพื่อช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ และอาจช่วยเพิ่มระดับของไขมันดีในร่างกายได้ ยาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาสแตติน ได้แก่ อะทอร์วาสแททิน (Atorvastatin) ฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) โลวาสแตติน (Lovastatin) ซิมวาสแตติน (Simvastatin) พราวาสแตติน (Pravastatin) โรซูวาสแตติน (Rosuvastatin) พิทาวาสแตติน (Pitavastatin) ผลข้างเคียง : กลุ่มยาสแตตินอาจส่งผลให้ตับและลำไส้ได้รับความเสียหาย กล้ามเนื้ออักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสูญเสียความจำและสับสนเล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย และจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มสแตตินอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น […]

สำรวจ คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ ที่อาจพังเพราะนกเขาไม่ขัน

คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่งคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากคอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงองคชาติได้ และอาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย จนทำให้เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คอเลสเตอรอลสูง คืออะไร คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) หรือภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง หัวใจวาย หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งโรคที่มีสาเหตุมาจากคอเลสเตอรอลสูงแทบจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น ทางเดียวที่จะรู้ว่าคอเลสเตอรอลของตัวเองสูงหรือไม่ คือ การตรวจเลือด และตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลสูงมักจะถ่ายทอดกันผ่านพันธุกรรม รวมถึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย น้ำหนักตัว คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ เกี่วข้องกันอย่างไร คอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาติบกพร่อง ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวขององคชาตจนนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลสูงยังอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางเพศของผู้หญิงได้ด้วย เนื่องจากไขมันสะสมของคอเลสเตอรอลสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อการหล่อลื่นในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์จนทำให้ความต้องการทางเพศลดลง วิธีป้องกันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงอาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง ซึ่งอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย โดยอาจทำได้ดังนี้ รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชให้มากขึ้น เพราะมีใยอาหารในปริมาณมากอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูงในปริมาณมาก อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานซ์ เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง เนื้อสัตว์แปรรูป ของทอด ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารขยะ ครีมเทียม […]


คอเลสเตอรอล

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย น้ำส้มอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินดี วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 เหล็ก โพแทสเซียม ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ดังนั้น การดื่มน้ำส้มเป็นประจำอาจช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเส้นเลือดได้ น้ำส้มกับไขมันชนิดเลว (LDL) การดื่มน้ำส้มสดแบบไม่เจือจางอาจช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในร่างกายของบางคน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันเลว พบว่า การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน เป็นระยะเวลา 2 เดือน สามารถช่วยลดระดับไขมันเลวในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้ อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำส้มไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ ต่อผู้ที่มีไขมันในเลือดปกติ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันดี (HDL) พบว่า ในผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปานกลาง การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน สามารถช่วยให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากในน้ำส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) […]


คอเลสเตอรอล

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ประเภทเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยส่วนใหญ่แล้วหมายถึง อาหารที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดมีปริมาณขึ้นสูง จนส่งผลให้เกิดอันตรายต่อระบบหัวใจแหละหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ชอบรับประทานของทอด อาหารที่มีไขมันสูง จนทำให้ระบบคอเลสเตอรอลขึ้นสูง โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ จัดว่าเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่แท้จริงแล้วนั้นเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงจริงไม่ ควรเลือกบริโภคเนื้อชนิดใดเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง หมายถึงเนื้อสัตว์ จริงหรือ คอเลสเตอรอลเป็นสารสำคัญในร่างกาย แต่หากระดับของคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การอุดตันของเส้นเลือด และความเสี่ยงที่จะเกิดสโตรค และหัวใจวายได้ นอกจากคอเลสเตอรอลที่สร้างโดยร่างกายแล้ว คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ยังอาจมาจากไขมันอิ่มตัว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบไขมันประเภทนี้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลสูงไม่จำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะมีเนื้อสัตว์บางชนิดที่สามารถรับประทานได้ แม้จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูง เนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาซาร์ดีนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจช่วยรักษาระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ให้ต่ำลงได้ พร้อมกับเพิ่มระดับของไขมันดี (HDL) สำหรับคนไทยอาจเลือกรับประทานปลาทู เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกันโดยควรรับประทานอาหารปลาที่มีไขมันสูงย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สัตว์ปีก สัตว์ปีกแบบที่ไม่มีหนัง เป็นอาจเหมาะสำหรับผู้ที่อยากลดระดับคอเลสเตอรอล โดยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาจมีประมาณคอเลสเตอรอลใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 70-80 มก.ต่อเนื้อ […]


คอเลสเตอรอล

อาหารลดคอเลสเตอรอล อะไรที่ควรต้องกิน

อาหารลดคอเลสเตอรอล เป็นอาหารที่ไม่ส่งผลทำให้ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจช่วยให้หัวใจมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น โดยอาหารลดคอเลสเตอรอลมีด้วยกันหลายชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่ว ปลาไขมันสูง อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็อาจมีส่วนในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายของ และอาจทำให้สุขภาพแข็งแรงได้ด้วย อาหารลดคอเลสเตอรอล สำหรับอาหารลดคอเลสเตอรอล อาจมีดังนี้ ข้าวโอ๊ต โดยเฉลี่ยแล้ว ควรได้รับเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ 5-10 กรัม/วัน ซึ่งการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือซีเรียลที่ทำจากข้าวโอ๊ตอาจได้รับไฟเบอร์แบบละลายน้ำประมาณ 2 กรัม/วัน หากต้องการเส้นใยอาหารเพิ่ม อาจใส่สตรอว์เบอร์รี่ หรือกล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปด้วย ดังนั้น การได้รับเส้นใยอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน อาจช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้ ถั่ว ถั่วและพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วเลนทิล ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ การรับประทานถั่วและพืชตระกูลถั่วอาจทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น เนื่องจากร่างกายจะใช้เวลานานในการย่อยถั่วเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่น รวมถึงยังอาจช่วยลดไขมันไม่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม อาจช่วยลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) ได้ด้วย ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล เป็นปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น โดยการทำให้ระดับไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน […]


คอเลสเตอรอล

น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ขึ้นได้หรือไม่

น้ำตาล อาจทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้ เนื่องจากการรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และอาการทางหัวใจอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรระมัดระวังการบริโภคน้ำตาล และการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้รับประทานน้ำตาลมากเกินไปจนทำให้คอเลสเตอรอลสูง ปริมาณ น้ำตาล ที่ควรได้รับต่อวัน น้ำตาลที่อยู่ในอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารบรรจุกระป๋อง ขนม และเครื่องดื่มต่าง ๆ อาจเป็นน้ำตาล หรือสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ปะปนอยู่ ซึ่งทางสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับการรับประทานน้ำตาล โดยผู้ชายควรรับแคลอรี่จากน้ำตาล 150 แคลอรี่ หรือประมาณ 9 ช้อนชา ส่วนผู้หญิงควรได้รับแคลอรี่จากน้ำตาล 100 แคลอรี่ หรือประมาณ 6 ช้อนชา ดังนั้น ก่อนการเลือกซื้ออาหาร หรือนำน้ำตาลมาปรุงอาหาร ควรเช็กปริมาณน้ำตาลให้พอดีกับความต้องการของร่างกายที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อป้องกันการทำลายสุขภาพตนเองโดยไม่รู้ตัว น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้อย่างไร การรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายกับระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และไตรกลีเซอไรด์ อาจมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากการรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก อาจทำให้ระดับของไขมันชนิดดีในร่างกายลดต่ำลง และระดับไตรกลีไซอไรด์สูงขึ้น ซึ่งการมีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และมีคอเลสเตอรอลชนิดดีต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้คอเลสเตอรอลสูง และนำไปสู่ภาวะการเกิดโรคอย่างโรคหัวใจ และอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เคล็ดลับป้องกันได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป การเรียนรู้วิธีในการแยกแยะน้ำตาลถือเป็นสิ่งที่สำคัญ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม