backup og meta

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/10/2021

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย

ขี้หู (Earwax) เป็นของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นตามปกติและมีความสำคัญ หลายคนชอบแคะหูเพราะรู้สึกว่าขี้หูนั้นน่ารังเกียจจนต้องกำจัดออก แต่ทราบหรือไม่ว่าวิธีนี้กลับส่งผลให้เกิดอาการ ขี้หูอุดตัน ทำให้อาจจะได้ยินไม่ชัดเจน เพราะขณะแคะหูก็กลายเป็นการดันขี้หูเข้าไปนั่นเอง

ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction)

ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction) เกิดจากการสะสมของขี้หูที่อยู่บริเวณหูชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะแห้งและแข็งจนไม่สามารถหลุดออกได้เองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นภาวะอุดตันในรูหู

ขี้หูอุดตันได้อย่างไรกัน

โดยปกติขี้หูจะช่วยในการดักจับฝุ่นละออง เศษผง หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปในรูหูด้านใน รวมทั้งช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญภายในรูหูอย่างเช่น “แก้วหู” ไม่ให้ถูกทำลาย จากนั้นขี้หูก็จะเกิดการหลุดลอกออกมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะแห้งและร่วงไปเองโดยไม่ต้องใช้วิธีการแคะออก

ทั้งนี้หากมีขี้หูมากเกินไปหรือไม่สามารถหลุกออกได้เองตามปกติ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการขี้หูอุดตันได้ ซึ่งพบว่ามักจะมีสาเหตุมาจากการใช้สำลีพันก้านหรือ คอตตอนบัด เช็ดในช่องรูหูและดันขี้หูเข้าไปในข้างในลึกมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีช่องหูตีบแคบอันเกิดจากการติดเชื้อหรือโรคผิวหนัง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง ที่อุดหู หรือหูฟังแบบสอดเข้าไปในหู ก็มีผลทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้เช่นกัน

5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีขี้หูอุดตัน

  • รู้สึกหูอื้อข้างที่อุดตัน
  • มีอาการปวดหู การได้ยินลดลง
  • ได้ยินเสียงดังเกิดขึ้นภายในหู
  • มีอาการคันในบริเวณหูหรืออาจจะมีของเหลวไหลออกจากหู อีกทั้งอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • ไอและเวียนศีรษะ

อาการที่กล่าวมานี้บ่งชี้ได้ถึงการอุดตันของขี้หู ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภายในช่องหู เพราะอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน

รักษาได้ แค่ใช้เครื่องดูดขี้หูจริงรึเปล่า

วิธีรักษาอาการขี้หูอุดตันด้วยการใช้ “เครื่องดูดขี้หู” เป็นวิธีที่น่าสนใจ โดยแพทย์เฉพาะทางในด้านหู คอ จมูก หรือที่เรียกว่าโสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngologist) จะใช้เครื่องมือสำหรับดูดขี้หูโดยเฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ดูดขี้หู อุปกรณ์คีบหรือเขี่ย และอุปกรณ์อื่นๆ ทางการแพทย์

ระหว่างที่แพทย์ดูดขี้หูนั้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคัน ระคายเคือง หรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยและมีอาการไอ เนื่องจากภายในรูหูจะมีแขนงเส้นประสาทสมองมาเลี้ยงบริเวณนั้นด้วย พอถูกกระตุ้นจึงก่อให้เกิดอาการเหล่านั้น

วิธีป้องกันขี้หูอุดตัน

เราควรหลีกเลี่ยงการใช้สำลีพันก้านหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ในการแคะหู เพื่อไม่ให้เกิดการดันขี้หูเข้าไปจนเกิดอาการขี้หูอุดตัน ส่วนผู้ที่มีรูหูแคบหรือเป็นโรคผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับวิธีกำจัดขี้หูออกไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/10/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา