โรคลิ้นหัวใจ
- เหนื่อยล้า
- หายใจถี่
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เจ็บหน้าอก
- เป็นลม หมดสติ
อาการของโรคหัวใจที่ควรพบคุณหมอ
ควรพบคุณหมอทันทีที่สังเกตว่ามีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ และเป็นลมบ่อยครั้ง เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวาย และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
สาเหตุของโรคหัวใจ
สาเหตุของโรคหัวใจอาจแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจที่เกิดขึ้น ดังนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจมีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลในปริมาณมาก และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด และส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอาจทำให้หัวใจขาดเลือดได้
โรคหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ ความเครียด ยาบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
หัวใจพิการแต่กำเนิด มักเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การรับประทานยากลุ่มสแตติน (Statin) การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการหดและขยายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่
- หัวใจติดเชื้อ
- ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วอย่างต่อเนื่อง
- ปัญหาลิ้นหัวใจ
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- โรคโควิด-19
- ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง
- ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- การฉายรังสี และเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เยื่อบุหัวใจอักเสบ ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ และโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติ (Aortic Valvular Stenosis)
วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ อาจทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ขนมหวาน น้ำอัดลม
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพราะหากมีดัชนีมวลกายเกินกว่า 25 ขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เดินเร็ว วิ่ง กระโดดเชือก เต้น เพราะการออกกำลังกายอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- หยุดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีสารพิษที่อาจทำลายหลอดเลือดหัวใจและทำให้หลอดเลือดตีบตัน
- ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มระดับความดันโลหิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรคและอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย