backup og meta

เมโสเธอราพี (Mesotherapy) อีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดไขมัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/10/2020

    เมโสเธอราพี (Mesotherapy) อีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดไขมัน

    วิธีสลายไขมันมักมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความชอบ ความสะดวก และกำลังทรัพย์ของแต่ละคน บางครั้งก็สามารถทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ หรือการออกกำลังกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้เวลา และความอดทนอยู่พอสมควร แต่ในผู้คนบางกลุ่มมักใช้เทคโนโลยีของการแพทย์ด้านความงามเข้าช่วย เพราะทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น อย่างการฉีด เมโสเธอราพี วันนี้ Hello คุณหมอ ความรู้มาให้สาวๆ หนุ่มๆ ที่อยากจะมีหุ่นฟิตแอนด์เฟิร์ม นำไปประกอบการตัดสินใจกัน

    เมโสเธอราพี (Mesotherapy) คืออะไร

    เมโสเธอราพี หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากสั้นๆ ว่า “เมโส’ เป็นการรวบรวมวิตามิน เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารสกัดจากพืชบางชนิดเพื่อฉีดฟื้นฟูสภาพผิวให้ดูกระชับขึ้น รวมถึงการกำจัดไขมันส่วนเกิน ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1952 โดยนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Michel Pistor และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

    การทำเมโสเธอราพี นอกจากจะช่วยขจัดไขมันแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในด้านการเสริมความงาม และปรับปรุงสุขภาพผิวได้อีก ดังนี้

    ข้อเปรียบเทียบของ การดูดไขมัน Vs ฉีดเมโสเธอราพี ก่อนการตัดสินใจ

    การดูดไขมันส่วนเกิน มักจะดูดในบริเวณส่วนของด้านหลัง ต้นขา และหน้าท้อง โดยการให้คุณดมยาสลบเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยสอดหลอดดูดผ่านผิวหนัง หรือใต้ผิวหนังที่แพทย์ศัลยกรรมด้านความงามได้กำหนดตำแหน่งไว้ แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวหนังของคุณมีสีที่ไม่สม่ำเสมอกัน และอาจสร้างความเสียหายแก่หลอดเลือด รวมถึงไขมันอาจมีการก่อตัวขึ้นมาใหม่ได้ หากละเลยการดูแลสุขภาพ

    ส่วนการใช้เมโสเธอราพี นั้น แม้ต้องทำการเข้าฉีดหลายครั้ง แต่ผิวของคุณจะไม่มีร่องรอยบนผิวหนังที่ใหญ่เท่ากับการดูดไขมัน ผลลัพธ์อาจไม่รวดเร็ว หรือเห็นผลทันที เพราะเทคนิคนี้ ไม่ได้เป็นการดูดครั้งเดียวจบ แต่เป็นการค่อยๆ ฉีดเพื่อให้ไขมันสลายตัว

    ผลข้างเคียงของการฉีดเมโสเธอราพี มีอะไรบ้าง

    แน่นอนว่า การฉีดเมโสเธอราพี หรือการนำสารบางอย่างเข้าสู่ร่างกายมักมีผลข้างเคียงตามมาเสมอ ดังนี้

    อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ซึ่งคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตัดสินใจ เพราะอาจนำมาสู่อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา