backup og meta

ยารักษาตับอักเสบ แต่ละชนิดและข้อควรรู้ในการใช้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    ยารักษาตับอักเสบ แต่ละชนิดและข้อควรรู้ในการใช้

    มีการคาดการณ์ว่าประมาณ 85% ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus; HCV) นั้นจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าหากเป็นไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน ควรรักษาด้วยการพักผ่อน บรรเทาอาการ และบริโภคน้ำในปริมาณที่เหมาะสม การรักษาโดยใช้ยานั้นใช้เพื่อรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังเท่านั้น Hello คุณหมอ มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยารักษาตับอักเสบ มาฝากคุณแล้ว

    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคติดต่อที่ทำให้เกิดอาการตับอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะเป็นโรคเรื้อรัง สำหรับโรคตับอักเสบเรื้อรัง มักแนะนำให้ใช้ยาร่วมกับ

  • การป้องกันโรคตับ เช่น โรคตับแข็ง (Cirrhosis) ตับวาย
  • การบรรเทาอาการ
  • การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ
  • ยารักษาตับอักเสบ ที่ใช้กันมากที่สุดมีอะไรบ้าง

    • อินเตอร์เฟอรอน (Interferons)
    • ยาต้านไวรัสโปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor)
    • ยาต้านไวรัสนิวคลีโอไทด์ อนาล็อก (Nucleoside Analogue)
    • ยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์ (Polymerase Inhibitor) และการรักษาด้วยยาหลายชนิดร่วมกัน
    • การแพทย์ทางเลือก

    อินเตอร์เฟอรอน (Interferons)

    อินเตอร์เฟอรอนคือโปรตีนในร่างกาย มีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ โปรตีนตัวนี้จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัสตับอักเสบซีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ยาเหล่านี้ได้แก่

    • เพกอินเตอร์เฟอรอน อัลฟ่า 2เอ สำหรับฉีด (Peginterferon alfa-2a) อย่างเพกาซิส (Pegasys)
    • เพกอินเตอร์เฟอรอน อัลฟ่า 2เอ สำหรับฉีด อย่างเพกอินทรอน (PegIntron) หรือไซลาทรอน (Sylatron)
    • อินเตอร์เฟอรอน อัลฟ่า 2 เอ สำหรับฉีด อย่างอินทรอน เอ (Intron A)

    ยาเหล่านี้จะใช้ร่วมกับยาต้านไวรัส ยังไม่มีรูปแบบทั่วไปของยาเหล่านี้ในตลาด ยาเพกอินเตอร์เฟอรอนนั้นเกิดจากยาอินเตอร์เฟอรอนรวมกับสารประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้ยานี้สามารถเก็บไว้ภายในร่างกายได้นานขึ้นและช่วยลดผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

    ยาต้านไวรัสประเภทโปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor)

    ยาต้านไวรัส โปรตีเอส อินฮิบิเตอร์นั้น เป็นยาสำหรับรับประทานที่ทำงานโดยป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ ยานี้จะช่วยหยุดการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสภายในร่างกาย ยาประเภทนี้ได้แก่

    • ยาทีลาพรีเวียร์ (Telaprevir) อย่างอินซิเวค (Incivek)
    • ยาโบซีพรีเวียร์ (Boceprevir) อย่างวิคเทรลิส (Victrelis)
    • ยาพาริทาพรีเวียร์ (Paritaprevir) ยานี้เป็นยาโปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของยาที่ใช้ร่วมกันเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

    ยาเหล่านี้จะใช้ร่วมกับการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอื่น ๆ เท่านั้น ยาทีลาพรีเวียร์นั้นรับประทานวันละ 2 ครั้ง ขณะที่ยาโบซีพรีเวียร์นั้นรับประทานวันละ 3 ครั้ง ควรรับประทานยาทั้งสองพร้อมกับอาหาร

    ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้

    ยาต้านไวรัสประเภทนิวคลีโอไทด์ อนาล็อก

    ยาต้านไวรัส นิวคลีโอไทด์ อนาล็อกยังใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อโดยการหยุดยั้งการก่อตัวของนิวคลีโอไซด์ (Nucleosides) ในเซลล์ที่ติดเชื้อ

    ยาไรบาไวริน (Ribavirin) อย่างโคเพกัส (Copegus) โมเดริบา (Moderiba) เรเบทอล (Rebetol)  รีบาสเฟียร์ (Ribasphere) รีบาสเฟียร์ ริบาพาค (Ribasphere RibaPak) หรือไวราโซล (Virazole) เป็นยาเพียงชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ยานี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาอินเตอร์เฟอรอนเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี นอกจากนี้ ยังอาจต้องใช้การรักษาด้วยยาสามชนิดร่วมกับยาอินเตอร์เฟอรอนและยาโปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ โดยไม่สามารถใช้ยานี้เพียงชนิดเดียวได้

    โปรดระมัดระวังการใช้ยาไรบาไวรินหากคุณเคยเป็น โรคหัวใจ หรือกำลังตั้งครรภ์ ยานี้ยังอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดความพิการแต่กำเนิด และยานี้ยังสามารถทำให้การเจริญเติบโตด้อยกว่าปกติในผู้ป่วยเด็ก ความเสี่ยงนี้อาจถ่ายโอนจากชายสู่คู่รักหญิงในระหว่างการปฏิสนธิ

    ยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์และการรักษาด้วยยาหลายชนิดร่วมกัน

    ยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์ จะป้องกันไม่ให้หน่วยโครงสร้างของไวรัสตับอักเสบมารวมตัวกัน ยาเหล่านี้มีทั้งยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์โซวาลดิ (Sovaldi) อย่างยาโซฟอสบูเวียร์ (Sofosbuvir) ยาโซวาลดิ ทำงานโดยยับยั้งอาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNA polymerase) ที่ไวรัสตับอักเสบซีใช้เพื่อสร้างอาร์เอ็นเอของตัวเองซ้ำ ในบางครั้งอาจใช้ยานี้ร่วมกับยาไรบาไวรินเป็นเวลานานถึง 24 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยานี้ยังใช้กับผู้ที่ติดเชื้อทั้งไวรัสตับอักเสบซีและไวรัสเอชไอวี

    ยารวมกันระหว่างยาเลดิพาสเวียร์ (Ledipasvir) และยาโซฟอสบูเวียร์ (Sofosbuvir) อย่างยาฮาร์โวนิ (Harvoni) นั้นใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จีโนไทป์ 1 (HCV genotype 1) เรื้อรังในผู้ใหญ่ ยาเลดิพาสเวียร์จัดเป็นยาเอ็นเอส 5เอ อินฮิบิเตอร์ (NS5A inhibitor) ที่จะปิดกั้นการก่อตัวของโปรตีนที่ช่วยให้เชื้อไวรัสทำสำเนาตัวเอง ส่วนยาโซฟอสบูเวียร์เป็นยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์ที่ป้องกันไม่ให้หน่วยโครงสร้างของไวรัสตับอักเสบมารวมตัวกัน

    ยาเหล่านี้ควรรับประทานพร้อมกับอาหารและไม่ควรบดยา ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีทั้งอาการคลื่นไส้ คัน นอนไม่หลับ และอ่อนแรง

    การแพทย์ทางเลือก

    บางคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีต้องการที่จะมีโอกาสในการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการรักษาด้วยใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน

    รากชะเอมเทศ (Licorice Root)

    รากชะเอมเทศ พบได้มากในเขตเอเชียและตะวันออกกลาง ในบางครั้งสมุนไพรนี้จะใช้สำหรับการเยียวยาด้วยตนเองที่บ้านเพื่อรักษาการติดเชื้อ แผลอักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) รากชะเอมเทศนั้นมีทั้งในรูปแบบยาแคปซูล ยาผง ยาน้ำสารสกัด และยาเม็ด นอกจากนี้ สมุนไพรชนิดนี้ ยังสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะคั่งน้ำได้ (water retention)

    มิลค์ ทิสเซิล (Milk Thistle)

    มิลค์ ทิสเซิล พบได้มากในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในอดีตสมุนไพรนี้จะใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคตับอักเสบ ภาวะคอเลสเตอรอลสูง และโรคตับ สมุนไพรนี้ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งยาแคปซูลและสารสกัด บางครั้งอาจใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในการแพทย์ทางเลือก แต่ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ ฉะนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรักษาด้วยสมุนไพรนี้หรือสมุนไพรอื่น ๆ

    ยาที่พบได้มากที่สุดในการใช้รักษาโรคตับอักเสบนั้นมีทั้งยาอินเตอร์เฟอรอน ยาต้านไวรัสโปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ ยาต้านไวรัสนิวคลีโอไทด์ อนาล็อก ยาพอลิเมอเรส อินฮิบิเตอร์และการรักษาด้วยยาหลายชนิดร่วมกัน และการแพทย์ทางเลือก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นตัวเลือกในการรักษาใด ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา