กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง หากผู้ที่ต้องลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังระหว่างการยืดเหยียด เช่น นักกีฬายิมนาสติก นักยกน้ำหนัก หรือผู้กำกับเส้นกีฬาฟุตบอล ยิ่งเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้น
คำจำกัดความ
กระดูกสันหลังเคลื่อน คืออะไร
กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง (lumbosacral area)
ในบางกรณี อาจทำให้กระดูกสันหลังหรือเส้นประสาทบิด จนนำไปสู่อาการปวดหลังและอาการชา หรือขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ หากเกิดอาการนี้ ควรรีบพบคุณหมอทันที
ผู้ป่วยบางรายที่กระดูกสันหลังหลุดออกจากตำแหน่ง อาจไม่แสดงอาการนานเป็นปี ก่อนจะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือก้น กล้ามเนื้อที่ขาตึงหรืออ่อนแรง และไม่สามารถเดินได้ปกติ
กระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้บ่อยแค่ไหน
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
อาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่
- ปวดหลังหรือก้น
- อาการปวดเคลื่อนจากหลังส่วนล่างไปที่ขา
- มีอาการขาชาหรืออ่อนแรง
- เดินไม่สะดวก
- ปวดขา ปวดหลัง ปวดบริเวณก้นมากขึ้นเวลาก้มหรือบิดตัว
- ผู้ป่วยบางราย อาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ในบางครั้ง โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากเกิดสัญญาณหรืออาการของโรค ควรพบคุณหมอทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมาจากอายุ กรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิต เด็กที่เป็นโรคนี้ มักเกิดจากปัญหาระหว่างคลอด หรือการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน หากมีคนในครอบครัวเคยเป็น รวมถึงภาวะโตเร็วในช่วงวัยรุ่นก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค
การเล่นกีฬาอาจเป็นสาเหตุของอาการตึง และทำให้หลังส่วนล่างทำงานหนักเกินไป โดยกีฬาที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น
- ฟุตบอล
- ยิมนาสติก
- กีฬาประเภทลู่และลาน
- ยกน้ำหนัก
กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นสัญญาณแรกของการเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อน อาการกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อเกิดการแตกในกระดูกสันหลัง แต่ยังไม่เกิดตรงบริเวณหลังส่วนล่างในกระดูกสันหลัง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
- คนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหลัง
- ความผิดปกติของส่วนแคบอิสธ์มัสในกระดูกสันหลัง (อาการนี้เรียกว่า กระดูกสันหลังเสื่อม)
- ประวัติการบาดเจ็บซ้ำ หรือการยืดเหยียดที่มากเกินไปของหลังส่วนล่าง หรือกระดูกบั้นเอว
- นักกีฬา เช่น นักยิมนาสติก นักยกน้ำหนัก หรือผู้กำกับเส้นกีฬาฟุตบอล ที่ต้องลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังระหว่างการยืดเหยียด มีความเสี่ยงเกิดปัญหากระดูกสันหลังเคลื่อนจากรอยแตกมากขึ้น
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
การตรวจร่างกายเป็นขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยอาการ หากคุณเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน คุณอาจไม่สามารถยกขาขึ้นเหยียดในระหว่างการออกกำลังกายธรรมดาได้ การเอ็กซเรย์กระดูกสันหลังส่วนล่างเป็นวิธีสำคัญที่ใช้ประเมินว่า กระดูกสันหลังอยู่ผิดที่ตำแหน่งหรือไม่ แพทย์อาจหาการแตกหักของกระดูกจากภาพเอ็กซเรย์ และอาจสั่งให้มีการตรวจซีทีสแกน หากส่วนกระดูกที่หักไปทับเส้นประสาท
การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน อาจเริ่มจากการหยุดออกกำลังกายที่ส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวด การใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือยานาพรอกเซน (naproxen) เช่น อัลลีฟ (Aleve)
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้แอสไพรินกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้แอสไพริน (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง ยาอะเซตามิโนเฟน เช่น ไทลีนอล (Tylenol) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ควรใช้ยาอย่างปลอดภัย โดยอ่านคำแนะนำการใช้ยาในเอกสารกำกับยาทุกครั้ง
แพทย์อาจให้คุณทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อท้องและกล้ามเนื้อหลัง ในผู้ที่น้ำหนักมาก การลดน้ำหนักเป็นอีกหนึงวิธีที่ช่วยได้
หากเกิดอาการปวดรุนแรง กระดูกสันหลังยังคงเคลื่อนอยู่ เส้นประสาทหรือไขสันหลังถูกทำลายจากอาการของโรค ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยผ่าเอากระดูกออกจากเนื้อเยื่ออื่นที่กดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทเพื่อเป็นการลดแรงกดทับ (decompression) หรืออาจเป็นการผ่าตัดเชื่อมกระดูกกลับเข้าที่ ในบางกรณีอาจมีการจัดกระดูกและทำการลดแรงกดทับขณะผ่าตัดด้วย
หลังการผ่าตัด คุณอาจต้องใส่อุปกรณ์พยุงหลังสักระยะ จากนั้นต้องเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับกระดูกสันหลังเคลื่อน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยตัวเองได้ในเบื้องต้น
การบำบัดอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยตนเอง ใช้วิธีการคล้ายกับผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ทั้งการใช้น้ำแข็ง ประคบร้อน และยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อย่างไทลีนอล (Tylenol) ยาแก้อักเสบ
หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด