ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
คำจำกัดความ
ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) คืออะไร
ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
พบได้บ่อยเพียงใด
ส่วนใหญ่ภาวะบีบรัดหัวใจจะพบในผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ การผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น
อาการ
อาการของภาวะบีบรัดหัวใจ
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยภาวะบีบรัดหัวใจ มีอาการดังต่อไปนี้
- มีความวิตกกังวล และความกระสับกระส่าย
- มีอาการอ่อนแรง
- อาการเจ็บบริเวณหน้าอก ส่งผลไปยังคอ ไหล่หรือหลัง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจติดขัด
- หายใจเร็ว
- รู้สึกไม่สบายตัว แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า
- เวียนศีรษะ
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ
สาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้
- การได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์หรืออุตสาหกรรม
- การผิดพลาดทางการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ
- หลอดเลือดโป่งพองแตก
- ภาวะไตวาย
- การติดเชื้อที่มีผลต่อหัวใจ
- โรคลูปัส
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- มะเร็งที่แพร่ลามไปยังถุงหุ้มหัวใจ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะบีบรัดหัวใจ
ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography : CT SCAN) ตรวจหาความผิดปกติการสะสมของเหลวบริเวณหน้าอก
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) เมื่อทดสอบการประเมินการเต้นของหัวใจ
- การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ตรวจดูระบบหมุนเวียนเลือดในหัวใจ
การรักษาภาวะบีบรัดหัวใจ
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการและประวัติผู้ป่วย การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาแรงกดดันบริเวณหัวใจ โดยแพทย์จะเจาะระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เพื่อระบายเลือดหรือเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกหากผู้ป่วยมีบาดแผลทะลุถึงภายในทรวงอก
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะบีบรัดหัวใจ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะบีบรัดหัวใจ มีดังนี้
ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะบีบรัดหัวใจได้ด้วยการปรับวิถีชีวิตตนเอง เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
[embed-health-tool-heart-rate]