ซุมบ้ากับข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อและการเคลื่อนไหวที่มีความผิดปกติและบกพร่อง ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยหลายๆ คนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และจะยิ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย
การออกกำลังกายด้วยการเต้นซุมบ้า เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดความสูญเสียเหล่านั้น ทั้งยังเป็นการออกกำลังกายที่มีการออกแบบ ผสมผสานการออกกำลังกายที่ลดการกระแทกลงเข้ากับการเคลื่อนไหว และยังได้ความสนุกสนานอีกด้วย
มีงานวิจัยในปี 2559 แสดงให้ห็นว่าการออกกำลังกายที่มาจากพื้นฐานการเต้นมีประโยชน์กับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ ดังนั้น ซุมบ้ากับข้ออักเสบ ก็เป็นไปได้การศึกษาแบบสุ่มของนักวิจัยที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สรุปว่า การออกกำลังกายในรูปแบบของการเต้นไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้ที่มีโรคข้ออักเสบ
จากการศึกษาที่คล้ายกันของมหาวิทยาลัย Laval ในควิเบก รายงานว่า คนที่มีปัญหาข้ออักเสบ ที่ได้รับโปรแกรมการเต้นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีความเจ็บปวดโดยรวมลดลง นอกจากนี้อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าก็จะดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มบุคคลที่มีโรคข้ออักเสบที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างไรให้พอเหมาะกับ โรคข้ออักเสบ
ความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยในโรคข้ออักเสบก็อาจจะมีความรุนแรงที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการออกกำลังกายมากหรือน้อยในผู้ที่ป่วยโรคข้ออักเสบจึงแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน
หากออกกำลังกายแล้วเกิดอาการปวดนานเกิน 1 ชั่วโมงแสดงว่า มีการออกกำลังกายที่มากเกินขีดจำกัดของร่างกายตัวเอง สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคข้ออักเสบควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อปรับโปรแกรมในการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมกับตัวเอง
คุณกำลังการออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับว่า หากการออกกำลังกายทำให้เกิดอาการปวดซึ่งกินเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง อาจจะมีสาเหตุมาจากการใช้พลังงานมากเกินไป ส่วนผู้ที่มีโรคไขข้อ ควรข้อคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อปรับโปรแกรมการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสม
เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของการออกกำลังกายที่ต้องการความแข็งแรง เพื่อให้ได้ประโยชน์แต่กลับรู้สึกว่าเป็นโทษมากกว่า หลังออกกำลังกายแล้วเกิดอาการต่างๆเหล่านี้ ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เพื่อปรับตารางการออกกำลังกาย
- ความเหนื่อยล้าที่ผิดปกติหรือถาวร
- ยิ่งออกกำลังกายยิ่งอ่อนแอ
- เคลื่อนไหวได้ลดลง
- ข้อต่อ มีการบวมเพิ่มขึ้น
- มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง (ความเจ็บปวด ที่กินเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากออกกำลังกาย)
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย