backup og meta

ตัดเหงือก (Gingivectomy)

ตัดเหงือก (Gingivectomy)

ตัดเหงือก (Gingivectomy) การตัดเหงือก เป็นกระบวนการศัลยกรรมชนิดหนึ่ง ที่ทำเพื่อตัด หรือปรับเปลี่ยนรูปของของเหงือก การตัดเหงือกนี้สามารถทำเพื่อรักษาสภาวะบางอย่าง เช่น โรคเหงือกอักเสบ หรือปัญหาร่องเหงือกลึก

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตัดเหงือก คืออะไร

ตัดเหงือก (Gingivectomy) เป็นกระบวนการศัลยกรรมชนิดหนึ่ง ที่ทำเพื่อตัด หรือปรับเปลี่ยนรูปของของเหงือก การตัดเหงือกนี้สามารถทำเพื่อรักษาสภาวะบางอย่าง เช่น โรคเหงือกอักเสบ หรือปัญหาร่องเหงือกลึก ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการเกลารากฟัน โดยปกติแล้วกระบวนการตัดเหงือกนั้นจะทำก่อนที่ปัญหาจากโรคเหงือกจะส่งผลให้รากฟันเกิดความเสียหายแล้ว

บางครั้งการตัดเหงือกก็อาจจะถูกจำสับสนกับ การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก (Gingivoplasty) ซึ่งเป็นกระบวนการปรับรูปร่างของเหงือก เพื่อเหตุผลทางด้านความสวยความงาม เช่น ทำให้รูปฟันดูยาวขึ้น หรือทำให้ดูยิ้มสวยมากขึ้น แต่การตัดเหงือกนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การตัดชิ้นเนื้อเหงือกที่มีปัญหาเพื่อรักษาโรค ในขณะที่การศัลยกรรมตกแต่งเหงือกจะเน้นไปที่การเสริมความงาม แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างกระบวนการศัลยกรรมเหงือก ก็อาจจำเป็นต้องมีการตัดเหงือก เพื่อปรับรูปร่างของเหงือกให้ออกมาดูสวยงามได้เช่นกัน

ความจำเป็นในการ ตัดเหงือก

ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณทำการตัดเหงือกได้ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกดังต่อไปนี้

  • เหงือกร่น
  • เหงือกติดเชื้อ
  • เหงือกอักเสบ
  • ปัญหาร่องเหลือกลึก
  • เหงือกบาดเจ็บ

ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกทำการรักษาด้วยการตัดเหงือก เพื่อป้องกันไม่ให้เหงือกเกิดความเสียหายมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ทันตแพทย์สามารถรักษาและทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการตัดเหงือก

เนื่องจากกระบวนการผ่าตัดเหงือกนั้นจะทำให้เกิดรอยแผลที่เหงือก จึงทำให้มีความเสี่ยงที่บาดแผลจะติดเชื้อได้ ยิ่งโดยเฉพาะในบริเวณเหงือกที่มักจะมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียอยู่มาก นอกจากนี้ เชื้อแบคทีเรียยังอาจสามารถเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อนั้น

สิ่งที่สำคัญคือ ก่อนเริ่มกระบวนการนี้ คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากคุณมีข้อสงสัยใด  ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตัดเหงือก

ทันตแพทย์จะต้องทำการตรวจอาการของคุณ เพื่อให้แน่ใจก่อนว่า คุณควรจะต้องทำการตัดเหงือกหรือไม่ หลังจากที่คุณปรึกษากับแพทย์จนมั่นใจแล้วว่าคุณต้องการที่จะทำการผ่าตัดเหงือก ก็อาจสามารถทำการตัดเหงือกได้เลย เนื่องจากกระบวนการตัดเหงือกนั้นเป็นเพียงการผ่าตัดเล็ก และใช้เวลาแค่ครั้งละประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหงือกที่จำเป็นต้องผ่าออกไป

ขั้นตอนการตัดเหงือก

กระบวนการตัดเหงือกจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหงือกที่ต้องตัด และมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ทันตแพทย์จะฉีดยาชาในเหงือกบริเวณที่ต้องทำการผ่าตัด เพื่อให้รู้สึกชาและไม่รู้สึกเจ็บ
  • แพทย์จะใช้มีดผ่าตัด หรือมีดเลเซอร์ เพื่อตัดชิ้นเนื้อเหงือกในบริเวณที่ต้องการออกไป
  • ในระหว่างกระบวนการผ่าตัด อาจต้องมีการดูดน้ำลายส่วนเกินออกไปบ้าง นาน ๆ ครั้ง
  • หลังจากนั้น แพทย์ก็อาจจะใช้เครื่องมือเลเซอร์ตัดแต่งรูปร่างของเหงือกให้เข้ารูป
  • หลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัดแล้ว แพทย์ก็จะใช้ผ้าก๊อซปิดแผล และรอให้แผลฟื้นฟู เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

กระบวนการตัดเหงือกนั้นถือว่าเป็นการผ่าตัดเล็ก และมักจะเสร็จสิ้นภายในการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว แต่หากจำเป็นต้องผ่าเหงือกหลาย ๆ จุด แพทย์ก็อาจจะแบ่งผ่าหลาย ๆ ครั้ง โดยรอให้แผลเดิมหายก่อน ก่อนที่จะนัดมาตัดเหงือกจุดอื่นในภายหลัง

การพักฟื้น

หลังการตัดเหงือก

คุณสามารถกลับมาพักฟื้นที่บ้านได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการตัดเหงือก ในช่วงแรกหลังจากการผ่าตัด คุณอาจจะยังไม่รู้สึกถึงอาการปวดใด ๆ จนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ หลังจากนั้นคุณก็อาจจะรู้สึกถึงอาการปวด และไม่สบายที่บริเวณเหงือก แต่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ ด้วยการกินยาแก้ปวดต่าง ๆ เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)

นอกจากนี้ คุณก็อาจจะมีอาการเลือดออกจากเหงือกอยู่หลายวัน ควรล้างแผลและเปลี่ยนผ้าปิดแผลเป็นประจำทุกวัน จนกว่าแผลจะหายสนิท และทันตแพย์แนะนำว่าสามารถถอดผ้าปิดแผลออกได้แล้ว

ห้ามบ้วนปากเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด หลังงานนั้นอาจสามารถบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุณหภูมิห้อง สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ควรแปรงแค่บริเวณฟันและหลีกเลี่ยงบริเวณเหงือก งดรับประทานอาหารเผ็ดและอาหารที่เย็น ๆ เป็นเวลา 2-3 วัน และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

ความเสี่ยงหลังการตัดเหงือก

หลังจากการผ่าตัดเหงือก คุณอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้หลังจากการผ่าตัดเหงือก

  • สัญญาณของการติดเชื้อ เช่น เหงือกบวม เป็นหนอง
  • มีเลือดออกจากเหงือกเป็นเวลานาน
  • รู้สึกปวดอย่างรุนแรง
  • เป็นไข้

หากสังเกตเห็นอาการเหล่านั้น ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง  ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gingivectomy for Gum Disease https://www.uofmhealth.org/health-library/hw146210

What to Expect from Gingivectomy https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/gingivectomy

Gingivectomy https://www.dentistry.com/topics/gingivectomy/

Gingivectomy and Gingivoplasty https://bangkokdentalcenter.com/thailanddentist/services-periodontics-gingivectomy.html

Gingivectomy https://www.dentalcare.com/en-us/professional-education/ce-courses/ce394/gingivectomy

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/11/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เหงือกร่น สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกัน

ปัญหา เหงือกบวม จากการจัดฟัน จัดการได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/11/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา