
อาการที่มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือ ถ่ายเป็นเลือด ส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่า เป็นเลือดที่ไหลมาจากลำไส้ส่วนล่างหรือไส้ตรง
คำจำกัดความ
ถ่ายเป็นเลือดคืออะไร
ถ่ายเป็นเลือด (Rectal bleeding) หรือเลือดออกทางทวารหนัก หมายถึงเลือดใดๆ ก็ตามที่ไหลผ่านทวารหนัก แต่โดยปกติแล้วภาวะถ่ายเป็นเลือดมักสันนิษฐานว่า เป็นเลือดที่ไหลจากลำไส้ส่วนล่างหรือไส้ตรง (rectum) ไส้ตรงเป็นช่วงปลายที่มีความยาวสองถึงสามนิ้วของลำไส้ใหญ่ของคุณ
ภาวะถ่ายเป็นเลือดอาจอยู่ในรูปของเลือด ที่ปนอยู่ในอุจจาระ ในกระดาษชำระ หรือในโถส้วม เลือดที่เกิดจากภาวะถ่ายเป็นเลือดมักเป็นสีแดงสด แต่บางครั้งก็เป็นสีแดงอมน้ำตาล
ถ่ายเป็นเลือดพบได้บ่อยเพียงใด
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการถ่ายเป็นเลือดมีอะไรบ้าง
อาการที่ชัดเจนที่สุดของภาวะถ่ายเป็นเลือด คือ มีเลือดสีแดงติดมากับกระดาษชำระ หรือเลือดที่มองเห็นได้หรืออุจจาระมีเลือดปนในโถส้วม อย่างไรก็ดี จำเป็นที่ต้องสังเกตสีของเลือด (และสีอุจจาระ) เนื่องจากสามารถบ่งชี้สิ่งต่างๆ ได้
- เลือดสีแดงสด บ่งชี้อาการเลือดออกในบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ลำไส้หรือไส้ตรง
- เลือดสีแดงคล้ำ หรือสีเหมือนไวน์ บ่งชี้อาการเลือดออกในบริเวณลำไส้เล็ก หรือลำไส้ส่วนต้น
- อุจจาระสีดำและคล้ำ บ่งชี้อาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบน
อาการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะถ่ายเป็นเลือด ได้แก่
- ความงุนงง
- หน้ามืด
- เวียนศีรษะ
- ปวดบริเวณลำไส้ตรง (Rectal pain)
- ปวดในช่องท้องหรือเป็นตะคริว (cramping)
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
คุณควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้
- ลูกของคุณมีเลือดปนในอุจจาระ
- คุณมีเลือดปนในอุจจาระเป็นเวลา 3 สัปดาห์
- อุจจาระของคุณมีลักษณะนิ่ม เบาบาง หรือยาวกว่าปกติ เป็นเวลา 3 สัปดาห์
- มีอาการปวดมากบริเวณบั้นท้าย
- มีอาการปวดหรือมีก้อนในช่องท้อง
- รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ให้นัดหมายแพทย์โดยเร่งด่วนหากว่า
- อุจจาระมีสีดำหรือแดงคล้ำ
- มีอาการท้องเสียเป็นเลือด โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
สาเหตุ
ถ่ายเป็นเลือดเกิดจากอะไร
ภาวะถ่ายเป็นเลือดอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
- แผลที่ทวารหนัก (Anal fissure)
- ท้องผูกเรื้อรัง (Chronic constipation)
- อุจจาระแข็ง (Hard stools)
- ริดสีดวง (Hemorrhoids)
สาเหตุที่พบได้น้อยลง ได้แก่
- มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
- หลอดเลือดผนังลำไส้ใหญ่ขยายตัว (Angiodysplasia)
- มะเร็งลำไส้ (Colon cancer)
- ติ่งเนื้อในลำไส้ (Colon polyps)
- โรคโครห์น (Crohn’s disease)
- ท้องเสีย (Diarrhea) ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก
- โรคกระเปาะของลำไส้ใหญ่ (Diverticulosis) ถุงนูนที่ก่อตัวขึ้นที่ผนังลำไส้
- ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Ischemic colitis) ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการขาดเลือด
- ไส้ตรงอักเสบ (Proctitis)
- ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ (Pseudomembranous colitis)
- การฉายแสง (Radiation therapy)
- มะเร็งไส้ตรง (Rectal cancer)
- แผลที่ผนังไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome)
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
ปัจจัยเสี่ยง
อะไรเพิ่มความเสี่ยงสำหรับถ่ายเป็นเลือด
ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
วินิจฉัยถ่ายเป็นเลือดได้อย่างไร
แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของอาการของคุณ โดยอาจดำเนินการต่อไปนี้
- ตรวจบั้นท้าย (ไส้ตรง) ด้วยนิ้วมือที่สวมถุงมือ
- ขอตัวอย่างอุจจาระสำหรับตรวจ
- ส่งต่อคุณให้ไปหาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจร่างกายต่อไป
รักษาถ่ายเป็นเลือดได้อย่างไร
การรักษาถ่ายเป็นเลือดขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง
คุณอาจบรรเทาอาการเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายจากริดสีดวงได้ โดยการอาบน้ำอุ่น การใช้ยาที่ซื้อมาใช้เองหรือตามแพทย์สั่ง สามารถลดอาการระคายเคืองได้เช่นกัน แพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธีที่รุนแรงมากขึ้น หากอาการปวดริดสีดวงรุนแรง หรือริดสีดวงมีขนาดใหญ่ การรักษาดังกล่าว ได้แก่ การใช้หนังยางรัดริดสีดวง (rubber band ligation) การรักษาด้วยเลเซอร์ (laser treatments) หรือการผ่าตัดริดสีดวง (surgical removal of the hemorrhoid)
เช่นเดียวกับริดสีดวง แผลที่ไส้ตรงอาจหายได้เอง การใช้ยาทำให้อุจจาระเหลว สามารถรักษาอาการท้องผูกและช่วยให้แผลหาย ภาวะติดเชื้อรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
มะเร็งลำไส้ (Colon cancers) ต้องใช้วิธีการรักษาที่มีการรุกล้ำร่างกายมากกว่า และในระยะยาว เช่น การผ่าตัด การทำคีโมบำบัด หรือการฉายแสง เพื่อกำจัดมะเร็งและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือการถ่ายเป็นเลือดมีอะไรบ้าง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะถ่ายเป็นเลือดได้
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง (หากแพทย์ไม่ได้สั่งเป็นอย่างอื่น)
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- รักษาความสะอาดบริเวณไส้ตรง
- ดื่มน้ำมากๆ
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด