backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto's Thyroiditis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2021

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto's Thyroiditis)

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto’s Thyroiditis) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมเล็กๆ ทิ่อยู่ภายในลำคอ ต่อมไทรอยด์เป็นส่วนหนึ่งของของระบบไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน

คำจำกัดความ 

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน คืออะไร

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto’s Thyroiditis) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายต่อมไทรอยด์ ในระยะยาวร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ได้

พบได้บ่อยเพียงใด

อย่างไรก็ตามโรคดังกล่าวนี้พบได้ในทั้งเพศหญิงและเพศชายและในวัยเด็ก โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยกลางคน

อาการ

อาการของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

อาการของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกันในระยะแรกของผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณด้านหน้าของคอ เนื่องจากต่อมไทรอยด์โต โดยผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ร่างกายรู้สึกหนาวเย็น
  • ท้องผูก
  • ใบหน้าบวม
  • ลิ้นบวม
  • เล็บเปราะบาง
  • ผมร่วง
  • น้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการปวดข้อ ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกันนั้นยังไม่มีสาเหตุที่ทราบชัดเจน  เซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายระบบภูมิคุ้มกันต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ต่ำกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกันสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่ส่วนใหญ่มักในเพศหญิงช่วงอายุวัยกลางคน  รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ดังนี้

  • เพศ โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิง
  • อายุ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคน
  • พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน อาจส่งผลให้สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเป็นได้เช่นกัน
  • โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคไขข้ออักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

การวินิจฉัยโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกันแพทย์อาจเริ่มจากการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ในตัวคุณ ว่าอยู่ในระดับต่ำหรือไม่ และระดับฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ในเลือด (Thyroid-stimulating Hormone; TSH) สูงขึ้นหรือไม่

หากระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง หมายความว่าระบบภายในร่างกายจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ให้มากกว่าเดิม นอกจากนี้แพทย์ยังตรวจ ฮอร์โมนไทรอยด์อื่นๆ วัดระดับคอเลสเตอรอล ตรวจภูมิต้านทานภายในร่างกาย เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

วิธีการรักษาโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน แพทย์อาจจ่ายยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) ที่เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดเม็ด ช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย (การรับประทานยาดังกล่าวนี้จะไม่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพใดๆ)

ตัวยานั้นแพทย์จะปรับให้ตามอายุ น้ำหนัก อาการต่างๆ ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำเพื่อทำการวัดผลระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับได้โดยมีวิธี ดังนี้

  • การรับประทานอาหารเสริม เช่น ธาตุเหล็ก อาหารเสริมแคลเซียม ยาลดคอเลสเตอรอลบางชนิด ยาฮอร์โมนเพศหญิง

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา