ตัวอย่างการผ่าตัดเล็ก เช่น
- การผ่าตัดต้อกระจก
- การอุดฟัน
- การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
- การเจาะชิ้นเนื้อทรวงอกเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม
- การส่องกล้องตรวจภายในข้อ
- การผ่าตัดผ่านกล้อง
- การผ่าตัดเอาหูดออก
- การผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก
การผ่าตัดเล็กส่วนใหญ่มักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ หรืออาการแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดใหญ่
ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับ การผ่าตัด
รู้จุดประสงค์ของการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายได้หรือไม่ ผ่าตัด แล้วจะทำให้อาการที่มีดีขึ้นหรือเปล่า การผ่าตัดจะช่วยให้ปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่หายขาดหรือไม่ เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบได้ว่า ระหว่างรักษาด้วยการผ่าตัดกับไม่ผ่าตัด อันไหนเป็นวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด
เข้าใจความเสี่ยงของการ ผ่าตัด
การผ่าตัดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรืออาการแทรกซ้อนตามมาได้ทั้งสิ้น แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับภาวะทางสุขภาพ ประเภทของการผ่าตัด อวัยวะส่วนที่รับการผ่าตัด เป็นต้น ไม่มีการผ่าตัดใดที่ไร้ความเสี่ยงร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อย และอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดชนิดนั้น และหากมีข้อสงสัยใด ๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ให้กระจ่าง
เตรียมตัวก่อนผ่าตัดให้ดี
การผ่าตัดแต่ละชนิด อาจต้องมีระยะเวลาและขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่แตกต่างกันไป โดยคุณสามารถสอบถามวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่ถูกต้องเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน และช่วยให้ผลของการผ่าตัดเป็นตามที่คาดหวังไว้มากที่สุด
อย่าลืมสอบถามเรื่องระยะเวลาพักฟื้น
ระยะเวลาในการพักฟื้น รวมถึงวิธีปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากเป็นคนที่อยู่ในวัยเรียน หรือวัยทำงาน จะได้รู้ว่าควรลาหยุดกี่วัน และหากมีอุปกรณ์ใด ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะพักฟื้น คุณหรือคนใกล้ตัวจะได้เตรียมสิ่งของเหล่านั้นล่วงหน้าได้อย่างครบครัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย