backup og meta

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการผ่าตัดเปิดหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา วิธีการคือการนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกายมา เพื่อเลี่ยงหรืออ้อมหลอดเลือดจุดที่อุดตัน ทำให้เลือดและออกซิเจนสามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้อีกครั้ง แต่การผ่ตัดนี้จะมีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนวันนี้กันได้เลยค่ะ

เราจำเป็นต้องทำ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือไม่

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ นั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย และปัญหาอื่นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะต้องรับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ มีผู้ป่วยหลายคนที่สามารถควบคุมโรคได้ จากการเลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยา รับการผ่าตัดขยายเส้นเลือด หรือวิธีการรักษาอื่น ๆ นอกจากนี้ คุณและแพทย์สามารถตัดสินใจร่วมกันได้ว่าจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมอย่างไรหลังจากวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสีย รวมถึงภาวะสุขภาพร่างกายของคุณ

ข้อดีของ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจสามารถรักษาอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (เจ็บหน้าอก) โดยที่การบรรเทาอาการนั้นมักจะมีระยะเวลานานถึง 10 ถึง 15 ปี หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะต้องเพิ่มทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นหากมีอาการอุดตันอีกครั้ง ในกรณีที่คุณเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจระดับรุนแรง เช่น มีหลอดเลือดอุดตันหลายจุด การผ่าตัดบายพาสหัวใจจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยาวนานขึ้นอีกด้วยค่ะ

ข้อเสียของการผ่าตัดบายพาสหัวใจ

ในช่วงการผ่าตัดบายพาสหัวใจยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกมากมาย จากรายงานของวารสารมหาวิทยาลัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งสหรัฐอเมริกัน ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดอาจจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองระหว่างการผ่าตัด และอีก 3 เปอร์เซ็นต์อาจจะเสียสติได้ นอกจากนี้ยังพบความเสียหายของไตหลังจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจล้มเหลวอีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนนี้มักจะพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจแบบไม่เสถียร ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และผู้ป่วยที่เคยรับการผ่าตัดบายพาสหัวใจมาก่อน

ทางเลือกอื่นในการรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ

แม้ว่าการผ่าตัดบายพาสหัวใจจะสามารถช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่วิธีการนี้ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน มีผู้ป่วยหลายรายที่สามารถควบคุมโรคได้โดยใช้วิธีการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดขยายเส้นเลือดโดยใช้บอลลูน (angioplasty) นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการทำบายพาสหัวใจ โดยแพทย์จะใช้ สายสวน สอดเข้าในหลอดเลือดแดง เมื่อสายสวนนี้ไปตรงถึงจุดที่ต้องการรักษา บอลลูนก็จะพองออกเพื่อขยายหลอดเลือดแดง แล้วจึงนำบอลลูนออก แต่ในบางครั้งแพทย์อาจจะทิ้งโครงโลหะขนาดเล็กที่เรียกว่า สเตนท์ (Stent) เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันอีกครั้ง
  • การใช้ยาลดความดันโลหิตและยาลดคอเลสเตอรอล หนึ่งในการรักษา และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่หากคุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง ยาในกลุ่มสแตติน (statin) หรือยาลดคอเลสเตอรอลอื่น ๆ จะมีผลในการชะลอการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะแนะนะให้คุณรับประทานยาแอสไพรินทุกวันเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดลงจากระดับที่เป็นอันตราย ป้องกันการอุดตันของเลือด ยาเหล่านี้จะช่วยป้องกันหัวใจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ช่วยให้หลีกเลี่ยงการผ่าตัดหัวใจได้หรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนนั้นเชื่อว่าปัญหาเกี่ยวกับหัวใจสามารถป้องกันได้โดยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่าง เช่น โปรแกรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ออกแบบโดย Dr.Dean Ornish เป็นวิธีการผสมผสานระหว่างการลดความเครียด การออกกำลังกายเป็นประจำ และการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ วิธีการนี้แสดงให้เห็นถึงผลการบรรเทาอาการปวดของโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างรวดเร็วลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากกว่าครึ่ง ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีคราบจุลินทรย์ในหลอดเลือดอุดตันลดลงอีกด้วย

สำหรับการรักษาโรคหัวใจ ผู้ป่วยควรลดหรือหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว (ที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ไข่ และเนื้อสัตว์) อีกทั้งควรจะหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ที่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอล ขณะเดียวกันก็ยังอาจมีไขมันบางชนิดที่สร้างประโยชน์สำหรับหัวใจของคุณ จากงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ไขมันดี เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบได้ในปลาที่มีไขมันมาก อย่างปลาแซลมอน อาจสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล พร้อมช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคหัวใจได้ โดยการรับประทานปลาเพียงเล็กน้อย (หนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์) ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 36 เปอร์เซ็นต์

การเลือกการรักษาที่เหมาะสมสำหรับโรคของคุณนั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก โปรดจำไว้ว่าการผ่าตัดบายพาสไม่ใช่วิธีรักษาโรค การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นคุณจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโรค และการควบคุมการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดของคุณให้ดี หากคุณมีข้อสงสัย หรือกังวล สามารถสอบถาม หรือขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ค่ะ

 

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Coronary Artery Bypass Surgery? www.webmd.com/heart-disease/treating-coronary-artery-bypass#1 . Accessed July 30, 2019.

Coronary bypass surgery https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/coronary-bypass-surgery/about/pac-20384589 . Accessed July 30, 2019.

Heart Bypass Surgery https://www.healthline.com/health/heart-bypass-surgery . Accessed July 30, 2019.

Coronary Artery Bypass Graft Surgery https://www.hopkinsmedicine.org/health/treatment-tests-and-therapies/coronary-artery-bypass-graft-surgery . Accessed July 30, 2019.

Bypass Surgery Shows Advantage https://www.nih.gov/news-events/nih-research-matters/bypass-surgery-shows-advantage . Accessed July 30, 2019.

 

 

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/04/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา