backup og meta

ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria)

ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria)

ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คือ รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน (วงกลมสีดำกลางดวงตา) ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นต้น

คำจำกัดความ

ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คืออะไร

ภาวะรูม่านตาต่างขนาด (Anisocoria) คือ รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน (วงกลมสีดำกลางดวงตา) ส่งผลให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นภาวะรูม่านตาต่างขนาดมาตั้งแต่กำเนิด หรือในผู้ป่วยบางคนอาจเป็นภาวะรูม่านตาต่างขนาดเพียงชั่วคราวเท่านั้นก็สามารถหายกลับมาเป็นปกติได้เอง

พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะรูม่านต่างขนาดอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยกำเนิด หรือในบางรายอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อดวงตา

อาการ

อาการของภาวะรูม่านตาต่างขนาด

ภาวะรูม่านตาต่างขนาดขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลายๆอย่าง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • สูญเสียการมองเห็น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดตา
  • ปวดคอ
  • ไข้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะรูม่านตาต่างขนาด

สาเหตุของภาวะรูม่านตาต่างขนาดเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังนี้

  • การได้รับบาดเจ็บโดยตรงกับดวงตา
  • การถูกกระทบกระแทก
  • มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
  • การอักเสบของเส้นประสาทตา
  • เนื้องอกในสมอง
  • อาการไขสันหลังอักเสบ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะรูม่านตาต่างขนาด

 ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการผู้ป่วยเพื่อดูความผิดปกติของรูม่านตา รวมถึงวิธีการอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจตา
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (complete blood count: CBC)
  • การตรวจเลือด
  • เจาะน้ำไขสันหลัง
  • การตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)
  • การเอกซเรย์ (X-Ray)

การรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาด

วิธีการรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาดขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละบุคคล เช่น หากเกิดจากการติดเชื้อแพทย์อาจสั่งยาหยอดตาหรือยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วย หากเกิดจากสาเหตุเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก ร่วมกับการฉายรังสี ทำเคมีบำบัด เพื่อลดการเติบโตของเนื้องอก

ในกรณีผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะรูม่านตาชั่วคราวถือว่าอาการปกติไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะรูม่านตาต่างขนาด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรูม่านตาต่างขนาดมีดังนี้

  • สวมหมวกนิรภัยขณะเล่นกีฬาเพราะอาจทำให้กระทบกระเทือนต่อดวงตาๆได้ เช่น ขี่จักรยาน ขี่ม้า
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันขณะใช้งานเครื่องจักรกล
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะขับรถ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Anisocoria?. https://www.healthline.com/health/anisocoria. 17 July 2020

Anisocoria: Why is one pupil bigger than the other?. https://www.allaboutvision.com/conditions/anisocoria.htm. 17 July 2020

Anisocoria. https://www.msdmanuals.com/professional/eye-disorders/symptoms-of-ophthalmologic-disorders/anisocoria. 17 July 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความสะอาดดวงตา อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี

ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่ายที่คุณเองก็ทำตามได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา