เนื้องอกกระดูกอ่อน (enchondroma) คือโรคเนื้องอกกระดูกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง มีจุดเริ่มต้นเนื้องอกในบริเวณกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในร่างกายที่พบได้ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หู จมูก และหลอดลม เป็นต้น
คำจำกัดความ
เนื้องอกกระดูกอ่อน คืออะไร
เนื้องอกกระดูกอ่อน (Enchondroma) คือโรคเนื้องอกกระดูกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง มีจุดเริ่มต้นเนื้องอกในบริเวณกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในร่างกายที่พบได้ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หู จมูก และหลอดลม เป็นต้น เนื้องอกกระดูกอ่อนน้นมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับกลุ่มอาการที่เรียกว่า กลุ่มอ่าการ Ollier’s and Mafucci’s syndrome
โดยส่วนใหญ่แล้ว เนื้องอกกระดูกอ่อนนี้มักจะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนที่อยู่ภายในกระดูก และมักจะเกิดขึ้นกับกระดูกส่วนเล็ก ๆ เช่น กระดูกที่มือ หรือกระดูกที่เท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน
เนื้องอกกระดูกอ่อน พบบ่อยแค่ไหน
เนื้องอกกระดูกอ่อนนี้จะพบได้มากในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 10-20 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนในช่วงวัยอื่นได้เช่นกัน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการของเนื้องอกกระดูกอ่อน
อาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนนั้นจะแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นอาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนได้เลย แต่บางคนก็อาจจะมีอาการเล็กน้อย อาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้
- ปวดมือ หากเนื้องอกเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนในบริเวณมือ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการปวดมือ หรือกระดูกมือหักได้
- นิ้วข้างที่มีอาการบวมขึ้น
- กระดูกเจริญเติบโตช้าลง
ในบางครั้ง อาจการของเนื้องอกกระดูกอ่อนอาจจะถูกเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคอื่น โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของเนื้องอกกระดูกอ่อน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกกระดูกอ่อนอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์คาดว่าจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
- กระดูกอ่อนนั้นเจริญเติบโตมากเกินไป
- เนื้องอกที่เป็นอยู่ก่อนแล้วลุกลามมายังกระดูกอ่อน
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกกระดูกอ่อน
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเนื้องอกกระดูกอ่อน แต่ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกกระดูกอ่อนอาจจะมีดังต่อไปนี้
- อายุ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-20 ปี อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกกระดูกอ่อน
- โรค ผู้ป่วยที่มีเนื้องอก หรือเป็นโรคมะเร็งอยู่ก่อนแล้ว อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกกระดูกอ่อน
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยเนื้องอกกระดูกอ่อน
แพทย์สามารถวินิจฉัยเนื้องอกกระดูกอ่อนได้จากการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- เอกซเรย์ เพื่อฉายภาพให้เห็นภายในร่างกาย ว่ามีความผิดปกติ หรือเนื้องอกตรงไหนหรือไม่
- การสแกนกระดูก (Radionuclide bone scans) เพื่อทำการประเมินความเสื่อม และการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อ ค้นหาโรคเกี่ยวกับกระดูกและเนื้องอก และหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกระดูกหรืออาการอักเสบ การตรวจด้วยวิธีนี้ จะช่วยคัดกรองสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่บริเวณข้อต่อออกไปได้
- ซีทีสแกน (CT scan) เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเอกซเรย์เพื่อฉายภายในร่างกายให้เห็นได้ชัด โดยเฉพาะในบริเวณกระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน และอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นเนื้องอกหรือความผิดปกติบริเวณกระดูกอ่อนได้ชัดเจนขึ้น
การรักษาเนื้องอกกระดูกอ่อน
การรักษาเนื้องอกกระดูกอ่อนนั้นจะแตกต่างออกไปตามความต้องการของแต่ละบุคคล โดยอาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- อายุ
- สุขภาพโดยรวม
- ระดับความรุนแรงของโรค
- ความทนทานต่อยาและการรักษา
- ความต้องการของผู้ป่วย
การรักษาเนื้องอกกระดูกอ่อนอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
- การผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกระดูกเปราะ กระดูกอ่อนแอ หรือกระดูกหัก อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกกระดูกอ่อน
- การปลูกถ่ายกระดูก (Bone grafting) โดยนำกระดูกส่วนที่สุขภาพดีจากบริเวณอื่นในร่างกาย นำมาปลูกถ่ายใส่ในบริเวณที่มีปัญหา
แพทย์จะทำการเฝ้าสังเกตและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าเกิดความผิดปกติของกระดูก หรือมีเนื้องอกเจริญเติบโตขึ้นหรือไม่ ในบางครั้งเนื้องอกกระดูกอ่อนก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งได้ ควรไปตามนัดของหมอเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับเนื้องอกกระดูกอ่อน
เนื้องอกกระดูกอ่อนนั้นเป็นโรคที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ดังนั้นจึงไม่มีหนทางในการเยียวยาตนเองเพื่อให้หายจากโรคได้ แต่คุณสามารถดูแลตัวเอง เพื่อช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง และสามารถทนต่อการรักษาเนื้องอกกระดูกอ่อนได้ เช่น
- ออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามจัดการกับความเครียด หากิจกรรมคลายเครียดทำ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือนั่งสมาธิ
- ไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ