สะอึก (Hiccups)เป็นการหดตัวของกระบังลม เป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่สามารถควบคุมได้ การหดตัวแต่ละครั้งเกิดขึ้นหลังจากเส้นเสียงปิดอย่างกะทันหัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงสะอึก
คำจำกัดความ
สะอึก คืออะไร
สะอึก (Hiccups) เป็นการหดตัวของกระบังลม ซึ่งเป็นชั้นบางๆ ของกล้ามเนื้อ ที่แยกช่องอกจากช่องท้องและช่วยในการหายใจ เป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่สามารถควบคุมได้ การหดตัวแต่ละครั้งเกิดขึ้นหลังจากเส้นเสียงปิดอย่างกะทันหัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงสะอึก
สะอึก พบได้บ่อยเพียงใด
อาการสะอึกพบได้บ่อยมาก สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย อาการสะอึกสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการสะอึกเป็นอย่างไร
อาการประการเดียวของอาการสะอึก คือมีเสียงที่ได้ยินว่าเป็นอาการสะอึก อาการยังเป็นความรู้สึกตึงตัวเล็กน้อยในอก ช่องท้อง หรือคอ ที่เกิดขึ้นก่อนมีเสียงสะอึก
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของอาการสะอึก
สาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของอาการสะอึกที่มีอาการนานประมาณ 48 ชั่วโมง ได้แก่
- รับประทานอาหารมากเกินไปอย่างรวดเร็ว
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- กลืนอากาศมากเกินไป/กลืนอากาศพร้อมกับเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอม
- สูบบุหรี่
- อุณหภูมิของกระเพาะอาหารเปลี่ยนแปลงกะหันหัน
- มีอารมณ์ตึงเครียดหรือตื่นเต้น
อย่างไรก็ดี อาการสะอึกที่มีอาการมากกว่า 48 ชั่วโมงอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น
- เส้นประสาทเสียหายหรือระคายเคือง
- ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
- ความผิดปกติของการเผาผลาญและการใช้ยา
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของอาการสะอึก
ผู้ชายมีโอกาสที่จะมีอาการสะอึกเป็นเวลานานได้มากกว่าผู้หญิงเป็นอย่างมาก ความเสี่ยงสำหรับอาการสะอึกมีหลายประการ เช่น
- ประเด็นทางจิตใจหรืออารมณ์ ความกังวล ความเครียด และความตื่นเต้น มีความสัมพันธ์กับอาการสะอึกในระยะสั้นและระยะยาวในบางกรณี
- การผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายมีอาการสะอึก หลังจากได้รับยาสลบ หรือหลังจากหัตถการเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการสะอึก
อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบทางประสาท เพื่อตรวจสอบความสมดุลและการประสานงานของร่างกาย ความแข็งแรงและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ กิริยาสนองฉับพลัน การมองเห็น และการสัมผัส หากแพทย์สงสัยว่ามีสาเหตุของอาการสะอึกเพิ่มเติม อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบและการรักษาเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่
- การตรวจในห้องปฏิบัติการ อาจมีการตรวจสอบตัวอย่างเลือดเพื่อหาสิ่งบ่งชี้ของการติดเชื้อ เบาหวาน และโรคไต
- การตรวจด้วยภาพถ่ายอวัยวะ การทดสอบนี้เป็นการตรวจจับความผิดปกติทางกายวิภาคที่อาจส่งผลต่อประสาทสมองเส้นที่ 10 เส้นประสาทกะบังลม หรือกะบังลม มีการทดสอบบางประการ ได้แก่ เอ็กซเรย์อก การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การตรวจด้วยการส่องกล้อง การรักษาแบบนี้ใช้หลอดบางและยืดหยุ่นได้ที่ติดตั้งกล้องขนาดเล็กซึ่งใส่ลงไปในลำคอเพื่อตรวจสอบอาการในหลอดอาหารหรือหลอดลม
การรักษาอาการสะอึก
อาการสะอึกส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา หากโรคประจำตัวเป็นสาเหตุของอาการสะอึก การรักษาโรคประจำตัวดังกล่าวอาจมีความจำเป็นเพื่อรักษาอาการสะอึก การรักษาดังต่อไปนี้มีไว้สำหรับอาการสะอึกที่มีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง
- การใช้ยา ยาคลอร์โพเมซีน (Chlorpromazine) ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ยาบาโคลเฟน (Baclofen)
- การผ่าตัดและหัตถการอื่นๆ หากการรักษาที่ทำต่อร่างกายไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำการฉีดยาชาเพื่อระงับเส้นประสาทกะบังลม เพื่อหยุดอาการสะอึก ทางเลือกอื่นในการรักษาคือ การผ่าตัดติดตั้งเครื่องมือที่ใช้แบตเตอรี่ เพื่อส่งผ่านแรงกระตุ้นไฟฟ้าต่ำไปยังประสาทสมองเส้นที่ 10 เพื่อควบคุมอาการสะอึกเรื้อรัง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการสะอึก
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมืออาการสะอึกได้
ถึงแม้ว่าวิธีดังต่อไปนี้ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานที่ได้รับความนิยมดังต่อไปนี้ อาจบรรเทาอาการสะอึกได้
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]