backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test)

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน เป็นการใช้เครื่องมือตรวจสภาพและการทำงานของปอด เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน คืออะไร

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test) เป็นการใช้เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินการทํางานของปอด (peak flow meter หรือ home spirometer) เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน เครื่องมือนี้ช่วยให้คุณวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (ค่า Forced Expiratory Volume at 1 second หรือ FEV1) ได้

หากคุณเป็นโรคปอด เช่น หอบหืด แพทย์อาจตรวจหาอัตราการไหลของอากาศหายใจเข้าที่สูงที่สุด (ค่า peak inspiratory flow หรือ PIF) และอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด  ( ค่า peak expiratory flow หรือ PEF) เพื่อวัดปริมาณอากาศที่คุณสามารถหายใจเข้าและหายใจออก ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของปอดที่สมบูรณ์มากขึ้น

ความจำเป็นของการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 หรืออัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดที่บ้าน มีประโยชน์ดังนี้

  • เพื่อตรวจว่าปอดของผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด นั้นทำงานได้ดีเพียงใด
  • การวัดอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด จะให้ข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหอบหืดตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่ดีขึ้นได้
  • เพื่อตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานของปอดอย่างสม่ำเสมอ หากคุณต้องสัมผัสสารที่ส่งผลเสียกับปอดเป็นประจำในที่ทำงาน หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (occupational asthma)
  • เพื่อตรวจหาอาการเริ่มแรกของการเข้ากันไม่ได้ของอวัยวะ สำหรับผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายปอด

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด มีค่าต่ำที่สุดในตอนเช้าตรู่และมีค่าสูงที่สุดในตอนบ่าย หากคุณตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน ให้ตรวจในช่วงเช้าก่อนใช้ยาขยายหลอดลมใด ๆ

ผู้ที่เป็นหอบหืดไม่ต่อเนื่องหรือแบบเรื้อรังที่ไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดทุกวัน แต่หากมีอาการ การตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดเป็นบางครั้ง อาจช่วยให้จัดการกับโรคหอบหืดได้ดีขึ้น

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

ในการตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการประเมินการทํางานของปอด (Peak flow meter) ลักษณะเป็นทรงกระบอก มีปลายด้านหนึ่งไว้สำหรับทดสอบอัตราการไหลของอากาศเมื่อหายใจออก

คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือมาแนบมาพร้อมเครื่องมือในการประเมินการทํางานของปอดอย่างเคร่งครัด และควรขอให้แพทย์สาธิตวิธีการใช้เครื่องมือดังกล่าวก่อนใช้งานที่บ้าน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องมือหรือวิธีอ่านผลตรวจ ควรปรึกษาแพทย์

คุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด

ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

ก่อนเริ่มตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ให้คายหมากฝรั่งหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปากออกก่อน และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

  1. เลื่อนเข็มชี้บนเครื่องมือลงไปที่เลข 0
  2. ติดกระบอกเป่าเข้ากับเครื่องมือ
  3. ยืนหรือนั่งตัวตรง เพื่อให้สามารถหายใจเข้าได้ลึก ๆ (ควรอยู่ในท่าเดียวกันทุกครั้งที่ตรวจ)
  4. สูดหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอด และกลั้นหายใจไว้
  5. อมกระบอกเป่า พร้อมกดริมฝีปากให้แนบกับกระบอกเป่าที่สุด
  6. เป่าลมออกทางปากให้เร็วและแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ไม่จำเป็นต้องเป่านานเกิน 1 วินาที)
  7. บันทึกค่าที่ปรากฏ
  8. ทำซ้ำตั้งแต่ขึ้นตอนแรกอีก 2 ครั้ง รวมแล้วเป็น 3 ครั้ง หากไอจาม หรือมีข้อผิดพลาดระหว่างตรวจ ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก
  9. เมื่อตรวจครบ 3 ครั้งแล้ว ให้บันทึกค่าสูงสุดที่ได้ลงในสมุดบันทึกประจำวัน

หลังการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

ค่าปกติของอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของการหายใจที่มีอยู่ หากคุณพบว่ามีผลตรวจผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

ผลการตรวจ

ผลการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน

การตรวจอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด เป็นการวัดความเร็วในการหายใจออกโดยใช้แรงมากที่สุด เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินการทํางานของปอด (peak flow meter หรือ home spirometer) ที่บ้านจะช่วยวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (ค่า Forced Expiratory Volume at 1 second หรือ FEV1) เพื่อให้สามารถนำผลตรวจที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่อดูการแพร่กระจายของโรคหรือช่วยวัดการตอบสนองต่อการรักษาโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด

ค่าปกติสำหรับการสมรรถภาพปอดที่บ้าน อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการตรวจ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา