ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของต่อมน้ำเหลืองโต
หากต่อมน้ำเหลืองโตจากการติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดเป็นฝี หรือหนอง รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และอีกปัจจัยเสี่ยงที่พบได้น้อยของต่อมน้ำเหลืองโต คือ มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยและการรักษาต่อมน้ำเหลืองโต
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโต
เมื่อตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโต คุณหมออาจวินิจฉัยตามอาการดังต่อไปนี้
- สอบถามประวัติ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตเกิดขึ้นเมื่อใด มีลักษณะรูปร่าง ขนาดเปลี่ยนไปหรือไม่ รวมถึงอาการทางร่างกายอื่น ๆ
- การตรวจเลือด โดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (Complete Blood Count หรือ CBC) คือ การตรวจสอบเม็ดเลือดทุกชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และวินิจฉัย
- การตรวจตัวอย่างต่อมน้ำเหลือง โดยการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างจากต่อมน้ำเหลือง แล้วนำมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต
- การทดสอบด้วยภาพ คือการทำ CT Scan หรือ MRI เป็นการฉายภาพเพื่อดูบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการทำ CT Scan หรือ MRI นั้น ภาพที่ได้จะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า และคุณหมอสามารถวินิจฉัยข้อมูลเพิ่มเติมได้มากกว่าการเอกซ์เรย์
วิธีรักษาต่อมน้ำเหลืองโต
ต่อมน้ำเหลืองโตอาจเล็กลง หรือหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม การรักษาต่อมน้ำเหลืองโตอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละสาเหตุ โดยอาจมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- ใช้ยาต้านไวรัส หรือยาปฏิชีวนะ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบต่อมน้ำเหลืองโต
- ประคบร้อน อาจใช้ผ้าขนหนูจุ่มในน้ำอุ่น แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการเจ็บของต่อมน้ำเหลืองโต
- ดื่มน้ำมาก ๆ อาจช่วยขจัดของเสียและเชื้อโรคออกจากร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากโรค
แต่หากต่อมน้ำเหลืองโตจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือโรคมะเร็ง อาจต้องใช้วิธีรักษาเฉพาะ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย