จะต้องแจ้งให้แพทย์ของคุณทราบเมื่อคุณเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่หายไปเอง อาการปวดกล้ามเนื้ออาจเป็นสัญญาณแสดงของปัญหาที่ซ่อนอยู่
การวินิจฉัยและตรวจอาการปวดกล้ามเนื้อ
เมื่อความเจ็บปวดของคุณรุนแรงมากกว่าเดิม ควรที่จะพบคุณหมอเพื่อระบุหาต้นเหตุ โดยแพทย์จะขอให้คุณอธิบายลักษณะของอาการปวดนั้นๆ แล้วจึงจะสามารถแนะนำการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ โดยคำถามทั่วไปที่แพทย์อาจซักถามคุณ ได้แก่
- ความรู้สึกเจ็บนั้นมาจากไหน
- รู้สึกปวดแปลบหรือปวดตื้อๆ
- คุณรู้สึกเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน หรือปวดมากขึ้นในตอนกลางคืน หรือในระหว่างวัน
- ระดับของความเจ็บปวดที่คุณรู้สึก (เล็กน้อย ปานกลางหรือรุนแรง)
- คุณได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยใดๆ เมื่อไม่นานมานี้หรือไม่
- คุณเล่นกีฬาอะไรหรือไม่
- คุณมีกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันมากน้อยแค่ไหน
การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ
อาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยถึงปานกลางที่เกิดขึ้นในระหว่างทำกิจกรรมอาจสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพบหมอ ความเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการใช้งานมากไป หรือเกิดการฉีกขาดมักมีอาการดีขึ้นจากการรักษาเยีบวยาด้วยตนเอง โดยแนะนำให้คุณปฏิบัติตัวขั้นต้นตามแนวทางดังต่อไปนี้
- หยุดพัก
- ประคบถุงน้ำแข็งบริเวณที่เจ็บปวดนาน 20 นาที โดยทำซ้ำหลายๆ ครั้งต่อวัน
- ใช้ผ้าพันรัดเพื่อลดการบวม
- ยกเท้าขึ้นสูงเพื่อลดอาการบวม
อย่างไรก็ตาม อาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงอาจต้องการการดูแลจากแพทย์โดยทันที ถ้าคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ คุณควรพบหมอ
- เมื่ออาการเจ็บปวดไม่หายไปหลังจากใช้วิธีการเยียวยาตัวเองแล้วสองสามวัน
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นพร้อมผื่น
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากโดนเห็บกัด
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันทีหลังเริ่มใช้ยาชนิดใหม่
- เวียนศีรษะหรือมีปัญหากับการหายใจ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างรุนแรง
- ไข้สูงและคอแข็ง
ถ้าคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อควบคู่กับอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน ควรไปพบคุณหมอทันที
- เริ่มเกิดอาการบวมน้ำอย่างฉับพลัน และ/หรือปริมาณปัสสาวะลดลง
- กลืนลำบาก
- อาเจียนและหรือมีไข้
- หายใจไม่ทัน
- ภาวะติดแข็งที่บริเวณคอ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไม่สามารถขยับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บของร่างกาย
เคล็ดลับในการจัดการอาการปวดกล้ามเนื้อ
ถ้าคุณเล่นกีฬาหรือทำงานหนักเป็นประจำ มีหลายวิธีในการป้องกันและควบคุมความเจ็บปวดกล้ามเนื้อ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปลองทำได้
- ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายเสมอ
- อย่าข้ามขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำมากๆ ก่อน ในระหว่าง และหลังจากการออกกำลังกาย
- ถ้าคุณทำงานท่าเดียวเกือบทั้งวัน เช่น การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ควรยืดกล้ามเนื้อในทุกๆ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
- การออกกำลังกายตามปกติสามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อได้ หลังจากหายเจ็บ โดยคุณสามารถเริ่มจากการออกกำลังกายง่ายๆ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน และว่ายน้ำ
- พบนักกายภาพบำบัดซึ่งสามารถสอนให้คุณเหยียดกล้ามเนื้อ การฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน และการเต้นแอโรบิก ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเสมอ และไม่เจ็บกล้ามเนื้อ
- เริ่มต้นช้าๆ และเพิ่มระดับการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมการเต้นแอโรบิกที่มีแรงกระแทกสูง หรือการยกเวทเมื่อยังมีอาการบาดเจ็บหรือรู้สึกเจ็บอยู่
- อย่าลืมนอนหลับให้เพียงพอ และพยายามลดความเครียดลง การเล่นโยคะและการนั่งสมาธิเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่จะช่วยให้คุณนอนหลับและผ่อนคลาย
อาการปวดกล้ามเนื้อโดยทั่วไปไม่ใช่อาการรุนแรง แต่สามารถจัดการและป้องกันได้อย่างง่ายดาย อย่าลืมใช้วิธีป้องกันเมื่อคุณต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานร่างกายหนัก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย