backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้

คำจำกัดความ

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คืออะไร

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อยู่ในลำคอและสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่การทำงานบางประการของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบประสาท และความคุมความร้อนในร่างกาย แต่ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พบได้บ่อยเพียงใด

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ผู้หญิงมักมีภาวะดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ได้แก่

  • กระสับกระส่าย
  • มีเหงื่อออก
  • อ่อนเพลีย
  • หัวใจเต้นแรงหรือไม่เป็นจังหวะ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (Trial fibrillation)

อาการอื่น ๆ ได้แก่

  • ดวงตาระคายเคือง
  • น้ำหนักลด
  • มีความไวต่อความร้อน
  • ขับถ่ายอุจจาระหรือท้องเสียบ่อย
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์ (Graves’s disease)
  • มีต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก)
  • อาจมีตาโปน (Exophthalmos)

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการบวมที่คอส่วนล่าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ควรไปพบคุณหมอ และต้องอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลง ที่คุณสังเกตได้โดยละเอียดเนื่องจากสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจสัมพันธ์กับภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก

หากคุณได้เข้ารับการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแล้ว หรือเข้ารับการรักษาในเร็ว ๆ นี้ ให้เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้แพทย์สามารถเฝ้าดูอาการของคุณได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โดยเฉพาะโรคเกรฟส์ อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมและพบได้ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย หากมีสมาชิกในครอบครัวมีภาวะเกี่ยวกับไทรอยด์ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลต่อสุขภาพของคุณ และคำแนะนำของแพทย์สำหรับการเฝ้าระวังหน้าที่การทำงานของต่อมไทรอยด์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด แพทย์ยังอาจจะให้มีการสแกน หรืออัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์เพื่อให้ได้ภาพถ่ายของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้แพทย์ยังอาจแนะนำให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านไทรอยด์

การรักษาต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

แพทย์จะทำการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โดยการลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายของคุณ ระดับฮอร์โมนสามารถลดลงได้ด้วยการใช้ยา การฉายแสง หรือการผ่าตัด

  • อาจจำเป็นต้องใช้ยาเป็นเวลาสองสามเดือน สองสามปี หรือมากกว่า ยาที่ช่วยป้องกันการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ยาโพรพิลไทโอยูราซิล (Propylthiouracil: PTU) และยาเมทิเมโซล (Methimezole) ยาดังกล่าวสามารถใช้เป็นการรักษาหลักหรือเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาอื่น ๆ
  • สารกัมมันตรังสีไอโอดีน (Radioactive iodine) ใช้เพื่อทำลายฮอร์โมนไทรอยด์ การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการรักษาที่ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 21 ปี และผู้ที่อายุน้อยกว่า ที่ไม่สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ด้วยการใช้ยา
  • การผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วย ที่มีต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่ที่ปิดกั้น หรือแทรกแซงอวัยวะอื่น ๆ ในลำคอ ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน อาจใช้วิธีการผ่าตัดได้ ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดอีกด้วย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง ที่ช่วยรับมือต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้

  • ให้ป้องกันดวงตาหากมีอาการแทรกซ้อน เกี่ยวกับดวงตาจาดโรคเกรฟส์ ให้ใช้แว่นตากันแดดและน้ำตาเทียม และใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาในตอนกลางคืน
  • ให้ระลึกไว้ว่าสารกัมมันตรังสีไอโอดีน ไม่ควรใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจก่อให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ในทารกได้
  • ให้ระลึกไว้ว่าการรักษาที่ได้ผลหมายความว่า คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต แพทย์ต้องตรวจการเริ่มต้นของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) ภายหลังการรักษาและเพื่อป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำ ที่อาจเกิดขึ้นของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • ให้แจ้งแพทย์หากมีอาการใจสั่น (Palpitations) น้ำหนักลดลงอย่างมาก ท้องร่วง หรือตัวสั่น (Tremors)
  • ให้แจ้งแพทย์หากมีอาการกระสับกระส่าย กังวล หรืออารมณ์แปรปรวน
  • ห้ามออกกำลังกายจนกว่าจะควบคุมอาการได้
  • ห้ามสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจทำให้อาการเกี่ยวกับดวงตาแย่ลง
  • ให้ระลึกไว้ว่าอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัด อาจรวมถึงอาการอัมพาตของเส้นเสียง (Paralysis of vocal cords) ภาวะขาดไทรอยด์ และภาวะเกี่ยวกับแคลเซียมในร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้หากมีการผ่าตัดนำต่อมพาราไทรอยด์อกไปโดยไม่ตั้งใจ
  • ให้ระลึกไว้ว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจเกิดขึ้นซ้ำหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยร้อยละ 10 ถึง 15

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา