backup og meta

อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่ม สัญญาณร้ายของโรคภัยหรือเปล่า

อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่ม สัญญาณร้ายของโรคภัยหรือเปล่า

อาการ อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติและเรื่องอันตรายที่ควรปรึกษาแพทย์ทันที แต่บางครั้งการอาเจียนเป็นเลือดก็ไม่ใช่สัญญาณของอาการป่วย หรือสัญญาณฉุกเฉินทางการแพทย์แต่อย่างใด

มีหลายสาเหตุที่ส่งผลให้อาเจียนเป็นเลือดหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือที่รู้จักกันว่า อาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) ซึ่งปริมาณและสีของเลือดที่ออกมาตอนอาเจียนสามารถบอกได้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ เช่น หากเลือดเป็นสีแดงสด บางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุทั่วไป คือเลือดกำเดาไหลไหลกลับเข้าไปในลำคอและไหลลงสู่ท้อง จึงอาเจียนออกมาเป็นเลือด หรือหากเลือดที่อาเจียนออกมาเป็นสีดำเหมือนกากกาแฟ มักจะเป็นเลือดที่แห้งที่อยู่ในท้อง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการอาเจียนเป็นเลือด หลังดื่มมาฝากกันค่ะ

อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่มแอลกอฮอล์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่ม ซึ่งการอาเจียนเป็นเลือดหลังดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสุขภาพ ขนาดที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งปัญหาการอาเจียนเป็นเลือดนั้นเกิดจาก การที่แอลกอฮอล์เข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดความระคายเคือง นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย ซึ่งกรดเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อมีความระคายเคืองมากขึ้นจนทำให้เกิดแผลจนเลือดไหลออกมา เมื่ออาเจียนจึงทำให้มีเลือดปนเปื้อนออกมาด้วย

บางครั้งการ อาเจียนเป็นเลือด ยังอาจเกิดจาก ยา ที่ใช้เพื่อรักษาอาการของโรคที่เรากำลังเป็นอยู่ เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป อาจทำให้ยาและแอลกอฮอล์เกิดปฏิกิริยาที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อบริเวณกระเพาะอาหารทำให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร จนทำให้เลือดไหล ส่วนใหญ่แล้วยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกระเพาะอาหารคือ ยาที่ส่งผลทำให้กระเพาะระคายเคืองอยู่แล้ว เช่น นาพรอกเซน (Naproxen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงข้อควรระวังในการใช้ยา

อาการของผู้ที่มีการอาเจียนเป็นเลือด หลังดื่มแอลกอฮอล์

สัญญาณที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คือ ผู้ที่มีอากา รอาเจียนเป็นเลือด หลังดื่ม เมื่ออาเจียนมักจะมีเลือดปนเปื้อนออกมาด้วย แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีอาเจียนออกมาเป็นสีดำหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์  นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจจะมีอาการปวดท้องและเป็นลมร่วมด้วย บางครั้งอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง อาการเมาค้างและอาการอาเจียนเป็นเลือดหลังดื่ม ดังนั้นผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตัวเองให้แน่ชัดว่าเป็นอะไรกันแน่ เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

ควรทำอย่างไร เมื่อ อาเจียนเป็นเลือด

เมื่อ อาเจียนเป็นเลือด หลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ในทันที และไม่ควรหยุดการอาเจียนด้วยตัวเอง หรือใช้วิธีบ้านๆ ในการรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แต่ควรต้องรีบเข้าปรึกษาแพทย์ในทันที เพื่อที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการวินิจฉัยถึงอาการ และวิธีการรักษา หากมีอาการแทรกซ้อน หรืออาการข้างเคียง เช่น อาการปวดหัว วิงเวียน หรืออาการเจ็บอื่นๆ ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อที่จะทำการวินัจฉัยและรักษาโรคอย่างถูกต้อง

สาเหตุอื่นๆ ของการอาเจียนเป็นเลือด นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์

  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • มีการอาเจียนอย่างรุนแรง
  • เนื้อเยื่อในกระเพาะอาหารฉีกขาด
  • หลอดเลือดในหลอดอาหารขยายตัวจนแตก
  • การใช้ยาที่สร้างความระคายเคืองให้กระเพาะอาหาร
  • อาหารเป็นพิษ
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น การอาเจียนจากการแพ้ท้องที่ผิดปกติ
  • ตับอักเสบ
  • การได้รับสารพิษ
  • มะเร็งตับอ่อน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vomiting Blood After Drinking? Here’s What You Need to Know. https://www.healthline.com/health/throwing-up-blood-after-drinking. Accessed February 24, 2020.

What to know about vomiting blood? https://www.medicalnewstoday.com/articles/314031.php. Accessed February 24, 2020.

Throwing Up Blood Morning After Drinking Alcohol. https://alcorehab.org/hangover/effects/vomiting/black-blood/. Accessed February 24, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/05/2024

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ ส่วนผสมอันตราย ที่ห้ามรับประทานพร้อมกัน เด็ดขาด!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 06/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา