ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
ข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่ข้อต่อข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ประเภทของข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ข้อเสื่อม (osteoarthritis หรือ OA) และข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis หรือ RA)
ข้อเสื่อมสามารถส่งผลต่อกระดูกอ่อนตามแนวข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดและเคลื่อนไหวร่างกายได้ยาก ในภาวะที่รุนแรง การสูญเสียกระดูกอ่อนสามารถทำให้กระดูกอ่อนเสียดสีกับกระดูก จนรูปร่างข้อต่อเปลี่ยนแปลงไปและดันกระดูกออกจากตำแหน่งปกติได้
ตำแหน่งที่มักเกิดข้อเสื่อม ได้แก่ ข้อต่อมือ กระดูกสันหลัง เข่า และสะโพก ข้ออักเสบประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 40 ตอนปลายหรือมากกว่า
ข้ออักเสบประเภทนี้พบมากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 และ 50 ปี เกิดจากส่วนด้านนอกที่หุ้มข้อต่อเป็นบริเวณแรกที่ได้รับผลกระทบ แล้วการอักเสบลุกลามไปยังข้อต่อโดยรอบ
หากเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผู้ป่วยจะมีข้อต่อที่รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ภาวะนี้อาจทำให้กระดูกและกระดูกอ่อนแตกได้ ที่รุนแรงกว่านั้นคือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังสามารถมีอาการผิดปกติต่างๆ ที่เนื้อเยื่อและอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย
ข้ออักเสบค่อนข้างพบได้ทั่วไป มักส่งผลต่อผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็ก ข้ออักเสบในเด็กที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (juvenile idiopathic arthritis) อย่างไรก็ดี ข้ออักเสบสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการทั่วไปของข้ออักเสบ ได้แก่
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
ข้ออักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่ทำหน้าที่ปกป้องกระดูกจากการเสียดสีกันเมื่อมีการเคลื่อนไหวเกิดการอักเสบขึ้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุของข้ออักเสบนั้นสามารถเป็นได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคข้ออักเสบ
โดยทั่วไปแล้ว ข้อเสื่อมเป็นความเสียหาย ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนของข้อต่อ ซึ่งเป็นส่วนที่ปกคลุมปลายกระดูก ความเสียหายสามารถทำให้เกิดกระดูกแตกได้โดยตรง ทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวลำบาก ความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมสภาพนี้ อาจค่อยๆ ก่อตัวขึ้นโดยใช้เวลาหลายปี หรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อของข้อต่อก็ได้
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับข้ออักเสบ หากคุณเคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อต่อมาก่อน หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก คุณอาจเป็นข้ออักเสบเมื่อคุณอยู่ในวัยกลางคน นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังมีความเสี่ยงในการเกิดข้ออักเสบมากขึ้น เนื่องจากปริมาณกล้ามเนื้อ ไขมัน ของเหลว และอื่นๆ ที่เป็นส่วนเกิน ทำให้มีแรงกดที่ข้อต่อมากกว่าที่ข้อต่อจะสามารถรับได้
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ในระหว่างการวินิจฉัย แพทย์ที่ทำการรักษาจะตรวจหาของเหลวโดยรอบข้อต่อที่อักเสบ ด้วยวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
การรักษาโรคข้ออักเสบ มักมุ่งเน้นที่การบรรเทาหรือควบคุมอาการ ร่วมกับการพัฒนาการทำงานของข้อต่อ แพทย์อาจต้องใช้วิธีรักษาหลายอย่างรวมกัน หรือใช้วิธีรักษาไปทีละอย่าง เพื่อหาว่าวิธีไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด
โดยอาจใช้วิธีรักษาข้ออักเสบดังต่อไปนี้
การใช้ยา
ยาที่แพทย์นิยมใช้เพื่อรักษาข้อเสื่อม ได้แก่
การบำบัด
การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบบางประเภทได้ นักกายภาพบำบัดมักแนะนำให้คุณออกกำลังกายร่วมด้วย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อ และทำให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบางกรณี อาจต้องใช้แผ่นดาม หรือเฝือกด้วย
การผ่าตัด
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น
นอกเหนือจากการรักษาแล้ว การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางประการอาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคข้ออักเสบได้
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย