โรคหู

หู คือส่วนสำคัญในประสาทการรับฟังเสียง หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหู ก็อาจส่งผลกระทบต่อการรับฟัง และทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเกิดปัญหาขึ้นได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหู ตั้งแต่โรคที่พบได้บ่อย ตลอดไปจนถึงการดูแลรักษาสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคหู ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหู

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

สำรวจ โรคหู

โรคหู

เสียงดัง ที่ได้ยินในชีวิตประจำวัน ดังแค่ไหนถึงเป็นอันตราย

เสียง เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของเรา แต่เสียงก็อาจทำร้ายเราได้ ถ้าเป็นเสียงที่ดังจนเกินไป หรือการได้ยิน เสียงดัง ต่อเนื่องนานจนเกินไป เสียงทำร้ายสุขภาพหูของเราได้อย่างไร และเสียงดังขนาดไหนจึงถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลมาฝากกันแล้ว [embed-health-tool-bmr] เสียงดัง แค่ไหนถึงเป็นอันตราย ข้อมูลจากสถาบันโรคหูหนวกและอาการผิดปกติด้านการสื่อสารอื่น (National Institute on Deafness and Other Communication Disorders) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่าระดับเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวัน ที่วัดคำดังได้ต่ำกว่า 75 เดซิเบล ถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าระดับความดังเกิน 85 เดซิเบล และได้ยินซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยิน โดยเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวันมีระดับความดังของเสียง ดังนี้ การสนทนาตามปกติ 60 เดซิเบล เครื่องผสมอาหาร  65-85 เดซิเบล เครื่องดูดฝุ่น 70-80 เดซิเบล การจราจรบนท้องถนนที่หนาแน่น 85 เดซิเบล ไดร์เป่าผม 80-90 เดซิเบล นาฬิกาปลุก 80-90 ระฆัง 85-110 เดซิเบล […]


โรคหู

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss)

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร เกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน หรืออยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น คำจำกัดความภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงคืออะไร ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร หรือที่เรียกว่าอาการ หูตึง สาเหตุเกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณอยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น เช่นที่ซึ่งมีเสียงปืนหรือระเบิด ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น เสียงรบกวนจะส่งผลเสียต่อการได้ยินของคุณหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความดังของเสียง ความแหลมสูงเสียง และระยะเวลาที่คุณได้ยินเสียง ความดังของเสียง (หน่วยวัดเป็นเดซิเบล หรือ dB) และระยะเวลาที่ได้ยินเสียงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความเสียหายจะเกิดขึ้น เมื่อได้ยินเสียงที่ดังยิ่งขึ้นในเวลาอันสั้น เช่น การได้ยินเสียงดัง 85 เดซิเบลเป็นเวลา 8 ชั่วโมงทุกวัน อาจทำให้หูเสียหายเมื่อเวลาผ่านไป การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ (เสียงดังประมาณ 100 เดซิเบล) ใช้หูฟังเสียงดัง (ประมาณ 110 เดซิเบล) เข้าร่วมคอนเสิร์ตเพลงร็อค (ประมาณ 120 เดซิเบล) หรือได้ยินเสียงปืน (140 ถึง […]


โรคหู

น้ำเข้าหู ทำอย่างไรดี วิธีเหล่านี้ช่วยคุณได้

น้ำเข้าหู เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณไปว่ายน้ำ หรือเวลาอาบน้ำสระผม ซึ่งเมื่อมีอาการน้ำเข้าหู คุณอาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ [embed-health-tool-bmr] อาการน้ำเข้าหู น้ำเข้าหู คือภาวะที่มีน้ำอยู่ในหู ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดในใบหู และความรู้สึกนี้อาจขยายไปถึงช่วงกระดูกขากรรไกรหรือช่วงคอ นอกจากนี้อาการน้ำเข้าหูอาจทำให้คุณไม่ได้ยินเสียง หรือฟังเสียงได้ไม่ชัด ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมีอาการน้ำเข้าหู น้ำจะระบายออกมาเอง แต่หากน้ำอยู่ในหูเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การติดเชื้อในหูได้ หากคุณมีอาการน้ำเข้าหู สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ น้ำเข้าหูทำอย่างไรดี 1.ดึงใบหูส่วนล่างเบาๆ วิธีนี้อาจทำให้น้ำออกจากหูของคุณทันที โดยให้ดึงติ่งหูเบาๆ หรือกระตุกติ่งหู และตะแคงศีรษะลงไปด้านข้างเพื่อให้น้ำระบายออกจากหู 2.ใช้แรงโน้มถ่วงช่วย วิธีนี้อาจทำให้น้ำในหูระบายออกมา โดยให้คุณนอนตะแคงข้างในด้านที่มีอาการน้ำเข้าหู เช่น น้ำเข้าหูข้างซ้ายให้คุณนอนตะแคงด้านซ้าย และให้คุณนำผ้าเช็ดตัวมารองไว้ที่หูเพื่อซับน้ำ วิธีนี้จะทำให้น้ำค่อยๆ ระบายออกมาจากหู 3.ใช้ไดร์เป่าผม ความร้อนจากไดร์เป่าผมสามารถช่วยทำให้น้ำภายในหูระเหยออกไปได้ โดยวิธีใช้ไดร์เป่าผมคือให้คุณเปิดไดร์เป่าผมในระดับที่เบาที่สุด และถือไดร์เป่าผมให้ห่างจากใบหูประมาณ 1 ฟุต จากนั้นขยับไดร์เป่าผมไปด้านหน้าและด้านหลังขณะเป่า โดยคุณอาจดึงติ่งหูลงเพื่อให้อากาศจากไดร์เป่าผมเข้าไปในหู 4.น้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอกสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในหูได้ และช่วยอาการน้ำเข้าหูได้ดังนี้ ใส่น้ำมันมะกอกลงไปในที่หยอดหูที่สะอาด และหยอดน้ำมันมะกอกลงไปในหูประมาณ 1-2 หยด เอียงใบหูลงกับพื้น เพื่อให้น้ำและน้ำมันมะกอกระบายออกมา 5.หาว หรือเคี้ยว หากมีน้ำติดอยู่ในท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับคอ การขยับปากสามารถช่วยให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกได้ ดังนั้นการหาวหรือการเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยบรรเทาความตึงของท่อยูสเตเชียน โดยให้คุณหาวหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จากนั้นเอียงศีรษะเพื่อให้น้ำระบายออกจากหู 6.เพิ่มน้ำเข้าไปในหู เทคนิคนี้อาจฟังดูไม่มีเหตุผล แต่สามารถช่วยทำให้น้ำออกจากหูได้ ให้คุณหยอดน้ำลงในหูข้างที่มีอาการน้ำเข้าหู จากนั้นเอียงหูข้างที่น้ำเข้าหูลงเพื่อให้น้ำระบายออกมา 7.ใช้แอลกอฮอล์และน้ำส้มสายชู แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้น้ำในหูระเหยออก นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังช่วยขจัดแบคทีเรียซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในหู และถ้าคุณมีอาการน้ำเข้าหูเนื่องจากขี้หูสะสม น้ำส้มสายชูอาจช่วยได้ ดังนี้ ใช้แอลกอฮอล์ ½ ช้อนชา และน้ำส้มสายชู […]


โรคหู

เนื้องอกบนเส้นประสาทหู (Acoustic Neuroma)

เนื้องอกบนเส้นประสาทหูคืออะไรเนื้องอกบนเส้นประสาทหู หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Vestibular schwannoma เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง เนื้องอกนี้ส่งผลกระทบกับเส้นประสาทที่เชื่อมต่อจากหูไปยังสมอง เส้นประสาทนี้มีชื่อเรียกว่า เส้นประสาทคู่ที่ 8 (Vestibular nerve) เนื้องอกนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเซลล์ที่อยู่รอบๆ เส้นประสาทคู่ที่ 8 เซลล์เหล่านั้นเรียกว่าเซลล์ชวานน์ (Schwann Cells) หากเกิดเนื้องอกชนิดนี้ขึ้นมา อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ เวียนหัว และมีปัญหากับการทรงตัว เนื้องอกนี้อาจเกิดในหูข้างเดียว หรือทั้งสองข้างเลยก็ได้ เนื้องอกบนเส้นประสาทหูพบบ่อยแค่ไหนเนื้องอกบนเส้นประสาทหูเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี คุณสามารถลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกบนเส้นประสาทหูได้ ปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม รู้จักกับอาการของโรคเนื้องอกบนเส้นประสาทหูทำให้เกิดอาการอย่างไรบ้าง อาการที่พบมากที่สุดในจำนวน 90% ของผู้ป่วยคือการสูญเสียการได้ยิน อาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนสูญเสียการได้ยินไปทั้งหมด อาการอื่นๆ ที่พบได้แก่ การสูญเสียสมดุลในการทรงตัว และอาการหูอื้อ (ได้ยินเสียงวิ้ง ๆ ในหู) นอกจากนี้ เนื้องอกอาจกดทับบนเส้นประสาท ทำให้ไร้ความรู้สึก เหน็บชาบนใบหน้า หรือเป็นอัมพาตที่ใบหน้า (ไม่สามารถแสดงสีหน้าใดๆ ได้) ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกินพื้นที่ในสมองก็จะทำให้ปวดหัว เดินเหินได้เชื่องช้างุ่มง่ามและสับสน นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีข้อสงสัยเรื่องอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบหมอเมื่อไรหากคุณมีอาการใดๆ ที่สื่อว่าจะเป็นเนื้องอกบนเส้นประสาทหู […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน