คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล คือสารที่มีลักษณะคล้ายไปไขมัน พบได้ภายในเลือด ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอลเพื่อช่วยรักษาเซลล์ให้แข็งแรง แต่หากมีมากเกินไป คอเลสเตอรอลก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

คอเลสเตอรอล

ยาลดไขมันในเลือด และผลข้างเคียง

ยาลดไขมันในเลือด คืออีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดระดับไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด นอกเหนือจากการควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่การใช้ยาลดไขมันในเลือดก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของยาแต่ละชนิดให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ยาลดไขมันในเลือดใช้เพื่ออะไร เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพันธุกรรม ก็อาจทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้อาจเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตับ ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด แล้วอาจทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ได้ยาก นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว การลดระดับไขมันในเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงการใช้ยาลดไขมันในเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดสะสม และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันในเลือดก็มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อหาวิธีลดไขมันในเลือดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน ยาลดไขมันในเลือด ที่แพทย์นิยมเลือกใช้ ยาลดไขมันมีอยู่หลายประเภท ซึ่งอาจมีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มยาสแตติน(Statin) เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด เพื่อช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ และอาจช่วยเพิ่มระดับของไขมันดีในร่างกายได้ ยาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาสแตติน ได้แก่ อะทอร์วาสแททิน (Atorvastatin) ฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) โลวาสแตติน (Lovastatin) ซิมวาสแตติน (Simvastatin) พราวาสแตติน (Pravastatin) โรซูวาสแตติน (Rosuvastatin) พิทาวาสแตติน (Pitavastatin) ผลข้างเคียง : กลุ่มยาสแตตินอาจส่งผลให้ตับและลำไส้ได้รับความเสียหาย กล้ามเนื้ออักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสูญเสียความจำและสับสนเล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย และจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มสแตตินอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น […]

สำรวจ คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการ ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล

ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว (LDL cholesterol) และระดับไตรกลีเซอไรด์ พร้อมกับอาจช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันดี (HDL cholesterol) ซึ่งอาจช่วยทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [embed-health-tool-heart-rate] ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล ควรออกแบบไหน งานวิจัยแนะนำว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นแผนการออกกำลังกายที่ดีที่สุด สำหรับใครก็ตามที่ปรารถนาจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ การศึกษาวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน ในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 2012 เผยว่า การออกกำลังกายทั้งสองประเภทนี้ควบคู่กัน สามารถช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมัน และทำให้สุขภาพหัวใจและปอดแข็งแรงขึ้นได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพียงอย่างเดียว การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านสำหรับสุขภาพหัวใจ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยอาศัยเครื่องออกกำลังกาย ตุ้มน้ำหนัก ยางยืด หรือใช้น้ำหนักตัวเอง การออกกำลังกายรูปแบบนี้ต้องใช้พลังงานสูง จึงช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น แม้จะหยุดพักหรือหยุดออกกำลังกายแล้วก็ตาม ควรออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ ในการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ไม่ควรเน้นที่การเพิ่มน้ำหนักหรือแรงต้านให้มากเข้าไว้ แต่ควรเน้นทำซ้ำบ่อยๆ ควรแบ่งการออกกำลังกายเป็นเซ็ต หากเป็นมือใหม่ อาจเริ่มเข้าคลาสหรือมีเทรนเนอร์ส่วนตัวแนะนำ เพื่อจะได้เรียนรู้ท่าทางและเทคนิคที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ และได้รับประโยชน์สูงสุด ควรออกกำลังกายลดคอเลสเตรอลนานแค่ไหน ตามข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ […]


คอเลสเตอรอล

ไขมันดี คอเลสเตอรอล HDL สำคัญขนาดไหน และเราจะเพิ่มมันได้ยังไง

ระดับคอเลสเตอรอลของคุณ เป็นมาตรวัดสำคัญสำหรับสุขภาพหัวใจ โดยคอเลสเตอรอล เอชแอลดี (HDL)หรือ “ไขมันดี” ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลในรูปอื่นออกจากกระแสโลหิต ซึ่งถ้าร่างกายมี ไขมันดี คอเลสเตอรอล HDL สูง ก็อาจหมายความว่า คุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยลง ไขมันทำไมถึง “ดี” ทำไมถึง “เลว” คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่พบในเซลล์ทั้งหมดของเรา และมีประโยชน์หลายอย่าง ร่วมทั้งการช่วยสร้างเซลล์ของเราด้วย มันถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือดของเรา ไปจับตัวกับโปรตีนที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein)  โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) เมื่อสะสมมากขึ้นในผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบลง และบางทีก็เกิดเป็นลิ่มเลือด ในพื้นที่ของหลอดเลือดที่แคบลงนั้น ทำให้เกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก) นี่จึงทำให้เราเรียกคอเลสเตอรอลชนิดนี้ว่า ไขมัน “เลว” ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไลโปโปรตีนที่เรียกกันว่า “ไขมันดี” เนื่องจาก HDL จะจับตัวกับคอเลสเตอรอลส่วนเกินแล้วพาไปสู่ตับเพื่อย่อยสลาย แล้วก็กำจัดมันออกไปจากร่างกายของเรา ไขมันดี แค่ไหนถึงจะถือว่าดี ระดับคอเลสเตอรอลวัดด้วยหน่วยมิลลิแกรม (มก.) ต่อเดซิลิตร (dL) ของเลือด ซึ่งในเรื่องของไขมันดี ตัวเลขยิ่งสูงจะถือว่ายิ่งดี ผู้ชาย ไขมันดีที่น้อยกว่า40 มก/เดซิลิตร จะถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ […]


คอเลสเตอรอล

ไขมันดี (HDL) มีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ไขมันดี (HDL) หรือ ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง หรือ คอเลสเตอรอลชนิดดี ซึ่งการที่มีระดับไขมันดียิ่งสูงนั้นยิ่งดี เพราะไขมันดีช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดอื่นที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะหากมีระดับไขมันเลวสูง และไขมันดีอยู่ในระดับต่ำนั้น ทำให้แนวโน้มของการเกิดอาการหัวใจวายสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักฐานทางการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับไขมันดีสูงนั้นอาจเกิดผลเสียต่อบุคคลบางกลุ่มได้เช่นกัน ระดับไขมันดีที่แนะนำ ระดับไขมันดี ที่อยู่ในเลือดที่แนะนำ ควรอยู่ที่ 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือสูงกว่า หากปริมาณไขมันดีต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดหากระดับของ ไขมันดี สูงเกินไป งานวิจัยบางชิ้นพบว่า คนที่มีระดับของ ซี-รีแอคทีพโปรตีน (C-reactive proteins) สูง หลังจากประสบภาวะหัวใจวาย ร่างกายอาจจัดการกับไขมันดีได้ดีนัก เนื่องจากตับซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตซี-รีแอคทีพโปรตีน เมื่ออาการอักเสบในร่างกายอยู่ในระดับสูง แทนที่ระดับของไขมันดีที่สูงจะช่วยป้องกันการเกิดผลเสียต่อหัวใจ แต่กลับทำให้ความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นโรคหัวใจสูงขึ้น งานวิจัยยังพบว่า ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจยิ่งสูงขึ้น ในกลุ่มผู้ที่มีระดับไขมันดีและซี-รีแอคทีพโปรตีนสูง อย่างไรก็ตาม การจะระบุถึงผลเสียที่ไขมันดีเป็นสาเหตุและยังต้องการการศึกษาวิจัยมากกว่านี้ อาการและการใช้ยา ไขมันดีและอาการบางอย่าง เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคติดเชื้อต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในบางครั้ง ปริมาณไขมันดีสามารถเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากยาที่ควบคุมปริมาณของคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เพื่อลดปริมาณคลอเลสเตอรอล ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ มีความสัมพันธ์บางอย่าง ระหว่างการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันดีและประเภทของยาเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มยาลดไขมัน จำพวกไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid […]


คอเลสเตอรอล

รู้หรือไม่ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ในร่างกายได้

ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่ผิดปกติ มักมีความกังวลเรื่องอาหารการกิน ทำให้ต้องกินแต่อาหารเดิม ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วมักมีส่วนผสมของข้าวโอ๊ต ถั่ว ถั่วเหลือง และสเตอรอลจากพืช (Plant Sterols) ซึ่งอาจทำให้เกิดความเบื่อ แต่ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ เหมาะกับคนที่ระดับคอเรสเตอรอลอยู่ในระดับที่ไม่ปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปรู้จักกับ กีวี่ ผลไม้รสชาติเปรี้ยวอมหวาน เนื้อสีเขียว ที่มีดีมากกว่าความอร่อย เพราะ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี 2009 ระบุว่าการกินกีวี่ 2 ผลต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10 สัปดาห์ สามารถลดระดับไขมัน LDL (ไขมันไม่ดี) และเพิ่มระดับระดับไขมัน HDL (ไขมันดี) ในกลุ่มผู้ใหญ่ชาวไต้หวันที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ นักวิจัยสรุปว่า การรับประทาน กีวี่ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมม์ในวารสาร British Journal of Nutrition […]


คอเลสเตอรอล

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล

ระดับคอเลสเตอรอลสูง นำไปสู่โรคร้ายแรงหลายอย่าง และอาจไม่แสดงอาการอะไร ดังนั้น การตรวจคอเลสเตอรอล อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ หากอยากให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่มากับ คอเลสเตอรอลที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-heart-rate] การตรวจคอเลสเตอรอล คืออะไร การตรวจคอเลสเตอรอลถูกนำมาใช้ เพื่อวัดคอเลสเตอรอลโดยรวม ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งเป็นโปรตีนดี ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ซึ่งเป็นโปรตีนไม่ดี และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ร่างกายต้องการคอเลสเตอรอล เพื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลมากเกินไป อาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ ที่ทำให้เส้นเลือดถูกบีบให้เล็กลงและขัดขวางการไหลเวียนโลหิต หัวใจวาย โดยทั่วไปแล้วผู้ชายตั้งแต่วัย 35 ปีขึ้นไป และผู้หญิงตั้งแต่วัย 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ แต่ในบางกรณี ผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นก็อาจต้องเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเช่นกัน การตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น เหตุผลอีกหนึ่งข้อที่ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล ก็เพราะระดับคอเลสเตอรอลที่สูงจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา คนส่วนใหญ่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงไม่ค่อยรู้ตัว จนทำให้คอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานานหรือเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางการแพทย์ขั้นรุนแรงอื่นๆการเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เตรียมตัวสำหรับการตรวจคอเลสเตอรอล ในบางกรณี อาจถูกขอให้อดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล […]


คอเลสเตอรอล

วิธีลดคอเลสเตอรอล มีอะไรบ้าง

ระดับคอเลสเตอรอลสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ วิธีลดคอเลสเตอรอล เพื่อช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น วิธีลดคอเลสเตอรอล ง่าย ๆ ด้วยตนเอง คอเลสเตอรอลถูกผลิตขึ้นในตับเกือบ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม อาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวันก็อาจมีส่วนที่ส่งผลกระทบกับระดับคอเลสเตอรอลได้ ดังนั้น การนำวิธีเหล่านี้ ไปปฏิบัติตาม อาจสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ เลือกบริโภคไขมันที่มีประโยชน์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อไก่ที่มีหนัง เนื้อสัตว์แปรรูป เนย ชีส รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมชนิดไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว (LDL) ควรเปลี่ยนมาบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่อยู่ในอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า อะโวคาโด ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท ถั่วลิสง เต้าหู้ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพิ่มขึ้นและทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง มาดูสิว่าเกี่ยวข้องกันยังไงบ้าง

คอเลสเตอรอลเป็นสารที่พบในเลือดและเซลล์ของมนุษย์ หากปล่อยให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่าระดับปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษาให้ทันท่วงที อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงส่งผลต่อทุกเพศทุกวัย และหากคุณเป็นผู้หญิง ลองมาดูสิว่า คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง เกี่ยวข้องกันอย่างไร คอเลสเตอรอล หรือไขมัน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงได้อย่างไรบ้าง คุณประโยชน์ของ คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง ร่างกายของเราใช้คอเลสเตอรอลในการสร้างปลอกประสาทที่หุ้มล้อมรอบเส้นประสาท อีกทั้งคอเลสเตอรอลยังช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดี และการผลิตน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลยังจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนเพศ อย่างเอสโตรเจน โปรเจสเทอโรน และเทสโทสเทอโรน หากระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ จะทำให้เซลล์สร้างกระดูกได้น้อยลง ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง และเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงสำหรับระดับคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย คอเลสเตอรอลไม่สามารถละลายน้ำได้และจะเกาะติดกับโปรตีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน เมื่อส่งผ่านไปยังระบบไหลเวียนเลือด คอเลสเตอรอลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอล LDL (ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) จัดเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว ที่จะไปเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น และตีบตัน คอเลสเตอรอล HDL (ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง) จัดเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันดี ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอล LDL เกาะตามผนังหลอดเลือด […]


คอเลสเตอรอล

ไนอาซิน ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีได้หรือเปล่า

สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง หากลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นแล้ว ยังไม่สามารถช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมได้ ก็จำเป็นต้องได้รับยารักษาและควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เช่น ยาสแตติน แต่นอกเหนือจากยาชนิดนี้แล้ว ไนอาซิน (Niacin) ก็เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ LDL หรือคอเลสเตอรอลไม่ดีได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกกับยาชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน ไนอาซิน (Niacin) คืออะไร ไนอาซีน (Niacin) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าวิตามินบี 3  โดยส่วนใหญ่จะถูกผลิตในรูบแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แต่ก็ถือว่าเป็นยาชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมให้ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และผิวหนังแข็งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ การใช้ยาไนอาซินจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยาไนอาซินที่ขายตามร้านขายยา อาจมีส่วนผสม สูตรยา ผลข้างเคียง และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนซื้อยาไนอาซินจากร้านขายยา และรับประทาน ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชให้ระเอียด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ ยาไนอาซิน มีประโยชน์อย่างไร จุดประสงค์หลักของการรักษาคอเลสเตอรอล คือ การลดระดับ LDL ซึ่งหากพิจารณาจากจุดนี้ ถือว่ายาสแตตินให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่หากพิจารณาเรื่องการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ยาไนอาซินอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยาไนอาซินยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย สรุปคือ ยาไนอาซินอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีระดับ HDL […]


คอเลสเตอรอล

สแตติน (Statins) ยาลดไขมัน กับผลข้างเคียงที่คุณควรรู้

ยาลดไขมันสแตติน (Statins) เป็นที่รู้จักในเรื่องความสามารถในการลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถ้าร่างกายมีระดับไขมันไม่ดีหรือมี LDL สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตก อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันสแตตินไม่ใช่ยาสำหรับทุกคน เนื่องจากอาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ แต่จะก่อให้เกิดอาการอะไรบ้างนั้น ตอตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอที่นำมาฝากกันได้เลยค่ะ ยาลดไขมันสแตติน ทำงานอย่างไร เมื่อบริโภค ยาลดไขมันสแตติน เข้าไป ตัวยานั้นจะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล LDL ได้ 35% ถึง 50% หรือมากกว่า นับว่าอาจเป็นที่น่าแปลกใจสำหรับหลายคน แต่คอเลสเตอรอลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือดถูกผลิตมาจากตับ ไม่ได้มาจากอาหารที่เราบริโภค และจำนวนคอเลสเตอรอลที่ตับสร้างขึ้นถูกกำหนดโดยเอนไซม์ที่เรียกว่า HMG-CoA reductase ทั้งนี้ยาลดไขมันสแตตินจึงทำงานโดยการควบคุม HMG-CoA reductase เอาไว้ อีกทั้งยาลดไขมันสแตติน สามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพของพลาค (Plaque) หรือคราบที่อาจก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดของคุณ ดังนั้น ยาลดไขมันสแตตินจึงอาจลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ สแตติน ยาแทบจะทุกชนิดมีผลข้างเคียงด้วยกันทั้งสิ้น ในกรณีของ ยาลดไขมันสแตติน ก็คงจะไม่พ้นเช่นเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของตัวยาชนิดนี้มักทำให้คุณมี อาการปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ […]


คอเลสเตอรอล

ระวัง! เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มมากไป เสี่ยง คอเลสเตอรอล สูง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ คอเลสเตอรอล มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรจำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับคอเลสเตอรอล เบียร์กับคอเลสเตอรอล ส่วนผสมหลักของเบียร์ ได้แก่ บาร์เลย์ ฮอปส์ ยีสต์ และมอลต์ ล้วนมีสารสเตอรอลจากพืช (Plant sterol) หรือที่เรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล และสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ถึงอย่างไรในเบียร์ก็มีสารสเตอรอลนี้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การดื่มเบียร์จึงไม่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถึงแม้เบียร์จะเป็นเครื่องดื่มไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ก็มีคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ที่สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ หากมีไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูง ควรดื่มเบียร์ให้น้อยลง หรืองดดื่มเบียร์ไปเลย ที่สำคัญไม่ควรดื่มเบียร์ในปริมาณมาก เพื่อหวังผลให้สารสเตอรอลจากพืชในเบียร์มาช่วยลดคอเลสเตอรอลให้ เพราะอาจได้ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาแทน เหล้ากับคอเลสเตอรอล เหล้าประเภทวิสกี้ วอดก้า และจิน ไม่มีคอเลสเตอรอล อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มหรือเหล้าที่มีการปรุงแต่งขึ้น อย่างวิสกี้รสหวาน ค็อกเทล หรือเหล้าผสม อาจมีการปรุงแต่งน้ำตาลเพิ่มลงไป และน้ำตาลเหล่านั้น สามารถส่งผลกระทบต่อระดับ คอเลสเตอรอล […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม