backup og meta

หม้อทอดไร้น้ำมัน เครื่องครัวยุคใหม่ ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

หม้อทอดไร้น้ำมัน เครื่องครัวยุคใหม่ ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

อาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านกระบวนการทอด มักมีน้ำมันตกค้างอยู่ในอาหารเป็นอย่างมาก การรับประทานอาหารที่มีน้ำมันตกค้างหรือตะกรันน้ำมันจากภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์เข้าไปเป็นเวลานาน ๆ อาจ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่าง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วน

ในปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปรุงอาหารให้สุกด้วยวิธีการทอดแบบไม่ต้องใช้น้ำมัน นอกจากนี้แล้ว เครื่องครัวยุคใหม่ชิ้นนี้ยังมีประสิทธิภาพในการขจัดน้ำมันส่วนเกินในอาหารได้อีก ถูกใจแม่บ้านหลายครัวเรือนเพราะ ประหยัดเวลา และช่วยลดความเสี่ยงของการโดนน้ำมันกระเด็นใส่ได้ดีทีเดียว บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาทราบถึงประโยชน์ของการใช้ หม้อทอดไร้น้ำมัน กันค่ะ

หม้อทอดไร้น้ำมัน มีระบบการทำงานอย่างไร

ปัจจุบันหม้อทอดไร้น้ำมันถือว่าเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากจะมีขนาดที่เล็กไม่เปลืองพื้นที่ในการวางแล้ว ยังมีระบบการทำงานที่ค่อนข้างสะดวก ซึ่งการทำงานภายในตัวของอุปกรณ์นี้ ทำงานโดยพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนสภาพเป็น ลมร้อน ที่มีอุณหภูมิสูง ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เรียกว่า เมลลาร์ด (Maillard effect) เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างกรดอะมิโน และน้ำตาลรีดิวซ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระดับความสุกของอาหาร และรสชาติของอาหาร ถือว่าเป็นการปรุงอาหารอีกแบบให้แก่ผู้รักสุขภาพที่อยากจะลดไขมัน  และแคลอรี่ได้

ประโยชน์ของการใช้ หม้อทอดไร้น้ำมันปรุงอาหาร

เมื่อคุณนำมาหม้อทอดไร้น้ำมันมาใช้อย่างถูกต้องวิธีตามคำแนะนำบนคู่มือที่แนบมากับผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์นี้อาจสร้างประโยชน์ให้แก่สุขภาพร่างกายของคุณได้ ดังนี้

  • ดีต่อการลดน้ำหนัก

อาหารทอดเป็นอาหารที่มีไขมันสูง และเป็นอาหารที่ทำให้น้ำหนักคุณเพิ่มจนเกินมาตรฐานได้ แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำอาหารอย่างการใช้น้ำมัน หรือกระทะที่สามารถทอดอาหารต่าง ๆ โดยปราศจากน้ำมันทดแทน

  • กำจัดไขมันในอาหาร

ผู้ผลิตบางรายเปิดเผยว่าการใช้หม้อทอดไร้น้ำมันสามารถลดปริมาณของไขมันในอาหารได้มากถึง 75% เนื่องจากเป็นการทอดโดยใช้ลมร้อน ไม่ใช้น้ำมันพืชเข้ามาช่วยทำให้อาหารไม่ดูดซึมน้ำมัน และพร้อมขจัดน้ำมันจากไขมันของอาหาร

  • ลดการก่อตัวของสารอันตราย

เนื่องด้วยการทอดอาหารสามารถสร้างสารประกอบของอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ขึ้นมาได้ จากการรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งแห่งชาติ (International Agency for Research on Cancer) ระบุว่า สารอะคริลาไมด์จัดเป็นสารก่อมะเร็ง ที่ทำให้คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งไต มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ ซึ่งการเปลี่ยนไปใช้หม้อทอดไร้น้ำมันแทนอุปกรณ์การทำอาหารแบบธรรมดานั้น สามารถลดความเสี่ยงข้างต้นจากอะคริลาไมด์ในอาหารได้

หม้อทอดไร้น้ำมัน มีผลข้างเคียงหรือไม่

ถึงแม้ว่าการปรุงอาหารสุกด้วยหม้อทอดน้ำมัน จะสามารถลดสารก่อตัวอย่างอะคริลาไมด์ แต่ก็อาจสร้างสารประกอบอื่นอย่าง โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic HydrocarbonsP ; PAHs) ที่เกิดจากการเผาไหม้ในความร้อนสูงขึ้นมาแทน ซึ่งอาจทำให้อาหารไหม้เกรียม และเกิดความเปลี่ยนแปลงของสีผิวของอาหารจนไหม้ธรรมดากลายเป็นกลุ่มก้อนสีดำ ส่งผลให้คุณได้รับสารการก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายได้

ดังนั้นในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง คุณควรเช็กอุณภูมิความร้อนของหม้อทอดไร้น้ำมัน ให้ดี เพราะอาหารแต่ละประเภทมักใช้ระบบกระจายความร้อนที่ต่างกัน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Air-Frying: Is It As Healthy As You Think? https://health.clevelandclinic.org/air-frying-is-it-as-healthy-as-you-think/ Accessed May 14, 2020

Are air fryers healthy? https://www.medicalnewstoday.com/articles/324849 Accessed May 14, 2020

Is Cooking With an Air Fryer Healthy? https://www.healthline.com/nutrition/air-fryer Accessed May 14, 2020

Do Air Fryers Have Health Benefits? https://www.webmd.com/food-recipes/air-fryers#1 Accessed May 14, 2020

https://www.shutterstock.com/image-photo/air-fryer-homemade-grilled-potato-1633357045 Accessed May 14, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมลิสต์สุดยอด อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ที่ดีต่อสุขภาพ และดีต่อการลดน้ำหนัก

เมโสเธอราพี (Mesotherapy) อีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดไขมัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา