ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

การ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก หมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น และเส้นประสาท โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ปวดหลัง หรือมีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้ออักเสบ สาเหตุ อาการ การรักษา

กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การออกกำลังกายหักโหม การติดเชื้อ โดยเมื่อเป็นแล้ว มักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อบวม และในบางรายอาจกลืนอาหารลำบาก [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ กล้ามเนื้ออักเสบ คืออะไร กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) หมายถึง กล้ามเนื้อมีอาการปวดบวมจนทำให้รู้สึกเจ็บ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นภาวะภูมิแพ้ตัวเองรูปแบบหนึ่ง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อ หรือการออกกำลังกายหักโหม ทั้งนี้ กล้ามเนื้ออักเสบแบ่งย่อยได้หลายชนิด แต่ที่พบบ่อยและรู้จักกันดี ได้แก่ Polymyositis เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหลายมัดในเวลาเดียวกัน โดยมักเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ สะโพก หรือต้นขา ปกติแล้ว กล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี Dermatomyositis เป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับมีผดผื่นตามร่างกาย พบมากในผู้หญิงรวมทั้งเด็ก และผู้ที่เป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้มักเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า Inclusion Body Myositis หมายถึง กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณแขน ต้นขา และกล้ามเนื้อตั้งแต่หัวเข่าลงไป มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และบางครั้ง กล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อลำคอ ทำให้กลืนอาหารลำบาก อาการ อาการของกล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อป่วยเป็นกล้ามเนื้ออักเสบมักส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม เช่น […]

สำรวจ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)  คืออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง   คำจำกัดความกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints) คืออะไร กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เจ็บหน้าแข้ง (Shin Splints)  คือ อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง อย่างไรก็ตามอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉันและทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป พบได้บ่อยเพียงใด อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายบ่อยๆ ที่ต้องใช้แรงค่อนข้างมาก เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาเทนนิส กีฬาบาสเกตบอล อาการอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบจะมีอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดบริเวณหน้าแข้ง ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกหน้าแข้ง ปวดตามส่วนด้านในของกระดูกหน้าแข้ง อาการบวมบริเวณหน้าแข้ง (ระดับไม่รุนแรง) รู้สึกชาและอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ เป็นผลมาจากการที่กระดูกบริเวณหน้าแข้งและเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกหน้าแข้งถูกใช้งานบริเวณนั้นซ้ำ ๆ มากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบวม การอักเสบ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจทำให้กระดูกบริเวณนั้นหักได้ ปัจจัยเสี่ยงของ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ ปัจจัยดังต่อไปนี้มีผลทำให้ผู้ป่วยมี อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อการออกกำลังกาย […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันได้ง่าย ๆ เพียงแค่เปลี่ยนอิริยาบถ

ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยสำหรับกลุ่มคนวัยทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนไปนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินในชีวิตประจำวันด้วย  บทความนี้ Hello คุณหมอ นำวิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรม แบบง่าย ๆ มาฝากทุกคนกันคะ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ภัยเงียบที่กำลังคุกคามพนักงานออฟฟิศในรูปแบบของโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับความปวดเมื่อยขั้นรุนแรงที่ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ จนส่งผลเสียต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เชื่อหรือไม่ว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมการทำงานของเราเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป  ท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกวิธี เช่น นั่งหลังค่อม ก้มหรือเงยคอมากเกินไป เพราะฉะนั้น เรียนผูกต้องเรียนแก้ ดั่งสุภาษิตไทยได้กล่าวไว้ เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเราเอง เราก็สามารถหลีกเลี่ยงออฟฟิศซินโดรมตัวร้ายได้เช่นกัน เปลี่ยนท่านั่งยั้งอาการ ออฟฟิศซินโดรม ท่านั่งทำงานนับเป็นจุดเล็ก ๆ ที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ละเลยที่จะให้ความสนใจ แต่หารู้ไม่ว่า หากหันมาสนใจท่านั่งระหว่างทำงานสักนิด แค่นี้ก็ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ออาการออฟฟิศซินโดรมแล้วแถมยังช่วยเสริมบุคลิกของคุณให้ดูดีได้อีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากเสียบุคลิกและได้เพื่อนสนิทชื่อ ออฟฟิศซินโดรมเป็นของแถม มาเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้องตามนี้กันเลย ควรนั่งหลังตรงยืดไหล่คอตั้งตรง กรณีที่เก้าอี้มีพนักพิง ควรนั่งให้ก้นเต็มเก้าอี้ และหลังพิงพนักเก้าอี้พอดี ท่านี้เป็นท่านั่งที่ช่วยเสริมให้นั่งหลังตรงได้โดยอัตโนมัติและสามารถช่วยแก้ปัญหาระบบกระดูกโค้งงอผิดรูปที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม กรณีที่เก้าอี้ไม่มีพนักพิง ผู้ทำงานควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้นเช่นกันและพยายามนั่งหลังตรงเสมอ เพื่อช่วยลดปัญหาความผิดปกติของระบบกระดูกที่เป็นสาเหตุของการนั่งผิดท่า ข้อศอกและแขนควรทำมุมในระดับ 90 – 120 องศา เมื่อวางบนคีย์บอร์ด ปล่อยขาให้อยู่ในท่าที่สบาย ๆ ไม่งอขาเข้ามาข้างใน […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

หากคุณลองสังเกตตนเองว่าร่างกายคุณเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเมื่อใด โปรดอย่าปล่อยทิ้งไว้นานควรสำรวจอาการ และรีบเร่งรักษา หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาจากนักบำบัดโดยด่วน เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ได้ คำจำกัดความ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย คืออะไร โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เป็นกลุ่มอาการของโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลให้คุณรู้สึกปวดกล้ามเนื้ออย่างหนักทางร่างกาย และอาจส่งผลกระทบต่อสุภาพจิตร่วม เนื่องจากอาการปวดเมื่อยเรื้อรังนี้อาจทำให้คุณรู้สึกอารมณ์แปรปรวน ระบบประสาททำงานไม่เต็มที่ และนำไปสู่อาการนอนไม่หลับในยามกลางคืน เพราะความปวดเมื่อยรุนแรง โรคไฟโบรมัยอัลเจีย พบบ่อยเพียงใด ตามสถิติของสถาบันโรคข้ออักเสบ กล้ามเนื้อ และกระดูกแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่ประสบกับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ส่วนมากเป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ อาการอาการของ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ความเจ็บปวดนี้สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย จากนั้นอาจจะค่อย ๆ ลุกลามไปในวงกว้าง ซึ่งสัญญาณเตือน หรืออาการแรกเริ่มของโรคไฟโบรอัลเจีย มีดังนี้ รู้สึกปวด และตึงที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อค่อนยืดหยุ่นได้น้อย ลุกลามไปยังบริเวณใบหน้า หรือเส้นกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับความเจ็บปวดที่แรก อาการนอนไม่หลับ หรือเริ่มนอนผิดเวลา อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome; RLS) มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ความจำ ทำให้คุณไม่มีสมาธิ ที่เรียกกันว่า “fibro fog” อาการลำไส้แปรปรวน อาการของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ดังนั้นหากเกิดอาการใด ๆ เพิ่มเติม ที่มีความรุนแรงขึ้น […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic)  ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว คำจำกัดความกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่นั่งเป็นเวลานาน อาการกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกปวดบริเวณก้น นั่งลำบาก รู้สึกปวดมากขณะกำลังนั่ง เช่น นั่งเบาะรถยนต์ ปวดบริเวณสะโพกร้าวลงมาบริเวณขา ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น นั่งทำงาน ขับรถเป็นระยะเวลานานไม่ได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท สาเหตุส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เกิดจากการที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเกิดการอักเสบ โดยมีสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ออกกำลังกายมากจนเกินไป การนั่งเป็นเวลานาน การยกของหนัก ๆ การบิดสะโพกอย่างกะทันหัน อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คนที่นั่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น นั่งอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน อยู่หน้าโทรทัศน์เป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายหนักใช้ร่างกายส่วนล่างบ่อย ๆ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หากคุณรู้สึกปวดและชาบริเวณสะโพก […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดต้นคอ บ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ รีบรักษาก่อนสายเกินไป

สำหรับใครที่ประสบปัญหาปวดบริเวณต้นคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน เชื่อว่าต้องประสบกับปัญหานี้อย่างแน่นอน บางรายเมื่อเกิดอาการปวด จึงซื้อยามารับประทาน เพียงไม่กี่วันก็กลับมาหายเป็นปกติ แต่บางราย กินยาหลายครั้งก็ไม่หายขาดสักที เป็น ๆ หาย ๆ ตลอด นั่นเป็นเพราะคุณอาจกำลังรักษาผิดวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา ของอาการ “ปวดต้นคอ” กันค่ะ หากรักษาอย่างถูกต้อง รับรองได้เลยว่าอาการปวดที่เป็นอยู่นั้นจะบรรเทาลงอย่างแน่นอน ปวดต้นคอ (Neck Pain) คืออะไร ปวดต้นคอ เป็นอาการปวดบริเวณต้นคอที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ รวมถึงการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นคอ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการปวดคอหากไม่ร้ายแรงมาก อาการจะหายไปเองในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการรุนแรงติดต่อกันนานถึง 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา 5 สาเหตุ ที่ทำให้คุณมีอาการปวดต้นคอ สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้ การได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การชน อาจทำให้เนื้อเยื่ออ่อนของคอเกิดอาการตึง รวมถึงการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย การเนื้อแข็งตึง พฤติกรรมในการใช้กล้ามเนื้อที่ผิดท่าและใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นนานมากเกินไป อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการแข็งตึง และรู้สึกปวดได้ เช่น การนั่งหลังค่อมทำงาน การนั่งเล่นโทรศัพท์ โรค ที่อาจส่งผลกระทบทำให้รู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เช่น […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดน่อง หนักมาก จะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ในแต่ละวันเรามีการใช้งานกล้ามเนื้อกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเดิน การวิ่ง หรือการออกกำลังกาย แต่การใช้กล้ามเนื้อที่มากจนเกินไปอาจเป็นผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอักเสบ และมีอาการเจ็บปวดตามมาได้ โดยเฉพาะช่วงขา เพราะต้องมีการเคลื่อนไหวด้วยการเดินและการวิ่งตลอดเวลา อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อขาและขาส่วนล่างอย่างน่องมีการอักเสบ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ อาการปวดน่อง และวิธีดูแลต้นเองในเบื้องต้นเมื่อรู้สึก ปวดน่อง  [embed-health-tool-bmi] ทำไมถึง ปวดน่อง อาการปวดน่อง (Calf pain) เป็นอาการที่รู้สึกตึงและปวดร้าวบริเวณขาส่วนหลัง หรือน่อง โดยมีสาเหตุมาจากการเกิดตะคริวที่ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง อาการนี้มักจะเกิดได้บ่อย ๆ สำหรับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ หรือภาวะขาดสารอาหาร ตามปกติอาการตะคริวหรือเหน็บชาเหล่านี้จะหายไปในเวลาไม่นาน แต่ถ้าหากมีการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก อาจเกิดอาการอักเสบ และกลายเป็นอาการปวดน่องตามมา ซึ่งอาการปวดน่องอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการกล้ามเนื้อตึง การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับขาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาเกิดอาการตึงและทำให้ปวดได้ กิจกรรมดังกล่าว เช่น การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ การวิ่ง การเดินระยะทางไกล การกระโดด เป็นต้น เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis) เมื่อใช้งานขามากจนเกินไป อาจจะไปทำให้เส้นเอ็นที่บริเวณขาที่เรียกว่าเอ็นร้อยหวายเกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นบริเวณขาหรือน่อง จะนำมาซึ่งอาการปวดขาและปวดน่องได้ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดคอ หันคอไม่ได้ เพราะ ตกหมอน ต้องทำอย่างไร

หลายคนที่ตื่นนอนตอนเช้ามา อาจจะพบว่าตัวเองมีอาการปวดคอ ไม่สามารถหันคอได้ หรือแทบจะขยับคอไม่ได้ เนื่องจากนอน ตกหมอน อาการอักเสบของกล้ามเนื้อที่คอนี้อาจจะสร้างความลำบาก และทำลายเช้าที่สดใสของใครหลายคน มาลองดูกันดีกว่าว่าเราจะสามารถรักษาอาการปวดคอจากการตกหมอนนี้ได้อย่างไร ตกหมอน เป็นอย่างไร อาการตกหมอน หมายถึงอาการอักเสบฉับพลันของกล้ามเนื้อที่บริเวณคอ เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณคอนั้นจะมีความบอบบาง เมื่อเราออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อในบริเวณคอมากๆ เข้า จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นได้ การตกหมอนนั้นจะมีอาการคือ รู้สึกปวดคอ เจ็บคอเวลาขยับ ไม่สามารถขยับศีรษะไปมาได้อย่างสะดวก หรือไม่สามารถหันหน้าไปทางอื่นได้ ในขณะที่เรานอน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน มีความชื้นสูง และอากาศไม่ถ่ายเท อาจจะทำให้เราไม่สามารถนอนให้หลับสนิทได้ ต้องมีการพลิกตัวไปมาอยู่ทั้งคืน บ้างนอนหงาย นอนตะแคง หรือนอนคว่ำ ทำให้นอนไม่ตรงหมอนที่รองรับศีรษะและคอของเรา หรือที่เรียกว่าอาการตกหมอน การตกหมอนนี้จะทำให้สมดุลของกล้ามเนื้อของต้นคอทั้งสองด้านเกิดการเสียสมดุล ทำให้การเรียงตัวของกระดูกต้นคอไม่ได้อยู่ในลักษณะตรง และทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จนเกิดเป็นอาการตกหมอน เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองว่าเรามีอาการตกหมอนหรือไม่ โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก้มหน้า เงยหน้า และหันคอไปทางซ้ายและขวา เพื่อสังเกตว่ามีอาการปวดขณะที่หันคอ หรือขยับศีรษะไปทางด้านไหนได้หรือไม่ ใช้มือจับที่บริเวณคอ จะรู้สึกว่าคอร้อนๆ เทียบกับบริเวณอื่นที่ไม่มีอาการปวด ใช้มือกดไล่ไปตามบริเวณลำคอ เพื่อหาบริเวณที่มีอาการตกหมอน ตามปกติแล้วอาการนั้นมักจะอยู่ที่บริเวณส่วนกลางของต้นคอ ปัจจัยที่ทำให้เราตกหมอน นอนไม่หลับ การนอนไม่หลับ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตกหมอน หากเราไม่สามารถนอนหลับได้ หรือนอนหลับไม่สนิท การนอนหลับไม่สนิทจะทำให้ร่างกายของเรา ไม่สามารถเข้าสู่ระยะนอนหลับสนิท ที่ร่างกายจะทำการพักผ่อนอย่างสมบูรณ์ และคลายกล้ามเนื้อที่ตึง คลายหลอดเลือด และทำให้สมองได้มีโอกาสจัดการกับระบบความคิดเสียใหม่ การนอนหลับไม่สนิทจะทำให้เกิดความตึงเครียดสะสม จนสุดท้ายก็เกิดการอักเสบขึ้นมาได้ ลักษณะของหมอน ท่าทางการนอนแต่ละท่า และสรีระทางร่างกายที่แตกต่างกัน […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ตะคริวที่หลัง เป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือกระดูกสันหลังกันแน่?

ตะคริวที่หลัง อาจเกิดขึ้นได้จากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณหลัง ในขณะที่คุณกำลังออกแรงหนักๆ หรือแม้ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก หรือการก้มลงไปผูกเชือกรองเท้า ก็อาจทำให้เกิดปวดแปลบแบบฉับพลันจากการหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary muscle) ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณแสดงว่า คุณออกแรงมากเกินไป หรือในอีกกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหากระดูกสันหลังที่ซ่อนอยู่ได้ด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรเมื่อเป็น ตะคริวที่หลัง เพื่อบรรเทาตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อหลัง ให้คุณปรับท่าทางที่แนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดลง คุณอาจนอนหงายหรือตะแคงบนพื้นที่แข็งแรงหรือสอดหมอนไว้ระหว่างเข่าเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ขณะที่เอนตัวลงนอน คุณสามารถวางถุงน้ำแข็งที่ห่อด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ ไว้ใต้บริเวณที่เกิดตะคริวนาน 15-20 นาที สามารถทำเช่นนี้ได้ 3-4 ครั้งต่อวัน ในช่วง 48 ถึง 72 ชั่วโมงแรกเพื่อลดความเจ็บปวดและการอักเสบลง ถ้าไม่ได้ผล ให้ใช้การประคบร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียน แล้วคุณจะได้รู้สึกสบายขึ้น หรืออาจทำสลับระหว่างการประคบร้อนและเย็น เพื่อให้แน่ใจว่ากล้ามเนื้อมีปฏิกิริยาต่อทั้งความร้อนและความเย็นอย่างเหมาะสม ข้อควรระวังคือ อย่านอนทับถุงน้ำแข็งนานเกิน 20 นาที เนื่องจากการได้รับความเย็นนานเกินไปอาจทำให้เกิดแผลจากน้ำแข็งกัดหรือความเสียหายที่เส้นประสาทได้ ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้จากร้านขายยา เช่น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์สามารถช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบได้ ยาเหล่านี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) นาโพรเซน (Aleve) และแอสไพริน ส่วนยาอะเซตามิโนเฟน (Tylenol) อาจพอบรรเทาความปวดได้ แต่ไม่ได้รักษาการอักเสบ แม้ว่าคุณอาจอยากอยู่นิ่งๆ หลังจากเกิดอาการ แต่การเคลื่อนไหวเล็กน้อยจะดีกว่าการนอนพักบนเตียงเท่านั้น การเคลื่อนไหวเล็กน้อยและไม่รุนแรง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อกระตุก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

กล้ามเนื้อกระตุก (muscle Twitching) คือ อาการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กเกิดการหดตัว มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่แล้วไม่น่ากังวลและไม่เป็นอันตรายร้ายแรง อย่างไรก็ตาม อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางระบบประสาท เช่น เส้นประสาทถูกกดทับ ซึ่งต้องเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ กล้ามเนื้อกระตุก คืออะไร กล้ามเนื้อกระตุก (muscle fasciculation หรือ Muscle Twitching) เป็นอาการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กในร่างกายเกิดการหดตัว กล้ามเนื้อสร้างขึ้นจากเส้นใยที่ควบคุมด้วยเส้นประสาท ถ้าถูกกระตุ้นหรือเกิดความเสียหายกับเส้นประสาท ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อหดตัวได้ อาการกล้ามเนื้อกระตุกโดยทั่วไป มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่น่ากังวล แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาทางระบบประสาท ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที กล้ามเนื้อกระตุกพบบ่อยเพียงใด กล้ามเนื้อกระตุกพบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณและอาการที่มักพบมีดังนี้ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรง มวลกล้ามเนื้อหายไป ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที กล้ามเนื้อกระตุกมาเป็นเวลานาน ไม่ยอมหาย เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อร่วมด้วย สาเหตุ สาเหตุของกล้ามเนื้อกระตุก สาเหตุของกล้ามเนื้อกระตุกอาจมีดังนี้ การออกกำลังกาย อาการกล้ามเนื้อกระตุก อาจเกิดขึ้นได้หลังการออกกำลังกาย เนื่องจากมีการสะสมตัวของกรดแลคติกในกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานระหว่างออกกำลังกายนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วมักส่งผลต่อแขน ขา และหลัง ความเครียดและความวิตกกังวล อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่มีสาเหตุมาจากความเครียดและความวิตกกังวลจะเรียกว่า ความผิดปกติของระบบประสาท (nervous ticks) สามารถส่งผลกระทบได้ต่อกล้ามเนื้อทุกมัดในร่างกาย การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การดื่มคาเฟอีนและสารกระตุ้นชนิดอื่นมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของร่างกายเกิดอาการกระตุกได้ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อ ถือเป็นความอาการเจ็บปวดที่พบมากที่สุดในคนทุกเพศ ทุกวัย คุณเคยรู้หรือไม่ว่า ร่างกายคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อถึง 650 มัดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ช่วยในการทรงตัวและปรับเปลี่ยนท่าทาง รวมทั้งนำพาเลือดและสารอาหารไปเป็นพลังงานไหลเวียนหล่อเลีี้ยงทั่วร่างกาย อาการปวดกล้ามเนื้ออาจมีตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง สามารถหายเองได้ในระยะเวลาสั้นๆ หรือคงอยู่นานหลายเดือน และร่างกายทุกส่วนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อจึงอาจเกิดขึ้นได้เกือบทุกที่ ทั่วทั้งร่างกาย วันนี่้เราจึงรวบรวม ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ มาฝากกัน ส่วนประกอบของกล้ามเนื้อมีอะไรบ้าง ในการทำความเข้าใจกับอาการปวดกล้ามเนื้อ คุณควรทราบว่ากล้ามเนื้อของคุณประกอบด้วยอะไรบ้าง กล้ามเนื้อคนเราประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่รวมถึงเอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และผังผืด โดยกล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) กล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของคุณเอง กล้ามเนื้อประเภทนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตามปกติ กล้ามเนื้อประเภทนี้จะยึดกระดูกสองส่วนบริเวณข้อต่อเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้การเคลื่อนที่อย่างราบรื่นและง่ายดายขึ้น กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Involuntary) หรือนอกเหนือควบคุมของคุณ กล้ามเนื้อประเภทนี้คือ กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในทั้งหมด ของคุณ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะทำงานโดยการหดตัวเพื่อนำพาสารต่างๆ ให้เคลื่อนผ่านอวัยวะ กล้ามเนื้อเรียบจะแตกต่างจากกล้ามเนื้อลาย ตรงที่ว่าจะไม่มีลักษณะเป็นเส้นลาย กล้ามเนื้อหัวใจ ถือเป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ หรือเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้ออิสระ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่พบได้ในหัวใจเท่านั้น กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม