ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะ ความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ก็มักพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง
ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายให้มากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็มักจะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น และโรคความดันโลหิตสูงนั้น อาจสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือที่มักเรียกกันว่า ภาวะหัวใจวาย (heart attack) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) ได้
ค่าระดับความดันโลหิตนั้นมีสองตัวเลข คือ ตัวเลขด้านบนและตัวเลขด้านล่าง โดยเลขตัวบนหมายถึง ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว (systolic pressure) ส่วนเลขตัวล่างคือ ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจ (diastolic pressure) ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นจะมีค่าความดันโลหิตตัวบนอยู่ระหว่าง 120-139 มม.ปรอท หรือมีค่าความดันโลหิตตัวล่างอยู่ที่ 80-89 มม.ปรอท
จากค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนพบหมอตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มักมีภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณอาจคิดว่าโรคความดันโลหิตสูงมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะคนทุกวัยสามารถมีภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
ทั้งภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น และโรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ ฉะนั้น วิธีเดียวที่จะบ่งชี้ว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น ก็คือ การติดตามอ่านค่าความดันโลหิตของคุณเอง ด้วยการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบหมอ หรือคุณสามารถวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา
ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยทุก ๆ สองปี คุณอาจจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตถี่ขึ้น หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น หรือมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจัยใด ๆ ก็ตามที่เพิ่มแรงดันให้กับผนังหลอดเลือดแดงล้วนสามารถนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นได้ทั้งสิ้น ในบางครั้งโรคแฝงต่าง ๆ ก็สามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน โรคที่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น หรือโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้
ยารักษาโรคบางชนิด ทั้งที่เป็นยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวด รวมถึงยาเสพติด เช่น โคเคน แอมเฟตามีน อาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราวได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดค่าความดันโลหิต โดยคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญจะใช้ปลอกแขนที่พองได้สวมที่ต้นแขนของคุณ และวัดค่าความดันโลหิต โดยใช้เครื่องวัดความดัน
การอ่านค่าความดันโลหิตที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท) นั้น มีสองตัวเลข เลขตัวบนหมายถึง ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว (systolic pressure) เลขตัวล่างคือ ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจ (diastolic pressure)
ค่าความดันโลหิตตามปกติคือ ต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท โดยสามารถจัดแบ่งเกณฑ์การวัดค่าความดันได้ดังนี้
มีค่าความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัวอยู่ระหว่าง 120-139 มม.ปรอท หรือมีค่าความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 80-89 มม.ปรอท
มีค่าความดันที่หลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจบีบตัวอยู่ระหว่าง 140-159 มม.ปรอท หรือมีค่าความดันที่หลอดเลือดแดง ในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 90-99 มม.ปรอท
มีค่าความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัวอยู่ที่ 160 มม.ปรอท หรือมากกว่านั้น หรือมีค่าความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 100 มม.ปรอท หรือมากกว่านั้น
เนื่องจากระดับความดันโลหิตค่อนข้างขึ้น ๆ ลง ๆ การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น จึงขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยของการอ่านค่าความดันโลหิตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป โดยใช้วิธีวัดแบบเดียวกันในเวลาต่างกัน ปกติแล้วควรวัดค่าความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างเพื่อดูว่ามีความแตกต่างหรือไม่ คุณหมออาจขอให้คุณจดบันทึกค่าระดับความดันโลหิตของคุณที่ตรวจวัดที่บ้าน และที่ทำงาน เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมด้วย
ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นถือเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นอยู่กับค่าความดันโลหิตของคุณ และปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจ คุณอาจจำเป็นต้องได่รับยาบางชนิดที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพคุณ พร้อมปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่างตามคำแนะนำในลำดับถัดไป เพื่อให้สามารถควบคุมภาวะนี้ได้ดีขึ้น
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย