ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

บางคนอาจจะกลัวการเข้าโรงพยาบาล หรือกลัวการเข้ารับการรักษา ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด จะทำให้คุณเข้าใจขั้นตอนในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำวิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา มาฝากผู้ป่วยโรคเบาหวาน กันค่ะ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ศึกษาถึงวิธีการฉีดอินซูลิน และการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ แต่จะมีวิธีอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ  ทำความรู้จัก การ ฉีดอินซูลินด้วยปากกา (Insulin injection) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดจากตับอ่อนได้ การฉีดอินซูลินด้วยปากกาเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสะดวกและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้แล้วทิ้ง ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่บรรจุไว้ล่วงหน้า เมื่อใช้แล้วหน่วยปากกาทั้งหมดจะหายไป ไม่สามารถนำปากกากลับมาใช้ซ้ำอีกได้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้ซ้ำได้ ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เมื่อใช้อินซูลินหมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนการฉีดควรศึกษาถึงข้อมูลและวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  บริเวณที่ดีที่สุดในการฉีดอินซูลินด้วยปากกา คือ บริเวณหน้าท้อง เพราะสามารถดูดซึมตัวยาได้เร็วกว่าบริเวณส่วนอื่น ๆ เช่น ต้นขา บั้นท้าย เป็นต้น และที่สำคัญควรฉีดห่างจากบริเวณสะดือประมาณ 1 นิ้ว โดยมีวิธีดังต่อไปนี้ หากอินซูลินขุ่นควรทำให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน โดยการนำมาแกว่งกลิ้งบนฝ่ามือ ทดสอบเข็ม ควรไล่อากาศ หมุนไปที่หมายเลข 2 และกดจนเห็นตัวยาออกจากเข็ม ปรับขนาดยาตามที่แพทย์สั่ง หลังจากนั้นแทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนัง 90 องศา กดยาลงไปมิดเข็มแล้วนับ 1-10 […]

สำรวจ ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

เมโสเธอราพี (Mesotherapy) อีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดไขมัน

วิธีสลายไขมันมักมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความชอบ ความสะดวก และกำลังทรัพย์ของแต่ละคน บางครั้งก็สามารถทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ หรือการออกกำลังกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้เวลา และความอดทนอยู่พอสมควร แต่ในผู้คนบางกลุ่มมักใช้เทคโนโลยีของการแพทย์ด้านความงามเข้าช่วย เพราะทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น อย่างการฉีด เมโสเธอราพี วันนี้ Hello คุณหมอ ความรู้มาให้สาวๆ หนุ่มๆ ที่อยากจะมีหุ่นฟิตแอนด์เฟิร์ม นำไปประกอบการตัดสินใจกัน เมโสเธอราพี (Mesotherapy) คืออะไร เมโสเธอราพี หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากสั้นๆ ว่า “เมโส” เป็นการรวบรวมวิตามิน เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารสกัดจากพืชบางชนิดเพื่อฉีดฟื้นฟูสภาพผิวให้ดูกระชับขึ้น รวมถึงการกำจัดไขมันส่วนเกิน ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1952 โดยนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Michel Pistor และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน การทำเมโสเธอราพี นอกจากจะช่วยขจัดไขมันแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในด้านการเสริมความงาม และปรับปรุงสุขภาพผิวได้อีก ดังนี้ ลดเลือนริ้วรอย ปรับสภาพสีผิว ลดเซลลูไลท์ รักษาอาการผมร่วง ฟื้นฟูผิวหน้าให้กระชับ ข้อเปรียบเทียบของ การดูดไขมัน Vs ฉีดเมโสเธอราพี ก่อนการตัดสินใจ การดูดไขมันส่วนเกิน มักจะดูดในบริเวณส่วนของด้านหลัง ต้นขา และหน้าท้อง โดยการให้คุณดมยาสลบเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยสอดหลอดดูดผ่านผิวหนัง หรือใต้ผิวหนังที่แพทย์ศัลยกรรมด้านความงามได้กำหนดตำแหน่งไว้ แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวหนังของคุณมีสีที่ไม่สม่ำเสมอกัน และอาจสร้างความเสียหายแก่หลอดเลือด รวมถึงไขมันอาจมีการก่อตัวขึ้นมาใหม่ได้ หากละเลยการดูแลสุขภาพ ส่วนการใช้เมโสเธอราพี นั้น […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ตัดแขนขา (Amputation)

การ ตัดแขนขา เป็นการผ่าตัดเอาอวัยวะ เช่น แขน ขา มือ เท้า ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดออกจากร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือมีสภาวะทางการแพทย์ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ข้อมูลพื้นฐานการตัดแขนขาคืออะไร การตัดแขนขา (Amputation) เป็นการผ่าตัดเอาแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้า หรือนิ้วมือ บางส่วนหรือทั้งหมดออก จัดเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค อาการติดเชื้อ หรือนำเนื้องอกออกจากกระดูกและกล้ามเนื้อ การตัดแขนขาจะมีโอกาสเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนหรือปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ความจำเป็นในการ ตัดแขนขา โดยทั่วไปแล้ว แพทย์อาจต้องมีการตัดแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้าหรือนิ้วมือออก เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้ อาการติดเชื้อ หรือเสียเลือดขั้นรุนแรง อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำลายเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลได้อย่างปกติ) ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) อาการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น อุบัติเหตุ บาดแผลไฟไหม้ เนื้องอกหรือมะเร็งในกระดูกและกล้ามเนื้อของส่วนแขนหรือขา อาการติดเชื้อร้ายแรงซึ่งทำให้ยาปฏิชีวนะ หรือการรักษามีประสิทธิภาพที่ไม่เต็มที่ เนื้องอกของเส้นประสาท (Neuroma) เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัด (Frostbite) ปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน โรคปอดบวม (Pneumonia) อาจมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

คำจำกัดความการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คืออะไร เอ็นไหล่ (rotator cuff) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงไหล่ เอ็นไหล่เป็นส่วนที่สำคัญประการหนึ่งของไหล่ เอ็นไหล่ทำให้ยกแขนและเอื้อมได้ อาการบาดเจ็บที่เอ็นไหล่ เช่น การฉีกขาด อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อหกล้มลงบนมือที่ยืดออกไปหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ การเสื่อมและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ยังอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้นได้อีกด้วย หากเอ็นไหล่ได้รับบาดเจ็บ คุณอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษา ได้แก่ การขูดกระดูกที่งอกออกมาที่ส่งผลต่อไหล่หรือการรักษาเอ็นหรือกล้ามเนื้อไหล่ที่ฉีกขาด เทคนิคการผ่าตัดที่อาจใช้รักษาเอ็นไหล่ขาด ได้แก่ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (arthroscopy) การผ่าตัดแบบเปิด (open surgery) หรือเทคนิคทั้งสองประการร่วมกัน วัตถุประสงค์ในการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานและความยืดหยุ่นของไหล่และเพื่อบรรเทาอาการปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาอื่นๆ ความจำเป็นในการผ่าตัด การผ่าตัดมักเป็นการรักษาที่แนะนำประการแรกสำหรับการบาดเจ็บที่ไหล่ เริ่มแรกแพทย์อาจแนะนำการพักผ่อน การประคบด้วยน้ำแข็ง และการออกกำลังกายแบบพิเศษ หากการบาดเจ็บไม่รุนแรง วิธีการรักษาเหล่านี้อาจเพียงพอ หากเอ็นฉีกขาด การพักผ่อนและการออกกำลังกายอาจลดอาการปวดแต่ไม่รักษาอาการฉีกขาด อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด แพทย์ที่ทำการรักษาจะแนะนำให้คุณปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ออร์โธปีดิกหากว่าคุณ มีอาการปวดไหล่ที่คงอยู่เป็นเวลานานกว่าหกเดือน ถึงแม้ว่าหลังการเข้ารับกายภาพบำบัดแล้ว มีอาการไหล่อ่อนแรงที่ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวัน เป็นนักกีฬา ใช้ไหล่และแขนในการทำงาน การผ่าตัดรักษาเอ็นไหล่ขาดช่วยได้ดีที่สุดสำหรับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่นานแทนการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดหลังเกิดการบาดเจ็บ ข้อควรระวังข้อควรทราบก่อนการผ่าตัด ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับ การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด นี้ได้อย่างปลอดภัย การสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ขึ้นอยู่กับหัตถการที่ผู้ป่วยเข้ารับ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ มักไม่แนะนำหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการปวดแน่นที่ไหล่มาก่อน มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องรักษาหรือไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่อาจรักษาได้ดีกว่าด้วยการผ่าตัดแบบเปิด ปุ่มกระดูกแบนที่ไม่มีรูปร่างโค้งหรือเป็นรูปตะขอ สำหรับผู้ที่มีปุ่มกระดูกแบน การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ เช่น เอ็นไหล่อักเสบ (rotator cuff tendonitis) และข้อต่อหัวไหล่บวมอักเสบ (shoulder bursitis) เป็นสาเหตุ ไม่ใช่ผลของเอ็นไหล่อักเสบ (shoulder impingement) อาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

นวัตกรรม การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

ในเด็กที่มีขนาดต่อมทอนซิลโตมากอาจทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก นอนกรน และอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการอื่นๆตามมา เช่น ง่วงซึม สมาธิลดลง หรือก้าวร้าว พ่อแม่ของเด็กมักจะมาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุตรหลานเนื่องจากต่อมทอนซิลโต หนึ่งในการรักษาที่ใช้กันทั่วไป คือ การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต แต่เนื่องจากผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่มักเกิดขึ้น จึงมีการพัฒนานวัตกรรมการผ่าตัดแบบใหม่ที่เป็นทางเลือกที่ดีของการรักษาต่อมทอนซิลโตในเด็ก การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต มีข้อดีข้อเสียอย่างไร โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำว่าการรักษาต่อมทอนซิลโตหลักๆ มี 2 วิธี คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ หรือ CPAP การผ่าตัดต่อมทอนซิล (และ/หรือต่อมอะดินอยด์) ทิ้ง ในกรณีที่เลือกการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด โดยทั่วไป แพทย์จะใช้วิธีตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปทั้งหมด (Removal of tonsil) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2018 มีข้อมูลวิชาการทางการแพทย์รายงานชัดเจนแล้วว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปเป็นความคิดที่ไม่ดี และการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มที่ตัดทอนซิลทิ้ง เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตัดทอนซิลโดยติดตามต่อไปเมื่ออายุมากขึ้น พบว่าการตัดทิ้งต่อมทอนซิลออกไปทำให้เพิ่มโอกาสมากกว่า 3 เท่าในการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ และโรคอื่นๆ รวมแล้วกว่า 28 โรค นอกจากนี้ การตัดต่อมทอนซิลทิ้ง (Traditional tonsillectomy) ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกหลังการผ่าตัด (เทียบกับการผ่าตัดทอนซิลออกบางส่วน/Tonsillotomy) มากถึง 3 เท่า ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบัน การผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งในเด็กที่มีต่อมทอนซิลโตอุดกั้นทางเดินหายใจ จึงไม่เป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงแห่งยุค!

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยการฉีดสารระคายเคืองหลอดเลือด (Sclerotherapy Injection) ถูกใช้ในวงการแพทย์มานานหลายปี สำหรับกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดดำขอด โดยการรักษานี้ ถูกยกให้เป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการนี้ หรือรู้จักโรคนี้หรือไม่ ถ้าคุณเกิดความสงสัย บทความนี้ช่วยคุณได้ เส้นเลือดขอด หรือ โรคหลอดเลือดดำขอด คืออะไร หลอดเลือดดำมีหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขา แขน กระเพาะอาหาร ฯลฯ กลับมาสู่หัวใจ และในบางกรณี เลือดต้องไหลต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อเข้าสู่หัวใจ ในหลอดเลือดดำจึงมี ลิ้น ซึ่งมีหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับลงมา หากลิ้นปิดเปิดในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เลือดจากบริเวณขาก็ไม่สามารถถูกลำเลียงสู่หัวใจได้หมด และไหลย้อนกลับมาจน เกิดการคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ เมื่อเวลาผ่านไป หลอดเลือดดำก็จะขยายตัว นำมาสู่อาการของโรคหลอดเลือดดำขอด เส้นเลือดขอด หรือ โรคหลอดเลือดดำขอด (Varicose veins/Spider Veins) จึงหมายถึงการที่หลอดเลือดดำจะบิดตัวไปมา มีขนาดที่บวมโตขึ้น รวมถึงมีสีดำเข้ม หรือสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งสามารถมองเห็นผ่านผิวหนังได้ด้วยตาเปล่า ปกติแล้ว หลอดเลือดดำขอดมักเกิดขึ้นบริเวณขา ส่วนอาการอีกหนึ่งชนิดเรียกว่า Spider veins ซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่าหลอดเลือดดำขอด มักจะเห็นเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปตามขาและบนใบหน้า วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยการฉีดสารระคายเคือง การฉีดสารระคายเคืองสามารถรักษาโรคหลอดเลือดดำขอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างขั้นตอนการฉีดนั้น ขณะที่สารละลายน้ำเกลือเกลือ หรือสารเคมี […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ (Revision Total Hip Replacement)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ คืออะไร การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ (Revision Total Hip Replacement) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำข้อสะโพกเทียมเก่าออกไป และใส่ข้อสะโพกเทียมใหม่เข้าไปแทนที่ เนื่องจากข้อสะโพกเทียมที่เปลี่ยนไปในตอนแรกเกิดปัญหา ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ข้อต่อเทียม สะโพกติดเชื้อ การวางผิดตำแหน่ง กระดูกรอบข้อสะโพกเทียมแตกหัก ข้อสะโพกเทียมหลุดบ่อยๆ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ เพื่อทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวด และช่วยให้สามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ ข้อสะโพกเทียมอาจเสื่อมได้ตามกาลเวลา และอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำอีก ทางเลือกในการรักษานอกเหนือจากการผ่าตัด หากอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้รอดูอาการซักระยะก่อน หากคุณติดเชื้อ แพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หากสะโพกเคลื่อนตัวจากข้อต่อ คุณสามารถใส่สายรัดได้ หากมีอาการกระดูกแตก อาจรักษาได้ด้วยการดึง คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ คุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ หรือภาวะสุขภาพใดๆ และก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะเข้าพบวิสัญญีแพทย์และวางแผนร่วมกันเรื่องการใช้ยาระงับความรู้สึก เป็นสิ่งสำคัญที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำ ก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ การผ่าตัดจะทำโดยใช้ยาสลบ แพทย์จะกรีดที่ด้านข้างสะโพก ก่อนจะนำข้อสะโพกเทียมและซีเมนต์เชื่อมที่มีอยู่เดิมออก จากนั้นจึงใส่ข้อสะโพกใหม่เข้าไปแทน ข้อสะโพกใหม่จะถูกติดเข้ากับกระดูก โดยใช้อะครีลิกซีเมนต์ หรือสารเคลือบชนิดพิเศษ รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี และอาจมีความซับซ้อนมากขึ้น หากกระดูกบาง กระดูกแตก หรือติดเชื้อ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ โดยปกติแล้ว คุณสามารถกลับบ้านได้หลังจากเข้ารับการผ่าตัด 5-10 วัน และอาจจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าหรือไม้ช่วยเดินเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วขึ้น แต่ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำมักได้ผลดี และผู้เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงขึ้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (External Cephalic Version)

ข้อมูลพื้นฐานการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกคืออะไร การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (external cephalic version หรือ ECV) เป็นหัตถการประเภทหนึ่งในการเปลี่ยนทารกในครรภ์จากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะ ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผล หากทารกอยู่ในท่าก้นหลังจากอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แพทย์จะแนะนำให้ใช้การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก เพื่อใหคุณมีโอกาสในการคลอดธรรมชาติมากที่สุด วิธีหมุนเปลี่ยนท่าทารกในครรภ์วิธีนี้ถือว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ ความจำเป็นในการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก แพทย์จะแนะนำให้คุณรับการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้ ตั้งครรภ์ 36 ถึง 42 สัปดาห์ – ก่อนอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีโอกาสเปลี่ยนเป็นท่ากลับศีรษะด้วยตัวเอง แต่การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกอาจได้ผลมากกว่า หากทำโดยเร็วที่สุดหลังอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ เนื่องจากทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็ก ล้อมรอบไปด้วยน้ำคร่ำ และมีที่ว่างมากกว่าในการเคลื่อนที่ในมดลูกได้ ตั้งครรภ์โดยมีทารกในครรภ์เพียงคนเดียว ทารกในครรภ์ไม่เข้าไปในเชิงกราน ซึ่งทารกในครรภ์ที่ติดอยู่จะเคลื่อนที่ได้ยาก มีน้ำคร่ำที่ล้อมรอบทารกในครรภ์เพียงพอสำหรับการหมุนท่าทารกในครรภ์ หากปริมาณน้ำคร่ำต่ำกว่าปกติ (oligohydramnios) จะทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงได้รับบาดเจ็บในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมากขึ้น เคยตั้งครรภ์มาก่อน นั่นหมายความว่า ผนังช่องท้องมักมีความยืดหยุ่นมากกว่า และสามารถขยายได้ในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก แต่ถึงแม้จะเพิ่งเคยตั้งครรภ์ครั้งแรก ก็สามารถหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกได้เช่นกัน ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้นนำ ท่าก้นทั้งหมด หรือท่าเท้าเหยียดลงไปต่ำสุด ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากคุณมีภาวะเหล่านี้ แพทย์จะไม่แนะนำให้เข้ารับการการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก ถุงน้ำคร่ำแตก คุณมีภาวะโรค เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ที่ทำให้คุณไม่สามารถใช้ยากลุ่มโทโคไลติก (tocolytic medicines) บางชนิด ที่ใช้เพื่อป้องกันการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก (uterine contractions) จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอด (cesarean delivery) […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดเส้นเลือดขอดคืออะไร การผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery) เป็นการรักษาเส้นเลือดขอด หรือหลอดเลือดขอด (Varicose veins) ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)ดำใต้ผิวหนังที่บิดนูนและขยายตัว ส่วนใหญ่จะพบมากบริเวณขา เส้นเลือดขอดมีแนวโน้มถ่ายทอดในครอบครัวและมีอาการแย่ลงจากการตั้งครรภ์และการยืนเป็นเวลานาน หลอดเลือดดำที่ขามีลิ้นเปิดปิดทางเดียวจำนวนมาก ที่ช่วยให้กระแสเลือดที่ไหลไปด้านบนให้ไหลกลับสู่หัวใจได้ หากลิ้นเปิดปิดเหล่านั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม เลือดจะไหลเวียนผิดทิศทาง ทำให้หลอดเลือดโปร่งและเกิดเส้นเลือดขอดได้ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด ส่วนใหญ่แล้ว เส้นเลือดขอดมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงแต่อย่างใด หากเส้นเลือดขอดของคุณส่งผลต่อสุขภาพ แพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ แต่ในบางกรณี เส้นเลือดขอดอาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น อาการปวด การเกิดลิ่มเลือด แผลที่ผิวหนัง และหากร้ายแรงแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีรักษาหลายวิธีควบคู่กันไป การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดที่ขอดอยู่แล้วขยายตัวมาขึ้น ทั้งยังป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่ๆได้ด้วย สำหรับผู้ที่มีแผลหรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเส้นเลือดขอด การผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังช่วยไม่ให้ปัญหาที่มีแย่ลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากเส้นเลือดขอดในอนาคต บางครั้งการผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังใช้ในการรักษาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ด้วย การผ่าตัดเส้นเลือดขอด มีทั้งการผ่าเอาหลอดเลือดดำที่ขอดออกไป และการผนึกหลอดเลือดดำด้วยความร้อนหรือการฉีดยาเฉพาะ การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออกจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขา เพราะเลือดจะถูกลำเลียงผ่านหลอดเลือดเส้นอื่นที่แข็งแรงกว่าแทน โดยเฉพาะหลอดเลือดดำชั้นลึก ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจัดเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดรอยช้ำ รอยบวม ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือมีอาการปวดเล็กน้อยได้ ส่วนการผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) อาจทำให้มีอาการปวดรุนแรง เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาระงับความรู้สึก ติดเชื้อ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง คืออะไร การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy) เป็นวิธีที่ทำให้ศัลยแพทย์ทำการวินิจฉัย และรักษาอาการบางอย่างที่ส่งผลต่อข้อเท้าได้ โดยไม่ต้องมีการกรีดผ่า ซึ่งอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดของคุณ และทำให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น การผ่าตัดส่องกล้องทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในของข้อเท้า โดยการส่องกล้องผ่านช่องตัดเล็กๆ บนผิวหนัง ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ความเสียหายที่ผิวข้อต่อหรือเส้นเอ็น ข้ออักเสบ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง การผ่าตัดส่องกล้องไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อที่เกิดขึ้นจากทุกสาเหตุ คุณอาจเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องได้ หากคุณมีเศษเล็กๆ อยู่ในข้อเท้าจากการหักของกระดูกอ่อน หรือจากกระดูกชิ้นเล็ก คุณยังสามารถใช้วิธีนี้ได้ หากเกิดความเสียหายที่เส้นเอ็นจากอาการข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินความเสียหาย และรักษาต่อไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้องเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีอัตราการเกิดอาการแทรกซ้อนต่ำ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดวิธีนี้ คล้ายกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆ กล่าวคือ มีความเสี่ยงจากการใช้ยาชา ขึ้นอยู่ประเภทที่เลือกใช้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย อาจเจอกับอาการแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ เกิดเลือดออกจากการตัดโดนเส้นเลือด เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทโดยรอบ ความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง บริเวณกระดูกน่องบวม เกิดการติดเชื้อที่ข้อต่อข้อเท้า อาการปวดรุนแรง จนข้อติดและข้อเท้าไม่สามารถใช้การได้ นอกจากการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่ข้อเท้าแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI scan) แต่ก็ยังจำเป็นต้องรักษาอาการด้วยการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง โดยทั่วไป ควรงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณใช้อยู่ แพทย์จะแนะนำไม่ให้คุณใช้ยาต้านอาการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน เป็นเวลา 2-3 […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออก นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้ ข้อมูลพื้นฐานผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คืออะไร การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (vaginal hysterectomy) คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออกไป นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้ สาเหตุทั่วไปสำหรับการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด ได้แก่ มดลูกหย่อน มีประจำเดือนมากเกินไปและมีอาการปวด รวมทั้งการเกิดเนื้องอกในมดลูก ความจำเป็นในการ ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด การผ่าตัดมดลูกช่วยรักษาหรือทำให้อาการดีขึ้น และคุณจะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด อาการมดลูกหย่อนอาจดีขึ้นโดยการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อาการประจำเดือนมามากผิดปกติสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา หรือการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือการผ่าตัดนำเยื่อบุมดลูกออกไป การเลือกวิธีรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกในมดลูก คุณสามารถใช้ยาเพื่อควบคุมอาการต่างๆ การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การผ่าตัดนำเนื้องอกออกไปเพียงอย่างเดียวหรือการอุดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกและเนื้องอกของมดลูก สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาการแพ้ต่างๆ หรือภาวะสุขภาพใดๆ โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัด และคุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาในการหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณควรได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามก่อนเข้ารับการผ่าตัด เช่น คุณควรรับประทานในช่วงเวลาก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด แต่อาจสามารถดื่มของเหลว เช่น กาแฟ ได้จนกระทั่งสองสามชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด ขั้นตอนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด การผ่าตัดมักทำโดยใช้ยาสลบ การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 45 นาที นรีแพทย์จะลงรอยผ่ารอบปากมดลูกในบริเวณช่องคลอดด้านบนเพื่อให้สามารถนำมดลูกและคอมดลูกออกมาได้ โดยปกติแล้ว แพทย์จะเย็บเอ็นยึดมดลูกไว้ที่ช่องคลอดส่วนบนเพื่อลดความเสี่ยงมดลูกหย่อนตัวในอนาคต ข้อควรปฏิบัติหลังการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด โดยปกติแล้ว คุณจะสามารถกลับบ้านได้ 1-3 วัน หลังการผ่าตัด ให้พักผ่อนเป็นเวลา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน