backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/09/2021

หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ รวมถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่ทำการรักษา อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และอาจทำให้หัวใจเสื่อมโทรมลงได้

หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ แต่โดยปกติแล้วจะหมายถึงผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที

อาการหัวใจเต้นแรงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การออกกำลังกาย หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่ในบางครั้ง อาการหัวใจเต้นแรงก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอื่น รวมไปถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกเหนือจากอาการหัวใจเต้นแรงแล้ว ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็อาจมีอาการอื่น ๆ แสดงให้เห็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยอาการที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

  • หายใจไม่ออก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หน้ามืดเกือบจะเป็นลม หรือเป็นลม
  • เจ็บหน้าอก
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • อาการอ่อนเพลีย
  • อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักพบในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการที่เข้าข่ายของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม

    สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ  

    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้

    • การดื่มแอลกอฮอล์
    • โรคเบาหวาน
    • ดื่มกาแฟมากเกินไป
    • โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ
    • สูบบุหรี่ 
    • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารคาเฟอีนหรือสารเสพติด
    • การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรบางชนิด
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    • ความเครียด
    • ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ

    การลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    การลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้โดยปฏิบัติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • จัดการกับบความเครียดให้ดี พยายามหากิจกรรมผ่อนคลายอารมณ์ทำ
    • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน 
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่ได้รับการจ่ายยาโดยแพทย์ เพราะยาบางชนิดอาจไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว
    • หมายเหตุ

      Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


      เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/09/2021

      ad iconโฆษณา

      คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

      ad iconโฆษณา
      ad iconโฆษณา