backup og meta

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น

[embed-health-tool-heart-rate]

ภาวะหูอื้อ คืออะไร

หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB

วิธีทดสอบอาการหูอื้อ

เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้

  • ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง 
  • สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน

สาเหตุของหูอื้อ

สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1. การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหู การว่ายน้ำอาจทำให้เกิดน้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง รวมถึงอาการหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด 
  2. อวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง เกิดการผิดปกติ เช่น ประสาทหูเสื่อมจากอายุ การได้รับเสียงที่ดังมาก เช่น เสียงปืน เสียงระเบิด รวมถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ของร่างกายที่ส่งผลต่อประสาทรับเสียง เช่น การติดเชื้อของหูชั้นใน โรคที่เกี่ยวกับสมอง โรคโลหิตจาง โรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคมะเร็ง

หูอื้อ ทําไง

หากอาการหูอื้อไม่รุนแรง ไม่ได้เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยในร่างกาย สามารถใช้วิธีบรรเทาอาการหูอื้อได้ เช่น 

  • อาการหูอื้อจากการนั่งเครื่องบิน : ใช้การกลืนน้ำลาย การหาว หรือช่วงเครื่องบินลง ให้หายใจเข้าลึก ๆ บีบจมูก ปิดปาก แล้วเป่าลม
  • อาการหูอื้อหลังจากดำน้ำ : ให้ค่อย ๆ ดันลมออกทางหู คล้ายกับตอนนั่งเครื่องบิน โดยใช้มือบีบจมูก ปิดปาก แล้วเป่าลม
  • อาการหูอื้อจากขี้หูอุดตัน : ไม่ควรใช้คัตตอนบัดหรือไม้แคะหู เพราะจะยิ่งทำให้ขี้หูถูกดันเข้าไป ควรทำความสะอาดช่องหูบริเวณภายนอก และพบแพทย์เพื่อรับยาละลายขี้หู 
  • อาการหูอื้อจากน้ำเข้าหู : เอียงศีรษะให้หูข้างที่ไม่ค่อยได้ยิน ขนานไปกับพื้นและเขย่าตัวเบา ๆ ให้น้ำไหลออกมา หรือเอียงศีรษะลงบนฝ่ามือ กดหูเบา ๆ แล้วคลายออก ซึ่งควรทำขณะที่หูข้างที่มีน้ำขนานกับพื้น

สำหรับอาการหูอื้อ ที่มาจากสาเหตุอื่น เช่น การได้ยินเสียงดังมาก ๆ การเจ็บป่วยของร่างกาย หรือหูอื้อจากโรคต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการประเมินระดับการได้ยิน ควบคู่กับการรักษาโรคที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

“น้ำเข้าหู” เอาออกด้วยตัวเองได้ ง่ายนิดเดียว

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B9-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95/

accessed June 29, 2023

หูอื้อ

https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=486 

accessed June 29, 2023

ขี้หู อุดตัน…ทำอย่างไรดี

https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=748 

accessed June 29, 2023

หูไม่ได้ยิน..จะให้ทำอย่างไร

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=803 

accessed June 29, 2023

“น้ำเข้าหู” เอาออกด้วยตัวเองได้ ง่ายนิดเดียว

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B9-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95/ 

accessed June 29, 2023

ขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ ทำอย่างไรดี

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B7/ 

accessed June 29, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/03/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิวที่ติ่งหู สาเหตุ การป้องกัน และการรักษา

หูชั้นในอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา