backup og meta

ใครว่า วิดีโอเกม ส่งผลเสียต่อสมอง อย่างเดียว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ใครว่า วิดีโอเกม ส่งผลเสียต่อสมอง อย่างเดียว

    วิดีโอเกม เป็นรูปแบบความบันเทิงยอดนิยม ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เชื่อว่าหลายๆ คนมีความชอบในการเล่นวิดีโอเกมกันอย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่แล้ววิดีโอเกมมักจะถูกมองว่าเป็นตัวการที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากวัย วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกมุมหนึ่งของวิดีโอเกมมานำเสนอให้ทุกคนอ่านกัน มาดูกันว่า วิดีโอเกม ส่งผลต่อสมองอย่างไรบ้าง

    วิดีโอเกม กับการเปลี่ยนแปลงของสมอง

    จากการศึกษาวิจัย พบว่าสมองและวิดีโอเกมมีความเชื่อมโยงบางอย่างและการเล่นวิดีโอเกมยังมีส่วนช่วยปรับปรุงความสามารถในการตัดสินใจและความรู้ความข้าใจ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากโครงสร้างสมองของผู้ที่เล่นเกมเป็นประจำกับผู้ที่ไม่ค่อยได้เล่นเกม ซึ่งการเล่นวิดีโอเกมช่วยเพิ่มพื้นที่สมองที่ต้องใช้ทักษะในการควบคุมเรื่องต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความทรงจำ และมีความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และนั้นอาจหมายความว่า  วิดีโอเกมอาจมีบทบาทในการบำบัดรักษาความผิดปกติของสมองและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดจากการบาดเจ็บของสมอง

    ประโยชน์ของ วิดีโอเกม ต่อสมอง

    วิดีโอเกมเพิ่มปริมาณสมอง

    จากการศึกษาของสถาบัน Max Planck เพื่อการพัฒนามนุษย์และการแพทย์มหาวิทยาลัย Charité St. Hedwig-Krankenhaus ได้เปิดเผยว่า การเล่นเกมกลยุทธ์แบบเรียลไทม์ เช่น Super Mario 64 สามารถเพิ่มสมองเนื้อสีเทา (Gray matter) ซึ่งเป็นชั้นหนึ่งของสมองที่รู้จักกันในชื่อ เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนสมองนี้ การเพิ่มขึ้นของสมองเนื้อสีเทา ที่เกิดขึ้นที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ด้านขวาของผู้ที่เล่นวิดีโอเกมจะมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดระเบียบและสร้างความทรงจำระยะยาว นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับอารมณ์และความรู้สึก กลิ่นและเสียงเข้ากับความทรงจำอีกด้วย

    เปลือกสมองส่วนหน้ามีส่วนร่วมในการทำงาน รวมถึงการตัดสินใจการแก้ปัญหา การวางแผน การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการควบคุมแรงกระตุ้น สมองนั้นมีเซลล์ประสาทหลายร้อยล้านตัวสำหรับการประมวลผลข้อมูล มันช่วยในการควบคุมการประสานงานการเคลื่อนไหวที่ดี กล้ามเนื้อ และความสมดุล การเพิ่มขึ้นของสสารสีเทาเหล่านี้ช่วยปรับปรุงการทำงานของความรู้ความเข้าใจในบริเวณสมองที่เฉพาะเจาะจง

    เกมแอกชั่น (action game) ช่วยพัฒนาการทำงานของการมอง

    เกมแอกชัน (action game) เป็นประเภทของเกมที่มีการเล่นที่มีการประสานสายตากับมือเข้าด้วยกัน และปฏิกิริยากับเวลา เกมประเภทนี้จะแบ่งได้เป็นประเภทย่อยอีกมากมาย เช่น เกมต่อสู้ เกมยิงปืน จากการศึกษาระบุว่าการเล่นวิดีโอเกมบางเกมสามารถปรับปรุงความสนใจในการมองเห็น ซึ่งระดับความสนใจในการมองเห็นของแต่ละคนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับในการความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของสมองด้วย

    จากการศึกษาผู้ที่เล่นวิดีโอเกมประเภท เกมแอกชั่น จะมีประสิทธิภาพในการมองเห็นดีกว่าผู้ที่ไม่เล่น เช่น เกมส์ Halo เป็นเกมที่ผู้เล่นต้องมีการการตอบสนองที่รวดเร็วและต้องใช้สายตาที่รวดเร็วในการมองภาพ จึงส่งผลให้ผู้ที่เล่นเกมส์ประเภทนี้มีการทำงานของสมอง มือ และสายตาที่เข้ากันได้อย่างดีและรวดเร็ว

    วิดีโอเกมส่งผลต่อการย้อนกลับของผลกระทบเชิงลบในอายุที่มากขึ้น

    จริงๆ แล้วการเล่นวิดีโอเกมไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กและผู้ใหญ่เท่านั้น แต่วิดีโอเกมยังสามารถปรับปรุงการทำงานของความรู้ความเข้าใจในผู้สูงอายุได้อีกด้วย การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความจำและความสนใจเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ แต่ยังมีความยังยืนอีกด้วย หลังจากที่มีการฝึกอบรมด้วยวิดีโอเกม 3 มิติ ที่ออกแบบมาอย่างเฉพาะ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนรู้บุคคลอายุ 60-85 ปี จากการศึกษาพบว่ากลุ่มคนช่วงอายุ 60-80 ปีทำได้ดีกว่าบุคคลอายุ 20-30 ปี ที่เล่นเกมเป็นครั้งแรก การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการเล่นวิดีโอเกมสามารถย้อนกลับบางส่วน ของการลดลงของความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นได้

    ข้อควรระวัง

    แน่นอนว่าวิดีโอเกม มีผลดีก็ย่อมมีผลเสีย ผลเสียของการเล่นวิดีโอเกมอาจแบ่งเป็นทางร่างกายและทางจิตใจ การที่ต้องใช้ร่างกายและสายตาในการเล่นเกมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นคอ เพราะต้อง ก้ม ๆ เงยอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน และสายตาที่มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีแสงสีฟ้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสายตา ดังนั้นอะไรที่มากไปย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย เราจึงควรจำจัดเวลาเล่นอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสุขภาพ และต้องออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย

    ส่วนในด้านของสุขภาพจิต เกมอาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต สำหรับยางคนอาจจะมีบุคลิกภาพที่หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียง่ายอยู่แล้ว เมื่อเล่นเกมที่จะต้องใช้ทักษะแต่ไม่สามารถผ่านไปได้ เกมเหล่านั้นอาจเป็นตัวกระตุ้นให้มีความหงุดหงิดได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นในส่วนนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเป็นคนคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก เพราะเด็กแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป

    หากปัญหาที่เกิดขึ้นจากเกมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต พ่อแม่ควรพาลูกเข้ารับการปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา